Credit picture: Navapat channel มาจาก canva (https://www.canva.com/)ที่มาของคำว่า แขก เคยสงสัยกันไหมว่า คำว่า "แขก" มาจากไหน และเริ่มต้นเมื่อไร แม้คนไทยอาจจะไม่รู้สึกอะไรกับคำนี้ แต่คนเชื้อสายอินเดียจำนวนไม่น้อยที่ถูกเรียกว่า "แขก" อาจรู้สึกขุ่นเคืองได้ เพราะเป็นคำที่ถือว่าเป็นคำเหยียดและเป็นการไม่ให้เกียรติ ในขณะคนบางคน หรือ คนบางกลุ่มไม่รู้สึกอะไร คำว่าแขก ถึงได้มีพลังเชิงลบได้เพียงนี้ เรามาดูกันว่า แขกกันว่าดั้งเดิมมีที่มาจากไหน และ ทำไมคนไทยถึงต้องเรียกคนไทยที่ต้องเรียกคนเชื้อสายอินเดียหน้าคมเข้มตาโตว่าแขกด้วย Credit picture: mohamed_hassan มาจาก pixabay.com https://pixabay.com/vectors/ramadan-kareem-family-religion-6017047/ (การแต่งกายของชาวมุสลิม) คำว่า "แขก" สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นรากฐานของคำที่มาจากภาษาจีนแต้จิ๋วที่ออกเสียงที่ว่า เค่อ หรือ แคะ เป็นคำที่ใช้เรียกคนแปลกหน้า ผู้มาจากเมืองอื่น หรือประเทศอื่นๆ และใช้เรียกคนชนกลุ่มน้อย คนสยามหรือคนไทยสมัยนั้น นำคำเรียกว่า แขก มาใช้คำนี้เรียกผู้มาเยือนจากต่างถิ่นต่างๆ ไม่มีความหมายเชิงเหยียด หรือ ดูถูก แต่เป็นความหมายกลางๆ ที่ไว้เรียกใครก็ได้ที่มาจากต่างชาติ ต่อมาคนไทยนำมาใช้เรียกแขกเพื่อเรียกคนบางกลุ่มให้เฉพาะเจาะจงขึ้น เช่น คนอินเดีย คนปากีสถาน อัฟกานิสถาน คนเปอร์เซีย คนอาหรับ ชนชาติมุสลิม เพื่อให้ต่างกับชนชาติตะวันออกฝั่งยุโรป อเมริกา เรียกว่าฝรั่ง คำว่าแขกกลายเป็นมรดกในการใช้ภาษาไทยใช้คำว่า "แขก" เรียก คนสายอินเดียและชาวมุสลิมเป็นหลัก และกลายเป็นคำเรียก คนไทยสายเชื้อสายอินเดียมาจากน่านฟ้าภาระตะอีกด้วย Credit picture: ArmyAmber มาจาก pixabay.com https://pixabay.com/photos/boys-family-father-turban-60792/ (การแต่งกายของผู้ชายอัฟกานิสถาน เด็กผู้ชายด้านขวาของภาพนี้ เป็นตัวอย่าง) คนไทยส่วนใหญ่ ได้รับความรู้จากรูปลักษณ์ภายนอก เช่น หน้าตาที่คมเข้ม ตาโต หนวดเครา การแต่งกาย ผ้าโพกศีรษะ สำเนียง เป็นการเรียกรวมลักษณะแบบนี้อาจจะไม่พอใจ เพราะถูกการตีตราไปทางเชิงลบ คำว่า "แขก" กับกระแส PC (Political Correctness คือ การไม่ใช้คำพูดเหยียดหยาบเชื้อ เพศ ร่างกาย นำไปสู่ความเกลียดชังได้) การเรียกคำว่า "แขก" เป็นการตีเหมา กีดกันออกไปจากคนกลุ่มใหญ่ ในความจริงแล้ว คนไทยเชื้อสายอินเดียเป็นคนไทยเหมือนกันแต่เพียงมีเชื้อสายอินเดียเท่านั้นเอง Credit picture: Javad_esmaeill มาจาก pixabay.com (https://pixabay.com/photos/saree-indian-ethnic-clothing-720715/ (ลักษณะการแต่งตัวเหมือนผู้ชายยืนตรงกลาง และผู้หญิงด้านขวามือ อย่างในภาพด้านบน) นักวิชาการด้านอินเดียได้มีการศึกษาบางท่านได้นำเสนอให้ใช้คำว่า "คนไทยเชื้อสายอินเดีย" แทนคำว่าแขก เพื่อลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ขณะบางท่านมองว่าคำนี้เป็นลักษณะหลักฐานที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในสังคมในประเทศไทย ซึ่งคนไทยหรือคนชาติไหนๆ น่าจะเปิดใจคำนี้เอาไว้ สำหรับคำว่า "แขกฉุก" ให้คิดและการตั้งคำถามถึงความหมายของคำ คำนี้ซ่อนอยู่ภายใน และยังเป็นประตูทำความเข้าใจและรู้จักเรื่องราวต่างๆ ของคนไทยเชื้อสายบรรพบุรุษชาวภารตะให้มากขึ้น ผ่านการแต่งตัว อาหาร วัฒนธรรม และ ศาสนา Credit picture: Unnatiskills มาจาก pixabay.com (https://pixabay.com/photos/saree-indian-ethnic-clothing-720715/) (ชุดแต่งกายของผู้หญิง เรียกว่า ส่าหรี ตัวอย่างลักษณะแบบในภาพ) Credit picture: Nasser Almutairi มาจาก pixabay.com (https://www.pexels.com/photo/man-in-red-and-white-hijab-3598417/) คำถามกับการเรียก แขก เราเคยมีคำถามมากมาย หรือ ความสงสัยกันไหมว่า คนที่ลักษณะมีรูปร่าง หน้าตาคม ตาโต ผิวสีเข้ม ผมหยักโสก หรือ คนไทยเชื้อสายอินเดียที่ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย ที่เราเหมารวม เรียกว่า "แขก" มีความจริงหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด และมีเกร็ดความรู้ ความน่าสนใจที่ทำให้เรารู้จักคำว่า "แขก" มากขึ้นกันดีกว่า แขกต้องโพกหัว ชาวไทยเชื้อสายอินเดียส่วนใหญ่ นับถือศาสนาฮินดู ซิกข์ และศาสนาอิสลามเป็นหลัก ความศรัทธาของแต่ละบุคคลหรือบางกลุ่ม ยึดคำสอน และ การถือศีลที่ต่างกัน ภาพจำของผู้ชายอินเดีย คือ "ต้องโพกผ้า" แต่มีความต่างกับศาสนามุสลิมที่ผู้ชายใส่หมวกเฉพาะในเวลาประกอบทางพิธีศาสนา ในอันที่จริงผู้ชายที่ต้องโพกผ้าเป็นกิจวัตร คือ ผู้ชายนับถือศาสนาซิกข์ ศาสนาที่ชาวปัญจาบี(คนจากเมืองปัญจาบ ตอนเหนือ ของอนุทวีปอินเดีย) ผู้ย้ายถิ่นฐานหรือคนไทยเชื้อสายอินเดียที่อยู่ในประเทศไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาซิกข์ เราเรียกเรียกการนำผ้ามาพันศีรษะว่า turban (อ่านว่า เทอเบน) ซึ่งชาวซิกข์ทั่วโลกเริ่มริเริ่มสัญลักษณ์แห่งศรัทธานี้ มาตั้งแต่ในศตวรรษที่ 15 โดยมีความหมายโดยนัยที่สำคัญ คือ การตระหนักถึงความเท่าเทียมความเชื่อของชาวซิกข์ทั่วโลก ไม่ว่าจะรวย หรือ จน ยึดถือความเชื่ออย่างเหนียวแน่นนั่นเอง ส่วนผู้หญิงนั้นชาวซิกข์ต้องคลุมศีรษะด้วยผ้าที่เรียกว่า Chunni (อ่านว่า ชุนนี่) แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปชาวซิกข์ทั้งหญิงและชายอาจจะไม่สะดวกที่จะโพกหัว หรือหาผ้าคลุมศีรษะมากเท่าไหร่หลายๆคนละเว้นข้อนี้ไป หลายๆคนมีความศรัทธาเข้มข้นต่อศาสนาอยู่ในใจผู้นับถือเสมอ แขกกินเนื้อหมูไม่ได้ หลายๆคนเข้าใจผิดว่า "แขกทุกคนไม่ทานหมู" อันที่จริงแล้วคนเชื้อสายอินเดียที่นับถือศาสนามุสลิมเท่านั้นที่ไม่บริโภคเนื้อหมู ส่วนคนอินเดียที่นับถือศาสนา ฮินดู ซิกข์ หรือ พุทธ ศาสนาที่เขาศรัทธาไม่ได้กำหนดของเขตเรื่องการบริโภคเนื้อหมู จึงสามารถบริโภคหมูได้โดยไม่ผิดตามหลักศาสนา แขกขายผ้า ถั่ว และ โรตี เป็นอาชีพหลัก (เช่น คุณลุงที่อยู่ในภาพ ชื่อ คุณลุงเบอร์นาร์ด ขายถั่ว อยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์) ในความจริงไม่เป็นอย่างงั้นเสมอไป คนเชื้อสายอินเดียทำงานหลากหลายอาชีพ มีทั้งเจ้าของธุรกิจ พนักงานจ้าง พนักงานบริษัท หมอ ข้าราชการเหมือนคนทั่ว ๆ ไป แต่ในอดีตคนเชื้อสายอินเดียมีจุดเริ่มต้นจากการทำธุรกิจจากการขายผ้านำเข้าจากต่างแดน จึงเป็นคำติดปากของคนสมัยก่อนที่ว่า แขกขายผ้า ส่วนแขกขายถั่วพบเห็นบ้างสมัยเริ่มตั้งตัว ถ้าอิงตามประวัติศาสตร์คนอินเดียได้อพยพเข้ามาในประเทศไทยเพื่อแสวงหาชีวิตใหม่ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 การพลัดถิ่นของคนภารตะหรือคนอินเดียยังคงเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ที่เข้ามาพลัดถิ่นเพียงอย่างเดียว มีชาว อินเดีย ปากีสถาน เนปาล ศรีลังกา บังกลาเทศ เท่านั้น และมีชาวประเทศพม่าที่อพยพเข้ามาด้วย มีปัจจัย หรือ เหตุผลไม่มาก พวกเขาจึงเริ่มทำอาชีพค้าขายง่าย ๆ ก่อน เช่น เร่ขายถั่ว ขายโรตี คนอีกกลุ่มนึงรับงานรับจ้างทั่วไปก่อนขยับขยายต่อยอดหนทางของแต่ละคน แขกอินเดียต้องใส่ส่าหรี Credit picture: Sakshi Patwa มาจาก pexels.com (https://www.pexels.com/photo/man-people-woman-girl-7920193/) เวลาพูดถึงวัฒนธรรมการแต่งตัวของคุณสุภาพสตรีอินเดีย ภาพแรกที่ขึ้นมาในความทรงจำเราคือ การแต่งตัวในชุดส่าหรีขึ้นมาในแว็บแรกๆในหัว วิธีการนุ่งห่มที่เป็นเอกลักษณ์ สีสัน และ ลวดลายที่งดงามบนผืนผ้าเป็นชุดแต่งกายที่ยอดนิยมตลอดการ แถมในวงการแฟชั่นจัดอันดับการนุ่งส่าหรีจริงจังขึ้นทุกปี ไม่แปลกใจว่าเป็นภาพจำของคนทั้งโลกไปแล้ว อย่าลืมว่า ประเทศอินเดียนั้นกว้างใหญ่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมาก แฟชั่นของสตรีมีทั้งเสื้อผ้าไม่เป็นทางการและชุดซัลวาร์ คามีซ (Salwar kameez) เป็นเสื้อตัวยาวสวมทับกางเกงขาลีบหรือขาพอง พาดไหล่ด้วยผ้าคล้องที่เรียกว่า ดูปัตตะ (Dupatta) ถ้าใครเคยไปท่องเที่ยวที่ประเทศอินเดียพบว่า สตรีฮิตสวมชุดแสนทะมัดทะแมงมากๆ ด้วยซ้ำ แขกคือ "อาบัง" สิ่งที่ผู้ชายอินเดีย หรือ ผู้ชายที่มีเค้าโครงหน้าตาคล้ายคนอินเดีย คิ้วหนา ผิวเข้ม ถูกเหมารวมเรียกว่า "แขก" คือ "อาบัง" เมื่อขุดรากศัพท์ของคำนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับอินเดียเลย ที่แท้จริง "บัง" หรือ "เบ" เป็นภาษามลายู ที่แปลว่า พี่ผู้ชาย เป็นภาษาแม่ของประเศษอินโดนีเซีย มาเลเซีย และกระทั้งปัตตานีบ้านเราเองใช้ภาษานี้เหมือนกัน การตอนรับของแขก Credit picture: Olha Ruskykh มาจาก pexels.com (https://www.pexels.com/photo/close-up-shot-of-a-map-with-small-pieces-of-flowers-7166020/)ระลอกที่ 1 การเดินทางไปชาวอนุทวีปอินเดียสู่ประเทศไทยมานานแล้ว จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับศาสนาพุทธผสมพราหมณ์คาดว่ามีมาตั้งแต่อาณาจักรละโว้ชี้ได้ว่า นักบวชจากแดนภารตะได้เดินทางมาเผยแผ่ศาสนาในแผ่นดินสุวรรณภูมิตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นกลุ่มคนแรกๆ เช่น นักบวช พราหมณ์จากแคว้นทราวิฑะทางตอนใต้ของอินเดีย หรือ "ชาวทมิฬ" อย่างที่ชาวอินเดียเรียกกัน เมื่อ เดินทางถึงดินแดนสุวรรณภูมิได้บุกเบิกแสวงหาทรัพยากรอันล้ำค่าที่สยามมีอู้ฟู่ เช่น ทองคำ งาช้าง นอแรด แก่นจันทร์ เพื่อนำไปขายให้คนอินเดียและผู้คนจากฝั่งตะวันตกก็ตามมาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างดินแดน เช่น เพชรพลอย มีสิ่งล้ำค่า เกิดขึ้น เมื่อแขกหรือผู้ต่างถิ่นมาเยือนแผ่นดินสุวรรณภูมิเต็มไปด้วยทองคำ และ โอกาสสร้างเนื้อสร้างตัว มีหลายคนลงหลักปักฐานอย่างถาวร จนกระทั่งแต่งงานมีครอบครัวกับคนภายในพื้นที่ หนีความยากลำบากและสงครามในบ้านเกิดหรือประเทศของคน เส้นทางการเดินจากประเทศอินเดียมาสู่สยามมีทั้งบนปกและทางน้ำ เส้นทางแรกถือว่าเป็นการเดินทางที่ผู้คนทางเหนือของอินเดียนิยมมามากที่สุด เพราะพวกเขาติดต่อและสานสัมพันธ์กับประเทศจีนโดยการผ่านแคว้นอัสสัมทางภาคเหนือของประเทศพม่า และมายังแคว้นยูนนานหรือ มณฑลยูนนาน ในปัจจุบันเดินทางมาตอนเหนือของพม่าและเดินทางมาถึงภาคเหนือของประเทศไทย ฝั่งอินเดียกลางเมืองและตอนใต้มีเมืองท่ามากมาย คือเส้นทางทางน้ำเป็นเส้นทางการเดินเรือเชื่อมโยงกับโลกภายนอก และการย้ายถิ่นฐานไปดินแดน หรือ ประเทศต่าง ๆระลองที่ 2 จะเห็นว่า เหตุผลของผู้อพยพในอดีตจนถึงก่อนศตวรรษที่ 19 ผู้อพยพส่วนใหญ่เข้ามาค้าขายและแสวงหาชีวิตที่ดีขึ้น จริงๆ การอพยพจากอินเดียเดินทางสู้ประเทศไทยมีตลอดเวลา ความสำคัญของการพลัดถิ่นมีหลายวิธีและเส้นทางมากมายและยากที่จะอธิบายได้ทั้งหมด บางคนต้องเดินทางติดตามเจ้านายชาวอังกฤษด้วยการทำงาน (ตอนนั้นประเทศอินเดีย เป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ) หรือ บางคนนั่งเครื่องบินย้ายมาเพราะได้รับคำชวน และการยืนยันจากญาติ เพื่อนๆ ที่มาทำงานอยู่ที่ประเทศไทยแล้วว่า มีโอกาสลืมตาอ้าปากได้มากกว่าประเทศอินเดีย ใครได้อ่านประวัติศาสตร์ของประเทศอินเดียมาบ้างจะรู้ถึงสถานการณ์ทางการเมือง และสงครามที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศอินเดียมากมาย เหตุการณ์นั้นส่งผลกับผู้คนอินเดียเหนือ โดยเฉพาะชาวซิกข์และฮินดูจากเมืองปัญจาบ (ปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศปากีสถาน) คนประเทศอินเดียได้มีการตัดสินใจเดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยเป็นอย่างมาก คือสงครามแยกประเทศจองอินเดีย-ปากีสถาน มีผลกระทบเนื่องจากอินเดียได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1947 ประชากรในพื้นที่ไม่สามารถทนอยู่กับความหวาดระแวง ความวุ่นวาย จากการแบ่งดินแดงของรัฐจาบและเบงกอลออกเป็น 2 ฝั่ง ไหนเรื่องความขัดแย้งของศาสนาฮินดูและมุสลิมที่เกิดขึ้นได้ในสถานการณ์เดียวกันได้ ประชาชนได้มีการลี้ภัยไปยังประเทศที่ 3 นั้นเอง ฐานะที่สยามหรือ ประเทศไทยเป็นดินแดนคนอินเดียยุคก่อนได้เดินทางมาบุกเบิกมากก่อนจากเส้นทางการทำงาน ได้มีการหล่อหลอมตนกับวัฒนธรรมไทยเข้าด้วยกันจาก "คนนอก" กับ "คนใน" ประเทศได้มีความหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน และได้แสวงหาชีวิตที่หวังเป็นชีวิตที่สุขสงบอัปเดตความรู้ใหม่ ๆ อีกมากมาย โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !