ภาพหน้าปกโดย Wolfgang Stemme จาก Pixabayภาพที่ 1 โดย Markus Distelrath จาก Pixabay กล่าวได้ว่า ณ.ปัจจุบันนั้น 'พลังงาน' เป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนเรา ไม่ว่าจะใช้ในการดำรงชีวิตหรือไม่ก็ใช้ในการประกอบอาชีพทั้งสิ้น ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัยนั้น 'พลังงาน' คงเป็นสิ่งที่ทุกคนบนโลกต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 'พลังงานไฟฟ้า' ที่ปัจจุบันนั้นให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจาก มีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ามาก โดยเฉพาะรถไฟฟ้าที่มาแรงในสมัยนี่ พลังงานไฟฟ้านั้นส่วนใหญ่ผลิตมากจากการใช้พลังงานดึกดำบรรพ์ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอย่างจำกัดและมีผลต่อ สภาพแวดล้อมต่อโลก ที่เกิดจากแก๊สเรือนกระจก โดยมีพลังงานทางเลือกหนึ่งที่ เป็นพลังงานสะอาดและไม่ปล่อยมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม นั้นคือ 'พลังงานนิวเคลียร์' นั่นเอง โดยในบทความนี่จะกล่าวถึง SMRs ซึ่งเป็น 1 ในประเภทของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่น่าสนใจและสามารถเป็นความหวังพลังงานทางเลือกให้กับไทยได้อย่างไร เชิญติดตามต่อย่อหน้าต่อไปครับภาพที่ 2 โดย Olaf จาก Pixabay SMRs หรือชื่อเต็ม Small Modular Reactors เป็นเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็ก โดย SMRs นั้นถูกจัดอยู่ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ GenerationIV หรือยุคที่ 4 นั้นเอง ที่จะถูกพัฒนาให้มีความปลอดภัยสูงและประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก โดยหลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นคือ การเปลี่ยนจากพลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจาก ปฏิกิริยานิวเคลียร์ 'นิวเคลียร์ฟิชชัน' ให้เกิดเป็นกระแสไฟฟ้าที่มีกำลังไฟฟ้าไม่เกิน 300 MWh ซึ่งเหมาะสมสำหรับชุมชนในประเทศไทยที่ยังขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า ภาพที่ 3 โดย Olaf จาก Pixabay 'โดยจุดเด่นของ' SMRs นั้นสามารถใช้รถบรรทุกในการขนส่งได้หรือไม่ก็สามารถใช้รถไฟในการขนส่งได้อีกเช่นกัน,ใช้พื้นที่ในการก่อสร้างน้อย ใช้ระยะเวลาในการสร้าง 3-5 ปี, เงินลงทุน โดยทำให้มีความหวังในไทยว่าจะสามารถนำ SMRs มาใช้ได้ โดยได้มีเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยโดยใช้หลัก Passive Safety System โดยเป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่ทำงานได้เอง และมีระบบต่างๆที่ถูกพัฒนาเพื่อความปลอดภัยที่มากขึ้นช่วยการเสริมสร้างความมั่นใจให้สังคมว่ามีความปลอดภัยและเสถียร โดยข้อดีในจุดนี่ทำให้สามารถก่อสร้างในแหล่งชุมชนในประเทศไทยที่ต้องการพลังงานและง่ายต่อการจัดการ'โดยจุดด้อยของ' SMRs นั้นยังขาดการพัฒนาและการทดลองโดยบริษัทที่กำลังพัฒนาและบุคลากรภายในประเทศไทยที่มีความสามารถในการควบคุมโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ยังขาดแคลน ในส่วนนี่ทางรัฐบาลควรต้องจัดทุนให้บุคลากรได้อบรมและศึกษามากขึ้น โดยในช่วงแรกของเทคโนโลยีนี่อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากในด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยี โดยอาจจะต้องรอสักพักเพื่อความมั่นใจและมีราคาที่ลดลงภาพที่ 4 โดย Eugen Visan จาก Pixabay โดยจากการวิเคราะห์โอกาสและความน่าจะเป็นในอนาคต ที่จะสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แบบ SMRs นั้นมีโอกาสค่อยข้างสูงเนื่องจากคุณสมบัติที่เหมาะสมกับภูมิภาคของไทย และนั้นคงจะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญเลยคือ สังคมไทย โดยการสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจนั้นเป็นส่วนที่ยากที่สุดของภาครัฐและบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยบทความนี่จะให้เป็นหนึ่งในส่วนช่วยถึงมุมมองในด้านของพลังงานนิวเคลียร์ที่ทั้งสะอาดและรักโลก และโดยหวังว่าทุกคนที่ได้อ่านบทความนี่จะมีมุมมองที่ต่างไปจากเดิมและเล็งเห็นถึงด้านดีของพลังงานนิวเคลียร์ ขอบคุณจากใจจริงครับอ้างอิงข้อมูล[1] https://www.iaea.org[2] https://www-pub.iaea.org[3] วุฑฒิ พันธุมนาวิน และคณะ (2555). Small Modular Nuclear Reactors: Safety and Public Acceptance. วารสารพัฒนาสังคม, 14(1), 1-32. https://so04.tci-thaijo.org[4] https://www.ansto.gov.au[5] Phongphaeth .P และคณะ (2015) Department of Nuclear Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University, Wangmai, Patumwan, Bangkok, 10330, Thailand, Thailand Institute of Nuclear Technology (TINT), Tambol Saimoon,Amphur Ongkharak, Nakornnayok 26120, Thailand, School of Manufacturing Systems and Mechanical Engineering, Sirindhorn International Institute of Technology, Thammasat University, Rangsit Campus, Pathumthani 12121, Thailand. Thailand. TECHNOLOGY RANKING OF SMALL MODULAR NUCLEAR REACTORS FOR THAILAND. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, 26(3), 107-118. https://ph02.tci-thaijo.or/index.php/eit-researchjournal/article/view/87020/688297-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์