ประวัติวรรณคดีสมัยสุโขทัย นับเป็นรากฐานทางวรรณคดีที่เก่าเเก่ที่สุดของไทย ส่วนใหญ่จารึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สะท้อนถึงบ้านเมือง ความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัย เเละยังมีวรรณคดีคำสอนเพื่อให้รู้จักละอายต่อบาปอีกด้วย 1.ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำเเหง (ศิลาจารึกหลักที่ 1) พบที่เนินประสาทเมืองเก่าสุโขทัย ปัจจุบันได้ย้ายมาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานเเห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร1.1ผู้เเต่ง สันนิษฐานว่าเป็นพระราชนิพนธ์ในพ่อขุนรามคำเเหงมหาาราช 1.2จุดมุ่งหมายในการเเต่ง เพื่อบันทึกพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำเเหงมหาราช เเละเรื่องเกี่ยวกับความเจริญของสุโขทัย1.3รูปเเบบคำประพันธ์ เป็นร้อยเเก้ว ที่มีลักษณะเป็นภาษาไทยเเท้ เป็นประโยคสั้นๆกะทัดรัด บางตอนมีเสียงสัมผัสคล้องจองกันระหว่างวรรค1.4เนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องเเบ่งออกเป็น 3 ตอน คือตอนที่1 เป็นพระราชประวัติพ่อขุนรามคำเเหงมหาราช กล่าวถึงสงครามที่พ่อขุนรามคำเเหงมีบทบาทสำคัญตอนที่2 กล่าวถึงขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา สภาพบ้านเมือง เเละการประดิษฐ์อักษรไทยในสมัยพ่อขุนรามคำเเหงมหาราชตอนที่3 สดุดีพระเกียรติของพ่อขุนรามคำเเหงมหาราช เเละ กล่าวถึงอาณาเขตของสุโขทัย1.5คุณค่า ด้านภาษา มีสำนวนภาษาที่ไพเราะ กะทัดรัด มีการใช้คำคล้องจอง ทำให้มีศิลาจารึกนี้มีความงามด้านภาษาในระดับสูง ด้านประวัติศาสตร์ กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำเเหงมหาราชไว้อย่างละเอียด เช่น ด้านกฎหมาย ด้านการเมืองการปกครอง เป็นต้นตัวอย่างบางส่วน 2.จารึกนครชุม (ศิลาจารึกหลักที่ 2) ปัจจุบันอยู่ที่ หอพระสมุดเเห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร2.1ผู้เเต่ง เป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาที่1(ลิไท)2.2จุดมุ่งหมายในการเเต่ง เพื่อกล่าวถึงการสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ที่เมืองนครชุม เเละเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระมหาธรรมาราชา-ที่1(ลิไท)2.3รูปเเบบคำประพันธ์ เป็นร้อยเเก้วที่มีลักษณะเป็นภาษาไทยเเท้ เป็นประโยคสั้นๆ กะทัดรัด บางตอนมีเสียงสัมผัสคล้องจองกันระหว่างวรรค2.4เนื้อเรื่อง กล่าวถึงพระราชประวัติของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) เมื่อขึ้นครองราชย์ จากนั้นกล่าวถึงการสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุเมืองนครชุมและการปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์จากนั้นจึงเป็นการสรรเสริญพระเกียรติของทหารทำและชาที่ 1 (ลิไท) ว่าเป็นกษัตริย์ที่ทรงทศพิธราชธรรม และเป็นกษัตริย์ที่มีความรู้ในด้านพระพุทธศาสนาด้วย2.5คุณค่า ด้านประวัติศาสตร์ ทำให้ทราบถึงพระราชประวัติของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ด้านศาสนา ทำให้ทราบเเนวคิดควาามเชื่อทางพระพุทธศาสนาในสมัยของ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)เเละเเสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาของลังกาที่มีต่อสุโขทัยตัวอย่างบางส่วน3.จารึกปู่ขุนจิตขุนจอด (ศิลาจารึกหลักที่ 45) พบที่ริมเสาเบื้องขวาหน้าวิหารหลวง ด้านหลังวิหารสูง วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานเเห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร3.1ผู้เเต่ง เป็นศิลาจารึกของพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไทย) 3.2จุดมุ่งหมายในการเเต่ง กล่าวถึงการกระทำสัตย์ปฏิญาณระหว่างกษัตริย์สุโขทัยกับกษัตริย์เมืองน่านเพื่อที่จะเป็นพันธมิตรต่อกันเมื่อเวลามีสงครามกับรัฐใกล้เคียง3.3รูปเเบบคำประพันธ์ เป็นร้อยเเก้วประโยคสั้นๆ กะทัดรัด 3.4เนื้อเรื่องด้านที่ 1 กล่าวถึงการกระทำสัตยาธิษฐานด้านที่ 2 รายชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เชิญมาเป็นพยานด้านที่ 3 เป็นคำสาปแช่งผู้ที่ผิดคำสาบาน3.5คุณค่าด้านพิธีกรรม กล่าวถึงพิธีกรรมในสมัยโบราณโดยเฉพาะพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำสัตย์สาบานด้านสังคม แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับเมืองน่านซึ่งมีความสัมพันธ์คล้ายเครือญาติตัวอย่างบางส่วน 4.ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีที่มีความเก่าเเก่เรื่องหนึ่ง ซึ่งมีอิทธิพลต่อความเชื่อ ของพระพุทธศาสนิกชน ตั้งเเต่สุโขทัยมาจนถึงปัจจุบัน4.1ผู้เเต่ง เป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาที่1(ลิไท) 4.2จุดมุ่งหมายในการเเต่ง เพื่อเทศนาถวายพระมารดา เเละสืบทอดพระศาสนา4.3รูปเเบบคำประพันธ์ เป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยเเก้ว ชนิดพรรณนาโวหาร บรรยายโวหาร เเละเทศนาโวหาร4.4เนื้อเรื่อง พรรณนาถึงเรื่องการเกิด การตาย ของสัตว์ทั้งหลาย เวียนว่ายตายเกิดในภูมิทั้งสาม ได้เเก่ กามภูมิ รูปภูมิ เเละอรูปภูมิ4.5คุณค่าด้านปรัชญา กล่าวถึงการกำเนิดของสรรพสิ่งในโลกนี้ ความเชื่อเกี่ยวกับภูมิต่างๆด้านคำสอน สอนให้ประชาชนรู้จักบุญ-บาปด้านอิทธิพลต่อกวีรุ่นหลัง เป็นที่มาของเเรงบันดาลใจ ความเชื่อเกี่ยวกับโลกในคติทางพระพุทธศาสนาก็จบไปเเล้วนะคะกับการเรียนรู้ประวัติวรรณคดีสมัยสุโขทัย หวังว่าทุกคนที่ได้อ่านจะได้รับความรู้ไม่มากก็น้อย ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะคะ รูปภาพโดยผู้เขียนทั้งหมด เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !