หนังสือ วิชาธุรกิจที่ชีวิตจริงเป็นคนสอน 2 เป็นหนังสือที่แตกต่างจากวิชาธุรกิจที่ชีวิตจริงเป็นคนสอนเล่มแรกมากครับ โดยจุดแตกต่างก็คือเล่มแรกจะเน้นวิธีทำ สิ่งที่จำเป็นต้องรู้ในการทำธุรกิจ ส่วนที่เล่มสองนั้นเป็นเรื่องของแนวคิดเป็นหลัก เพราะคนที่เป็นเจ้าของธุรกิจย่อมต้องเข้าใจกลยุทธ์และแผนที่เหมาะสม เพื่อที่จะทำให้ชีวิตการบริหารเป็นไปได้ง่ายขึ้น อีกทั้งเล่มสองนั้นจะมีการเปรียบเทียบกับสิ่งรอบตัว เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่าควรจะต้องทำอะไรบ้าง มิติการแข่งขันในปัจจุบัน การเลือกสนามที่เราจะแข่ง การวางตำแหน่งทางการตลาด การแบ่งประเภทกลุ่มลูกค้า เป็นต้น แล้วยังมีการนำแนวคิดของ CEO บริษัทชั้นนำที่ผู้เขียน ธรรศภาคย์ เลิศเศวตพงศ์ ได้ศึกษาอ่านมาจากที่อื่นแล้วขมวดย่อยเป็นมุมมองของเขาแล้วถ่ายทอดออกมาให้เราเข้าใจง่ายผ่านบริบทที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเนื้อหาภายในเล่มMindsetSkill setsStrategyActionบทส่งท้าย แนวคิดที่ได้ภายในเล่มเหตุผลต้องห้ามในการทำธุรกิจ คือ อยากได้เงินเยอะๆ แบบไวๆ ทำธุรกิจเพราะแค่ชอบหรือสนใจในเรื่องนั้นโดยไม่สนใจเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจเลย อยากทำธุรกิจเพราะชำนาญเรื่องนั้นอยู่แล้ว เชื่อประโยคที่ว่าคนอื่นทำได้ เราก็ทำได้ อยากเอาชนะคำดูถูก ตามกระแส หรือแค่อยากมีอำนาจ เพื่อจะได้รับการยอมรับว่าเป็นเจ้าของธุรกิจ เหตุผลเหล่านี้ไม่ใช่เหตุผลที่ดีที่จะทำธุรกิจ เพราะธุรกิจจะอยู่ได้ไม่ยั่งยืนและมีปัญหาตามมา เหตุผลที่ดีสำหรับการมีธุรกิจของตัวเอง แบ่งเป็นด้านความคิดที่จะทำและด้านความสามารถถ้าหากมีความคิดอยากใช้ชีวิตที่มีความหมาย อยากทดสอบความรู้ตัวเอง อยากพิสูจน์ความเชื่อตัวเอง อยากเรียนรู้อะไรใหม่ ได้เจอประสบการณ์ใหม่ อยากมีอิสรภาพในการใช้ชีวิต มีเวลาเป็นของตัวเอง อยากมีรายได้ตามความสามารถ อยากเป็นผู้สร้างโอกาส มอบสิ่งที่ดีให้ผู้อื่น อยากรู้สึกตื่นเต้นและท้าทาย อยากเอาตัวเองออกจากความเครียดและความกดดันจากการทำงานถ้าหากมีความสามารถในการทำธุรกิจ มีความสุขกับการทำเรื่องนั้นๆ เข้าใจว่าหัวใจสำคัญของการทำเงินอยู่ตรงไหน สามารถคิดทำเรื่องนั้นให้ดีขึ้นกว่าเดิม หรือต่างจากเดิมได้ด้วยตัวเราเอง อีกทั้งยังเคยเห็นตัวอย่างธุรกิจจากที่อื่นแล้วมาทำในไทย เราลองผิดลองถูกได้โดยไม่เบื่อ เรามีเงินสำรองสำหรับทำธุรกิจมากพอ เรายังมีรายได้จากการทำงานประจำหรือรายได้ทางอื่นอยู่ ทั้งหมดนี้จึงเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าเรามีใจพร้อมจะทำธุรกิจแล้วในระดับหนึ่งเหตุผลที่ดีสำหรับการเลิกธุรกิจ ได้แก่ เป็นธุรกิจที่อยู่ในช่วงขาลง เราหมดใจ หมดไอเดียกับการนำเสนอสิ่งใหม่ให้กับธุรกิจ ธุรกิจไม่ตอบความฝันของเรา ธุรกิจทำให้สุขภาพเราแย่ลง ธุรกิจไม่สามารถขายในราคาที่อยากขาย ไม่ตอบโจทย์ด้านการเงิน กำไรไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ธุรกิจเอาเวลาส่วนตัวไปหมด การตอบรับมีแต่เสียงบ่นมากกว่าคำชม เรามองว่าธุรกิจนี้เป็นภาระมากกว่าความสนุก ความท้าทาย และนั่นคือเหตุผลที่สมควรเลิกธุรกิจ การไม่ฝืนตัวเอง ไม่ฝืนกระแสโลก ไม่ฝืนความสามารถน่าจะเป็นการดีที่สุดวิสัยทัศน์ คือ มุมมองระยะยาวต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งว่าเรามองสิ่งที่เรากำลังพูดถึงนี้จะเป็นอย่างไรในอนาคต วิสัยทัศน์จึงเป็นการกำหนดความฝัน เป็นการคิดเป็นภาพไว้ในจินตนาการของเรา จากนั้นดึงเอาภาพฝันนั้นมากำหนดเป็นเป้าหมายที่ชัดเจน พร้อมทั้งเลือกกลยุทธ์และวิธีการที่ต้องทำเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายนั้นต่อไป วิสัยทัศน์จึงใช้ได้กับธุรกิจและชีวิตส่วนตัวด้วย ธุรกิจไหนไร้วิสัยทัศน์จึงทำให้ลูกน้องลาออกกันบ่อย เพราะมองว่าทำงานที่นี่แล้วไม่มีอนาคตเลย 7 ปรัชญาการทำธุรกิจแบบ Steve Jobs ทำสินค้าให้ดีที่สุดเป็นอย่างแรกเสมออย่าขายสินค้า แต่จงขายความฝันให้ความสำคัญกับความรู้สึกของลูกค้ายึดมั่นบนการออกแบบที่เรียบง่ายสื่อสารและนำเสนอสินค้าได้อย่างยอดเยี่ยมไม่จำเป็นต้องเป็นคนแรก แต่ต้องเป็นคนที่ดีที่สุดคิดสิ่งใหม่อยู่เสมอเราชอบพัฒนาสินค้าตามความเข้าใจและอยากทำของตัวเอง แต่วิธีที่ถูก ต้องเข้าใจเหตุผลของการซื้อของลูกค้า ลูกค้าต่างกัน ต้องการหน้าที่ต่างกัน สินค้าก็ต้องต่างกันด้วย สินค้าของเราดีหรือไม่ให้ลูกค้าเป็นคนตัดสินธุรกิจไม่ได้มีกลุ่มลูกค้าแค่กลุ่มเดียว ยังมีอีกหลายกลุ่มที่กำลังประสบปัญหาเดียวกันหรือคล้ายกัน เวลาทำธุรกิจให้แก้ปัญหาของคน ไม่ใช่แก้ที่ประเภทบุคคลความหมายของคำว่ามืออาชีพ คือการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสุดความสามารถเท่าที่เราจะทำได้ มืออาชีพจะทำงานของตัวเองจนจบหน้าที่ แม้รู้อยู่แก่ใจว่าผลจะออกมาไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ตั้งแต่แรก มืออาชีพจะเห็นแก่ความสำคัญของการทำงานเป็นทีม และจะรู้ดีว่าความสำเร็จต้องใช้ความพยายามสูงมากและใช้เวลาเพื่อให้ได้มาทีมที่มีสมาชิกที่มีเคมีเดียวกัน ดูได้จาก....มีความร่วมมือกันสูง ทำงานได้โดยไม่ต้องร้องขอ มักมีการยื่นมือสมัครใจช่วยงานกัน และนั่นคือตัวชี้วัดได้ง่ายที่สุดมีผลงานออกมาได้มาก รู้จังหวะรับส่งกันได้ดี งานออกมาได้เต็มประสิทธิภาพทุกคนมีส่วนร่วมในงาน ไม่มีใครอู้ ไม่มีเกี่ยงงาน หากใครติดภารกิจด่วนก็จะมีคนอื่นในทีมพร้อมสนับสนุนรับช่วงต่อได้ทันที และนั่นทำให้บรรยากาศทำงานออกมาดี ผลงานก็มีคุณภาพดีเกินความคาดหวังได้อย่างสม่ำเสมอไอเดียธุรกิจที่ดีต้องเป็นการแก้ปัญหาที่ลูกค้าเจอทุกวัน เจอบ่อยๆและแก้ด้วยวิธีที่เรียบง่ายที่สุด ต้นทุนในการทำธุรกิจ ได้แก่ต้นทุนทางความคิดต้นทุนทางการเงินต้นทุนความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ต้นทุนด้านแรงกายและแรงใจต้นทุนด้านเวลาต้นทุนเหล่านี้มีได้ก็หมดไปได้ ต้องหมั่นมาเติมอย่าให้ขาด จุดสำคัญของเรื่องต้นทุนจึงไม่ใช่ใครมีมากกว่า แต่เป็นใครจัดการต้นทุนได้ดีกว่านี่คือบางส่วนของแนวคิดจากหนังสือภายในเล่มนี้เท่านั้น ยังมีรายละเอียดอีกมากที่เป็นข้อคิดกระตุกจิตกระชากใจในด้านการทำธุรกิจที่ผู้ประกอบการรายเล็กอาจต้องตอบคำถามที่กระตุกจิตกระชากใจพวกนั้นให้ได้ว่าจะต้องเดินหน้าไปทิศทางไหน จะวางแผนขยายตัวอย่างไร มีกลยุทธ์ที่ชัดเจนอย่างไรบ้าง เพราะถ้าหากไม่ชัดเจนแล้วการทำธุรกิจจะหลงทางไปสู่ความล่มจมได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องอันตรายมาก เป็นเรื่องที่ชวนคิดเกี่ยวกับการบริหาร การทำธุรกิจที่น่าสนใจเล่มหนึ่งเลยทีเดียวครับ เครดิตภาพภาพปก โดย rawpixel.com จาก freepik.comภาพที่ 1 และ 2 โดยผู้เขียนภาพที่ 3 โดย pch.vector จาก freepik.comภาพที่ 4 โดย jcomp จาก freepik.com บทความอื่นๆที่น่าสนใจรีวิวหนังสือ วิชาธุรกิจที่ชีวิตจริงไม่เคยสอนรีวิวหนังสือ The Visual MBAรีวิวหนังสือ คิดรวยแบบวิกรมรีวิวหนังสือ ความสำเร็จดีใจได้วันเดียวรีวิวหนังสือ งานประจำสอนทำธุรกิจอัปเดตข่าวสาร และแหล่งเรียนรู้หลากหลายแบบไม่ตกเทรนด์ บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !