คาร์ซีท กฎหมายให้ความใส่ใจ แต่ทำไมราคาแสนแพง? สวัสดีค่ะคุณพ่อ คุณแม่ หรือคุณผู้อ่านที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ วันนี้ขอมาพูดในฐานะที่ตัวผู้เขียน เรียนจบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมาโดยตรง ดังนั้นเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันเป็นเรื่องที่เราสนใจมากๆเป็นพิเศษเลยหลังจากที่ประเทศไทยเราได้ออกกฏหมายเกี่ยวกับคาร์ซีทและประกาศใช้เมื่อเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา รู้สึกดีใจมากที่ประเทศเราให้ความสำคัญในโดยสารยานพาหนะของเด็กๆน้องๆสาระสำคัญของกฏหมายคาร์ซีทมีอะไรบ้าง?เด็กที่มีอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องนั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเด็กที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตรต้องรัดเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง หากไม่ทำตามกฏหมายก็จะถูกปรับ 2,000 บาท ถ้ามองที่ความใส่ใจก็กฏหมาย ก็ถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมนะคะ แต่ถ้าวิเคราะห์แล้ว ดูเหมือนกฏหมายก็ยังมีช่องโหว่ และมีหลายประเด็นที่เรายังรู้สึกไม่เคลียร์ เช่น1.หากเป็นรถโดยสาร รถแท็กซี่ รถโรงเรียน รถสาธารณะพวกนี้ กฎหมายจะถูกบังคับใช้ไปด้วยหรือไม่ ประเด็นนี้ถือว่ายังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่เหมือนกัน ซึ่งกรมการขนส่งทางบกคงกำลังหาเพื่อเพื่อออกประกาศลูกตามมา 2. ด้วยราคาคาร์ซีทบ้านเรา ที่เกินจะหยิบยื่น สำหรับพ่อแม่วัยทำงาน ด้วยเงินเดือนขั้นต่ำ?บางคนอาจจะบอกว่า มีปัญญามีลูก ก็ต้องมีปัญญาซื้อคาร์ซีท อันนี้ต้องแยกประเด็นก่อน เนื่องจากบางครอบครัวเขาพร้อมมีลูกจริงๆค่ะ แต่ต้องมองย้อนไปถึงต้นตอว่า การออกกฎหมายที่มีการดำเนินการถึงขั้นปรับ นั้นเหมาะสมหรือยังบางครอบครัวมีลูกหลายคน การซื้อคาร์ซีทมาติดตั้งถือเป็นการใช้เงินที่เยอะพอสมควรเลยทีเดียว ทว่ายี่ห้อที่พอรับได้ ก็ราคาเริ่มต้นไปที่ 5,000+แล้วและคงไม่มีบ้านไหน ซื้อคาร์ซีทเพียงเพราะราคาถูก แต่ไม่มีคุณภาพใช่ไหมล่ะคะ เพราะฉะนั้น ต้องมองถึงปัญหาตรงนี้ด้วย สำหรับรูปแบบคาร์ซีทตามช่วงอายุ ที่กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขแนะนำตอนนี้ มีดังนี้1. การติดตั้ง : ควรติดตั้งตามคำแนะนำของผู้ผลิต และไม่ควรติดตั้งที่เบาะหน้า ข้างคนขับเด็กแรกเกิด - 1 ปี ควรใช้คาร์ซีทสำหรับทารกที่เป็นที่นั่งแบบปรับให้หันหน้าไปด้านหลังรถ (Rear-facing car seat )เด็กอายุ 1 - 3 ปีควรใช้คาร์ซีทสำหรับเด็กเล็กที่เป็นที่นั่งแบบปรับให้หันหน้าไปด้านหลังรถ (Rear-facing car seat )เด็กอายุ 2-6 ปี ควรใช้คาร์ซีทเป็นที่นั่งแบบหันหน้ามาด้านหน้า (Forward-facing car seat )เด็กอายุ 4 - 12 ปี ควรใช้ Booster Seat เป็นที่นั่งแบบหันหน้ามาด้านหน้า สำหรับเด็กโตใช้ร่วมกับเข็มขัดนิรภัยปกติ(ขึ้นอยู่กับน้ำหนักและส่วนสูง)เด็กอายุมากกว่า 12 ปีควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง ทุกตำแหน่งที่นั่งโดยสาร มีข้อเสนอใดบ้างเกี่ยวกับคาร์ซีท เพื่อสนับสนุนผู้ที่ต้องนำมาใช้งานต้องบอกก่อนว่านี่คือความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน แต่ทว่า นำไปสู่แนวทางปฏิบัติได้จริงๆ ผู้เขียนคิดว่าต้องมีประโยชน์กับคุณพ่อ คุณแม่ แน่นอนค่ะจะดีมากเลยถ้ามีการสนับสนุนให้คาร์ซีท เป็นสินค้าที่สามารถเอามาลดหย่อนภาษาได้ ภาครัฐ ต้องแก้ไขกฎหมายจราจร และลดภาษีนำเข้าคาร์ซีท หรืออุปกรณ์บังคับต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการขับขี่เป็นอุปกรณ์ที่รัฐฯจัดสรรให้ กรณีคลอดบุตร เหมือนเป็นสวัสดิการสำหรับหญิงคลอดบุตรไปเลย แต่ถึงอย่างไรแล้ว ไม่ว่าราคาจะแพงแค่ไหน คนเป็นพ่อเป็นแม่ก็คงหากำลังทรัพย์มาซื้อจนได้ ด้วยกำลังที่เราจ่ายไหว บางคนอาจจะมีเงินซื้อสด บางคนอาจจะต้องผ่อน เพราะฉะนั้น คงต้องอาศัยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้มองเห็นปัญหาตรงนี้ และมาร่วมปิดช่องว่างไปด้วยกันอย่างไรก็ตาม การติดตั้งคาร์ซีทสำหรับเด็กๆ ถือเป็นเรื่องที่ดีมากค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คาร์ซีทคืออุปกรณ์ที่ช่วยลดการบาดเจ็บรุนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่เท่านั้น ผู้ขับขี่ควรมีจิตสำนึกความปลอดภัย ตั้งแต่เริ่มสตาร์ทรถ และระหว่างขับรถตลอดเวลา เพื่อตัวเราเองและคนที่คุณรักค่ะ สามารถอ่านกฏหมาย “พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๑๓)” ฉบับเต็ม ที่ : ราชกิจจานุเบกษา เครดิตภาพปก :ขอบคุณภาพปก โดย yusronbillah ผ่าน CANVA [แก้ไขโดย จอปอเบียร์] เครดิตรูปภาพประกอบบทความ :ภาพที่ 1 โดย Anastasia Shuraeva จาก Pexelsภาพที่ 2 โดย Erik Mclean จาก Pexelsภาพที่ 3 โดย AI Soot จาก Unsplashภาพที่ 4 โดย jeanvdmeulen จาก Pixabayภาพที่ 5 โดย Clker-Free-Vector-Images จาก Pixabayภาพที่ 6 โดย ricanvec std ผ่าน CANVA [แก้ไขโดย จอปอเบียร์] ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงท้ายบทความ : พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) จาก กลุ่มงานราชกิจจานุเบกษา เรียบเรียงโดย จอปอเบียร์7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์