แม้ไม้ไผ่ทุกชนิดจะสามารถนำมาสับฟากได้ แต่ไม้ไผ่ที่สับฟากได้ดี มีความเหนียวและคงทนคือไม้ไผ่ยักษ์วิธีการคัดเลือกไม้ไผ่ยักษ์มาสับฟากลำที่นำมาสับฟากได้สวย ควรมีขนาดใหญ่และตั้งตรง การเลือกไม้ไผ่ลำใหญ่นั้นเพื่อเป็นการประหยัดแรงผู้สับเอง ไม่ต้องใช้ไม้ไผ่หลายลำ เพราะลำเดียวได้พื้นที่กว้างขวางแล้ว การเลือกไม้ไผ่ที่ลำต้นตรงนั้นจะทำให้ผืนไม้ไผ่ที่สับออกมานั้นเรียบ ไม่เชิดหรือไม่เท่ากัน ในภาษาอีสานจะเรียกว่า “เงิง”อุปกรณ์ที่ใช้สับฟากใช้มีดโค้ง หรือพร้าก๋อย แต่ที่สามารถสับฟากได้สวยและมีประสิทธิภาพที่สุดคือ “ขวานหัวหมู”ทำไมไม่ใช้เลื่อยหากผู้ใช้ไม่ชำนาญในการใช้เลื่อย เพื่อเลื่อยต้นไผ่ จะทำให้ต้นไผ่นั้นฉีก แตก ไม่สวยงาม การใช้มีดโค้งหรือขวานหัวหมูจึงเหมาะสมที่สุดตัดไม้ไผ่มาแล้วทำอย่างไรต่อตัดไม้ไผ่สด ๆ มาแล้วสามารถสับฟากได้ทันทีไม่ควรผึ่งแดดไว้ เพราะจะทำให้ไม่ไผ่เหนียวและสับยากการสับควรเริ่มจากจุดใดสับลงตรงตาของไม้ไผ่ สับวนไปเรื่อย ๆ จนครบ จากไม้ไผ่เป็นลำแข็ง ๆ กลม ๆ ก็จะเปลี่ยนรูป จากนั้นจึงใช้มีดหรือขวานผ่าไม้ไผ่ แล้วไม้ไผ่ก็จะแผ่หลาเป็นแผ่นยาว ๆ อย่างที่เห็น อาจต้องขึ้นไปเหยียบหรือนั่งทับสักพักเพื่อให้ไม้ไผ่อยู่ตัว จากนั้นจึงค่อยเก็บรายละเอียดด้วยการใช้สันมีดหรือสันขวานทุนไล่ตามรอยปริแตกตรงตาไม้ไผ่ไปเรื่อย ๆ จนครบ ไม้ไผ่ก็จะแบนเรียบ พลิกด้านในของไม้ไผ่ออกมา แล้วค่อยเลาะข้อในปล้องไม้ไผ่โดยการวางมีดขนานกับข้อในปล้องแล้วถากเบา ๆ ก็จุดหลุดออกไปโดยง่ายการกำจัดขนไม้ไผ่ตามภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานนั้นจะใช้กาบมะพร้าวฉีก นำไปชุบน้ำแล้วคลุกกับทรายละเอียด จากนั้นนำมาขัดกับผิวไม้ไผ่ วิธีนี้จะเป็นการกำจัดขนของไม้ไผ่ป้องกันการเกิดผื่นคันหากต้องใช้สำหรับทำเป็นแคร่ เก้าอี้ ผนังบ้าน แต่ถ้าจะทำเพื่อใช้เป็นสะพานสามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เก็บเสี้ยนไม้ไผ่ทำได้ด้วยการนำไปลนไฟ บรรดาเสี้ยนเล็ก ๆ ทั้งหลายจะถูกเผาไม้ วิธีนี้นอกจากจะเป็นการกำจัดเสี้ยนไม้ไผ่แล้วยังเป็นการป้องกันบรรดามอดมาเจาะกินไม้ไผ่อีกด้วยทุกภาพโดยผู้เขียน