ทำไมเราต้องตกหลุมรัก คำอธิบายผ่าน 4 ทฤษฎีความรักทำไมคนเราถึงตกหลุมรัก? ทำไมความรักบางทีจึงยืนยาวและบางทีก็หายไปอย่างรวดเร็ว? นักจิตวิทยาและนักวิจัยได้เสนอทฤษฎีความรักที่หลากหลายเพื่ออธิบายว่าความรักก่อร่างสร้างตัวและคงอยู่ได้อย่างไรความรักนั้นถือเป็นอารมณ์ความรู้สึกพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน แต่การเข้าใจว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไมนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่าย อันที่จริงแล้ง เป็นเวลานานที่หลายคนแนะนำว่าความรักเป็นเพียงบางสิ่งที่เริ่มต้น ลึกลับ และมันมีจิตวิญญาณเกินกว่าที่วิทยาศาสตร์จะเข้าใจอย่างถ่องแท้Image by 3194556 from Pixabay แต่เราได้รวบรวมทฤษฎีสำคัญ 4 ข้อ ที่จะสามารถอธิบายถึงความรักและความผูกพันทางอารมณ์ด้านอื่นๆ1. ความชอบ(Liking) vs ความรัก(Loving)นักจิตวิทยา Zick Rubin เสนอว่าความรักนั้นจะประกอบด้วย 3 องค์ประกอบนั้นคือ ความผูกพัน การดูแล เอาใจใส่ และความใกล้ชิดโดย Zick Rubin เชื่อว่าบางครั้งเราจะรู้สึกซาบซึ้งและชื่นชมผู้อื่นเป็นจำนวนมาก เราจะสนุกกับการใช้เวลากับคน ๆ นั้นและต้องการอยู่ใกล้เขาหรือเธอ แต่สิ่งเหล่านี้ก็อาจจะไม่เป็นความรักเสมอไป Zick Rubin เรียกสิ่งนี้ว่าความชอบในทางกลับกัน ความรักนั้นลึกซึ้งกว่า รุนแรงกว่ามาก รวมไปถึงความปรารถนาอย่างแรงกล้าสำหรับความใกล้ชิดทางร่างกายและการอยู่กับคนที่ "ชอบ" นั้นมีความสุขกับการอยู่ร่วมกัน ในขณะที่คนที่ "มีความรัก" จะใส่ใจความต้องการของอีกฝ่ายมากพอๆ กับที่พวกเขาทำเพื่อตัวเองความผูกพันคือความจำเป็นในการได้รับการดูแล การยอมรับ และการสัมผัสทางกายภาพกับบุคคลอื่น ความดูแล เอาใจใส่นั้นจะเกี่ยวข้องกับการประเมินความต้องการและความสุขของอีกฝ่ายหนึ่งให้เท่ากับความต้องการของตนเอง ความใกล้ชิดหมายถึงการแบ่งปันความคิด ความปรารถนา และความรู้สึกกับบุคคลอื่นตามคำจำกัดความนี้ Zick Rubin ได้จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินทัศนคติเกี่ยวกับผู้อื่น และพบว่าระดับความชอบและความรักเหล่านี้สนับสนุนแนวคิดเรื่องความรักของเขาImage by aliceabc0 from Pixabay 2. ความเห็นอกเห็นใจ(Compassionate) vs ความหลงใหล(Passionate)นักจิตวิทยา Elaine Hatfield และเพื่อนร่วมงานของเธอได้ระบุว่า ความรักมี 2 ประเภทนั้นคือ ความรักความเมตตา และความรักแบบหลงใหลโดยความรักแบบเห็นอกเห็นใจนั้นมีลักษณะของการเคารพซึ่งกันและกัน ความผูกพัน ความเสน่หา และความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ซึ่งความรักแบบเห็นอกเห็นใจนั้นมักเกิดจากความรู้สึกของความเข้าใจซึ่งกันและกันและการให้ความเคารพซึ่งกันและกันก่อเกิดเป็นความรักส่วนความรักแบบหลงใหลนั้นจะมีลักษณะเฉพาะด้วยอารมณ์ที่รุนแรง แรงดึงดูดทางเพศ ความวิตกกังวล และความเสน่หา เมื่ออารมณ์รุนแรงเหล่านี้ได้รับการตอบสนอง ผู้คนจะรู้สึกพอใจและอิ่มเอม แต่หากไม่ได้รับการตอบสนองนั้นจะนำไปสู่ความรู้สึกสิ้นหวัง Elaine Hatfield แนะนำว่าความรักที่หลงใหลนั้นอาจเกิดขึ้นได้ชั่วคราว โดยทั่วไป มักจะยาวนานระหว่าง 6 - 30 เดือนImage by StockSnap from Pixabay Elaine Hatfield ยังแนะนำด้วยว่า ความรักที่หลงใหลนั้นเกิดขึ้นเมื่อ ความคาดหวังกระตุ้นให้เกิดการตกหลุมรัก เมื่อบุคคลนั้นพบกับความคิด และความเข้าใจในความรักในอุดมคติแล้ว เมื่อนั้นก็จะประสบกับความตื่นตัวทางร่างกายต่อหน้าอีกฝ่ายหนึ่งความรักที่หลงใหลในอุดมคติอาจจะนำไปสู่ความรักที่เห็นอกเห็นใจซึ่งยั่งยืนกว่ามาก ในขณะที่คนส่วนใหญ่ปรารถนาความสัมพันธ์ที่ผสมผสาน ระหว่างความเห็นอกเห็นใจ หลงใหล และความมั่นคง โดย Elaine Hatfield เชื่อว่าสิ่งนี้หายาก3. แบบอย่างความรักแบบวงล้อสี (The Color Wheel Model of Love)ในหนังสือ The Colors of Love ของ John Lee ในปี 1973 ได้เปรียบเทียบรูปแบบของความรักกับวงล้อสี โดยทั่วไปสีจะมีแม่สี 3 สีหลัก John Lee แนะนำว่าความรักมีรูปแบบหลัก 3 แบบนั้นคือ Eros Ludos และ StorgeEros ซึ่งมาจากภาษากรีกหมายถึง "หลงใหล" หรือ "เร้าอารมณ์" John Lee แนะนำว่าความรักประเภทนี้ มีทั้งความหลงใหลทางร่างกายและอารมณ์Ludos มาจากคำภาษากรีกหมายถึง "เกม ความสนุก" ความรักรูปแบบนี้มักถูกมองว่าเป็นเรื่องเล่น ๆ และสนุกสนาน แต่ไม่จำเป็นต้องจริงจังเสมอไป ผู้ที่แสดงความรักในรูปแบบนี้นั้นไม่พร้อมสำหรับการผูกมัดและระวังความสนิทสนมที่มากเกินไปStorge มาจากคำภาษากรีกหมายถึง "ความรักตามธรรมชาติ" รูปแบบของความรักนี้มักจะเป็นตัวแทนของความรักในครอบครัวระหว่างพ่อแม่และลูก พี่น้อง และสมาชิกในครอบครัว ความรักประเภทนี้สามารถพัฒนาได้จากมิตรภาพ โดยที่ผู้คนที่มีความสนใจและความมุ่งมั่นจะค่อยๆ พัฒนาความรักซึ่งกันและกันImage by Free-Photos from Pixabay ต่อจากการเปรียบเทียบวงล้อสี John Lee เสนอว่าในขณะที่สีหลักสามารถนำมารวมกันเพื่อสร้างสีที่เสริมกันได้ รูปแบบความรักหลักทั้ง 3 นี้ก็สามารถนำมารวมกันเพื่อสร้างรูปแบบความรักรองลงมาที่แตกต่างกัน 9 แบบ ตัวอย่างเช่น การรวม Eros และ Ludos เข้าด้วยกันส่งผลให้เกิดความคลั่งไคล้หรือความรักที่โดนครอบงำนั้นเอง6 รูปแบบของความรักของ John Leeมี 3 รูปแบบหลัก คือ Eros : รักที่หลงใหลLudos: รักที่สนุกสนานStorge: รักตามธรรมชาติ3 รูปแบบรอง:Mania (Eros + Ludos): ความรักที่ครอบงำPragma (Ludos + Storge): ความรักที่สมจริงและใช้ได้จริงAgape (Eros + Storge): ความรักที่เสียสละ4. ทฤษฎีสามเหลี่ยมความรัก (Triangular theory of love)นักจิตวิทยา Robert Sternberg ได้เสนอทฤษฎีสามเหลี่ยมที่เสนอว่าความรักประกอบด้วย 3 องค์ประกอบอย่างที่เอื้อต่อกันและกันจนเกิดเป็นสามเหลี่ยมที่เขาตั้งชื่อว่า ทฤษฎีสามเหลี่ยมความรัก (Triangular theory of love) ประกอบไปด้วย ความสนิทสนม(Intimacy) ความใคร่หลง (Passion) และความผูกพัน (Commitment)การผสมผสานที่แตกต่างกันขององค์ประกอบทั้ง 3 อย่างนี้ส่งผลให้เกิดความรักที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น การผสมผสานความสนิทสนมและความใคร่หลงจะส่งผลให้เกิดความรักที่เมตตา ในขณะที่การรวมความรักและความใกล้ชิดจะนำไปสู่ความรักที่โรแมนติกจากข้อมูลของ Robert Sternberg ความสัมพันธ์ที่สร้างขึ้นจากองค์ประกอบตั้งแต่ 2 องค์ประกอบขึ้นไปนั้นคงทนกว่าความสัมพันธ์ที่มีองค์ประกอบเพียงองค์ประกอบเดียว Robert Sternberg ได้ใช้คำว่ารักที่สมบูรณ์เพื่ออธิบายถึงความใกล้ชิด ความหลงใหล และความมุ่งมั่น แม้ว่าความรักประเภทนี้จะแข็งแกร่งและยั่งยืนที่สุด แต่ Robert Sternberg แนะนำว่าความรักประเภทนี้หายากImage by Adina Voicu from Pixabay ทั้งหมดคือทฤษฎีที่ถูกถ่ายทอดมาจากเหล่านักวิจัย ในมุมมองของผู้เขียนคิดคือ ความรักมันมีหลายรูปแบบ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเพียงความรักระหว่างแฟน แต่ความรักจริง ๆ แล้วมีได้กับทุกคน รักครอบครัว รักเพื่อน รักเด็ก แม้ว่าเราอาจจะยังไม่ประสบความสำเร็จในด้านความรักของแฟน แต่อย่าลืมให้ความรักกับพ่อแม่ คนรอบข้างเราด้วยนะครับ คุณคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ บอกให้เรารู้ได้นะอ้างอิง บทความประกอบทฤษฎีที่ 1 | บทความประกอบทฤษฎีที่ 2 | บทความประกอบทฤษฎีที่ 3 | บทความประกอบทฤษฎีที่ 4 | บทความจาก Frontiersin | บทความจาก Frontiersin | บทความจาก Plos ภาพประกอบภาพปก by Dimitris Vetsikas from Pixabay เขียนและเรียบเรียงโดย รู้หรือไม่? by แต้มเองบทความต่าง ๆ เพื่อการศึกษาและค้นคว้า ไม่อนุญาตให้คัดลอกไปโดยไม่อ้างอิงแหล่งที่มานะครับ━━━━━━━━━━━รู้หรือไม่? - Did You Know?เราพร้อมเสิร์ฟสาระดี ๆ ให้คุณทุกวัน━━━━━━━━━━━ติดตามเราเพื่อเนื้อหาอื่น ๆ ได้ที่Blockdit - Blockdit.com/info.didyouknowFacebook - Facebook.com/info.didyouknowInstagram - Instagram.com/info.didyouknowTwitter - Twitter.com/info_didyouknowTrueIntrend - Creators.trueid.net/@didyouknow#didyouknow #รู้หรือไม่ #วันนี้วันอะไร เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !