ฉันท์เป็นบทร้อยกรองชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเด่นอยู่ที่การใช้คำหนักคำเบา หรือที่เราเรียกกันว่าคำครุ คำลหุ ฉันท์มีอยู่หลายชนิด แต่ในปัจจุบันฉันท์ที่เรานิยมแต่งกันมากที่สุดคืออินทรวิเชียรฉันท์ อินทรวิเชียรฉันท์เป็นฉันท์ที่มีฉันทลักษณ์คล้าย ๆ กับกาพย์ยานี 11 แต่แตกต่างกันตรงที่อินทรวิเชียรฉันท์จะเพิ่มลักษณะบังคับของคำครุ คำลหุลงไป ส่วนใหญ่แล้วอินทรวิเชียรฉันท์มักจะนิยมแต่งไปในทางบทบรรยายหรือบทพรรณนาเป็นหลัก ในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้ถึงอินทรวิเชียรฉันท์ให้ถ่องแท้มากขึ้น เราจะมาศึกษากันว่าคำครุ คำลหุคืออะไร ฉันทลักษณ์ของอินทรวิเชียรฉันท์เป็นอย่างไร และการอ่านอินทรวิเชียรฉันท์ให้ถูกต้องนั้นอ่านอย่างไร เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ คำครุ คำลหุคืออะไร? ก่อนที่เราจะเริ่มแต่งฉันท์สิ่งแรกที่เราจะต้องเรียนรู้ก่อนเลยก็คือคำครุ คำลหุ โดยคำครุกับคำลหุนั้นมีความหมายต่างกันดังนี้ คำครุ หมายถึง คำที่มีเสียงหนักได้แก่คำที่ผสมด้วยสระเสียงยาว เช่น ป่า ดู คือ ฯลฯ และคำที่มีตัวสะกดซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 8 มาตราตัวสะกด ได้แก่ แม่กก แม่กบ ม่กด แม่กน แม่กม แม่เกย แม่เกอว และแม่กง ตัวอย่างเช่น ตก เจ็บ แดด ปีน ตูม เลย สาว ทรง ฯลฯ เป็นต้น คำลหุ ในส่วนของคำลหุนั้นมีความหมายว่าคำที่มีเสียงเบา ได้แก่คำที่ผสมด้วยสระเสียงสั้นและไม่มีตัวสะกดใด ๆ เช่นคำว่า เกาะ สิ และ ละ จุ ฤ ฯลฯ เป็นต้น ถ้าหากเราเข้าใจในเรื่องของคำครุ คำลหุแล้ว การเรียนรู้ในเรื่องของฉันท์ชนิดต่าง ๆ ก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ฉันทลักษณ์ของอินทรวิเชียรฉันท์ ลำดับต่อมาเราจะมาเรียนรู้ถึงฉันทลักษณ์ของอินทรวิเชียรฉันท์กันต่อเลยครับ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว่าอินทรวิเชียรฉันท์นั้นมีลักษณะที่เหมือนกับกาพย์ยานี 11 ที่บทหนึ่งจะมี 4 วรรค วรรค 1 และวรรค 3 จะมี 5 คำ ส่วนวรรค 2 และวรรค 4 จะมี 6 คำ ในเรื่องของสัมผัสนั้นคำสุดท้ายของวรรค 1 จะสัมผัสกับคำที่ 3 ของวรรค 2 และคำสุดท้ายของวรรค 2 จะสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรค 3 สิ่งที่อินทรวิเชียรฉันท์มีเพิ่มเข้ามานั้นก็คือการบังคับคำครุ คำลหุ ซึ่งอินทรวิเชียรฉันท์ได้บังคับตำแหน่งคำครุ คำลหุไว้ดังนี้ภาพโดย: ผู้เขียน การอ่านอินทรวิเชียรฉันท์ การอ่านอินทรวิเชียรฉันท์ก็เป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องเรียนรู้ เพราะเราจะต้องอ่านให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ที่ได้บังคับคำครุ คำลหุไว้ อินทรวิเชียรฉันท์บทนี้อ่านอย่างไรทุกท่านพอจะทราบไหมครับภาพโดย: ผู้เขียนอย่างที่บอกไปแล้วครับว่าการอ่านฉันท์นั้นจะต้องอ่านให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ที่ได้บังคับคำครุ คำลหุไว้ ดังนั้นอินทรวิเชียรฉันท์บทนี้จะอ่านว่าภาพโดย: ผู้เขียน นี่แหละครับคืออินทรวิเชียรฉันท์ ซึ่งดูแล้วก็ไม่ใช่บทประพันธ์ที่จะแต่งให้สำเร็จได้ง่าย ๆ เลยนะครับ แต่ก็เป็นความท้าทายในอีกรูปแบบหนึ่งของนักเขียน นักกวีที่จะได้ถือโอกาสพิสูจน์ความสามารถของตนเองว่าฝีมือของตนนั้นมาถึงขั้นไหน พูดได้เลยว่ากวีท่านใดที่สามารถแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ให้ออกมามีความไพเราะและงดงามได้ ถือได้ว่ากวีท่านนั้นคงไม่ใช่กวีที่มีฝีมือธรรมดา ๆ แล้วล่ะครับภาพปกจาก: https://unsplash.com/photos/tGmHDoAwbis