รีเซต

"พลายบุญช่วย" ช้างป่าละอู ป่วนอีก! บุกขโมยอาหารแมวกินหมดถุง ก่อนเดินหายเข้าป่า

"พลายบุญช่วย" ช้างป่าละอู ป่วนอีก! บุกขโมยอาหารแมวกินหมดถุง ก่อนเดินหายเข้าป่า
ข่าวสด
29 มิถุนายน 2564 ( 22:07 )
73
"พลายบุญช่วย" ช้างป่าละอู ป่วนอีก! บุกขโมยอาหารแมวกินหมดถุง ก่อนเดินหายเข้าป่า

 

"พลายบุญช่วย-พลายบุญมี" ออกคุ้ยหาของกินในชุมชน จนท.เร่งผลักดันกลับเข้าป่า แต่ "พลายบุญมี" แยกไปหลังศูนย์ข้อมูลอนุรักษ์ช้างป่าฯ ก่อนล้วงอาหารแมวกินเกลี้ยงถุง

 

 

เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2564 นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้นายอิทธิพล ไทยกมล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นำชุดควบคุมช้างป่าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ร่วมกับนายทองใบ เจริญดง ผู้ประสานงานสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า WCS ประเทศไทย ทหารจงอางศึก ออกดูแลความปลอดภัยคนและช้างป่าคน บริเวณพื้นที่ที่ล่อแหลมที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาช้างป่าเดินข้ามถนนในช่วงเวลาที่นักท่องเที่ยวและชาวบ้านในพื้นที่สัญจรไปมาตามเส้นทางสายพุไทร-ไทรเอน เส้นทางน้ำตกป่าละอูและภายในชุมชน หมู่ 1 บ้านเฉลิมเกียรติพัฒนา ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังรับแจ้งว่ามีช้างป่าหลายตัวเข้ามาหากินบริเวณตลาดนัดภายในหมู่บ้าน

 

 

ขณะที่นายทองใบพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ขับรถตระเวนเข้ามาในหมู่บ้าน พบ 2 ช้างป่าขาใหญ่ประจำหมู่บ้าน “พลายบุญช่วย” และ “พลายบุญมี” ซึ่งชอบออกหาตามตลาดนัดและชุมชนโดยไม่เกรงกลัวใครกำลังใช้งวงคุ้ยหาของกินอยู่ ก่อนทั้งคู่เดินมาประจันหน้าและชนงากัน เจ้าหน้าที่จึงรีบทำการผลักดันแยกช้างทั้ง 2 ตัวให้กลับเข้าป่า

 

 

 

 

ปรากฏว่า “พลายบุญช่วย” แยกเดินไปทางบริเวณด้านหลังศูนย์ข้อมูลอนุรักษ์ช้างป่าแก่งกระจาน ยังไม่วายใช้งวงล้วงหยิบอาหารแมว 1 ถุง ที่วางอยู่บริเวณนั้นกินจนเกลี้ยง ก่อนเดินหายเข้าป่าไป

 

 

 

 

นายพิชัย กล่าวว่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีหนังสือเพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาช้างป่าที่ชอบออกนอกพื้นที่รบกวนประชาชนเป็นไปอย่างรอบคอบ รัดกุม ถูกต้องเหมาะสม มีข้อมูลครบถ้วน ได้อนุมัติให้คณะเจ้าหน้าที่สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี ติดตามพฤติกรรมโดยเสนอการติดปลอกคอติดตามตัวสัตว์สัญญาณดาวเทียม (GPS Collar) เพื่อทราบเส้นทางการเคลื่อนที่ การหากินทางด้านนิเวศวิทยาเพื่อเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้ช้างเข้าสู่เขตชุมชน

 

 

รวมถึงให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความเหมาะสมของพื้นที่รองรับที่จะนำช้างไปปล่อยทั้งในด้านความสมบูรณ์ของพื้นที่ แหล่งน้ำ-อาหาร และประชากรช้างป่า แต่ยังไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากช่างป่ารู้แกว หากเจ้าหน้าที่เข้าใกล้ก็จะหลบเข้าป่า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง