พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา ตั้งอยู่ภายในสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากมาตามเส้นคันคลอง (ถนนหมายเลข 121) จะอยู่ก่อนถึงตลาดต้นพยอม ที่นี่จะจัดแสดงและอนุรักษ์เรือนล้านนาในรูปแบบต่างๆ ให้กับประชาชนทั่วไปได้ศึกษา ซึ่งเรือนแต่ละหลังเป็นเรือนโบราณที่ได้รับการสนับสนุนให้รื้อย้ายนำมาเก็บรักษาไว้ จากหน่วยงานและบุคคลต่างๆ ที่เห็นคุณค่าและความสำคัญของเรือนล้านนา ในปัจจุบันมีเรือนอยู่จำนวน 8 หลังและยุ้งข้าวอีก 4 หลัง แต่ละหลังก็มีที่มาและประวัติของตนเองลองดูตัวอย่างเรือนที่น่าสนใจกันครับเรือนทรงโคโลเนียล : เข้ามาในพื้นที่จะเจออาคารสีขาวหลังใหญ่ที่มีรูปทรงอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตก เรียกว่าแบบโคโลเนียล (Colonial) สร้างตามแบบตะวันตก เป็นอาคารทรงตึกสองชั้น โครงเป็นอิฐและปูน พื้นและเพดานเป็นไม้ ด้านหน้าอาคารมีระเบียงยาวตลอดแนว มีชื่อเรียกอย่างเรียบง่ายว่า “เรือนลุงคิว”เรือนชาวเวียงเชียงใหม่(พญาปงลังกา): รื้อถอนเรือน จากบ้านเลขที่ 769 หมู่ 4 ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วนำมาปลูกสร้างใหม่เรือนหลังนี้สร้างจากไม้เนื้อแข็งทั้งหลังมุงหลังคาด้วย “ดินขอ” มีขนาดใหญ่ปานกลาง ถือเป็นเรือนของผู้มีฐานะเรือนกาแล(อุ๊ยผัด): ได้สนับสนุนการรื้อย้ายจากอำเภอจอมทอง ลักษณะเป็นเรือนกาแลขนาดเล็กยกพื้นสูง ทำด้วยไม้ทั้งหลัง หลังคามุงด้วยแป้นเกล็ดหรือกระเบื้องเรือนกาแล(พญาวงศ์): รื้อย้ายมาปลูกสร้างไว้ที่วัดสุวรรณวิหาร บ้านแม่อาว ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงมุงด้วยดินขอ หลังคาทรงจั่วแฝดหรือสองหลังร่วมพื้น ยอดจั่วมีกาแลเรือนไทลื้อ(หม่อนตุด): เป็นเรือนของชาวไทลื้อ ที่สร้างขึ้นจากการผสมผสานระหว่างรูปแบบเรือนไทลื้อกับเรือนแบบไทยวน บ้านเมืองลวง ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่เรือนพื้นบ้านล้านนา(อุ๊ยแก้ว): เรือนหลังนี้เดิม ตั้งอยู่ที่บ้านสันต๊กโต (สันติธรรม) หรือบริเวณแจ่งหัวลิน ใกล้ๆ กับถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่เรือนพื้นถิ่นเมืองเหนือ เป็นรูปแบบเรือนของคนที่อาศัยใกล้เวียงเชียงใหม่ในยุคหลังสงคราม โลกครั้งที่ 2 มีรูปแบบเรียบง่ายไม่ซับซ้อน ก่อสร้างอย่างธรรมดาตามแบบชาวบ้านทั่วไป เรือนพื้นถื่นแม่แตง: ที่บ้านป่าไผ่ ต.ช่อแล อ.แม่แตง จ. เชียงใหม่ รูปแบบเป็นเรือนพื้นถิ่นที่มีการจัดพื้นที่ใช้สอยตามการใช้งานของครอบครัวในชนบท ตัวเรือนเป็นจั่วแฝดยกพื้นสูงสร้างด้วยไม้เนื้อแข็งทั้งหลังเรือนทรงปั้นหยา(อนุสารสุนทร): เดิมตั้งอยู่บริเวณตลาดอนุสารสุนทร ถนนช้างคลาน มีลักษณะเป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่จำนวนสองชั้น เป็นรูปแบบเรือนของคหบดีหรือผู้มีฐานะนิยมสร้างขึ้นในช่วงสมัยที่ยังคงได้รับอิทธิพลด้านสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก เกิดเป็นรูปแบบที่มีการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมในยุคโคโลเนียลกับเรือนพื้นถิ่นล้านนายุ้งข้าวสารภี: หลองข้าวสารภีเป็นอาคารไม้ขนาดกลาง ใต้ถุนสูงพอประมาณ ใช้วิธีการสร้างแบบโบราณยุ้งข้าวเปลือย: เป็นหลองข้าวขนาดเล็ก มี 6 เสา แตกต่างจากหลองข้าวทั่วไปที่มีจำนวน 8 เสาขึ้นไปยุ้งข้าวเรือนกาแลพญาวงศ์(เลาหวัฒน์): หลองข้าวของเรือนกาแลยกพื้นสูงจั่วเดียว ทำหลังคาซ้อนเป็นสองระนาบ ลักษณะพิเศษของตัวหลองนี้มีขนาดใหญ่และตกแต่งป้านลมอย่างสวยงาม แสดงให้เห็นว่าเจ้าของบ้านมีฐานะยุ้งข้าวป่าซาง(นันทขว้าง): เป็นหลองข้าวขนาดใหญ่ สันนิษฐานจากอายุรูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมแล้ว ประมาณอายุได้ 150-170 ปี พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนาแห่งนี้นับว่าเป็นแหล่งเรียนรู้งานด้านสถาปัตยกรรมล้านนาอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และศึกษาภูมิปัญญาเชิงช่างในอดีตรวมทั้งที่นี่ยังมีกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง สามารถติดต่อเข้าชมได้ทุกวัน เวลา 8.30-16.30น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)โทร. 053 943 626 เรียบเรียงข้อมูลจาก พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา