รีเซต

'เมย์แบงก์ กิมเอ็ง' มองบวกต่อมาตรการธปท. เปิด 2 ตัวท็อปกลุ่มแบงก์

'เมย์แบงก์ กิมเอ็ง' มองบวกต่อมาตรการธปท. เปิด 2 ตัวท็อปกลุ่มแบงก์
ทันหุ้น
13 มิถุนายน 2564 ( 11:00 )
38
'เมย์แบงก์ กิมเอ็ง' มองบวกต่อมาตรการธปท. เปิด 2 ตัวท็อปกลุ่มแบงก์

 

ทันหุ้น - บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) หรือ (MBKET) คงมุมมองบวกต่อหุ้นกลุ่มธนาคารไทย และคาดว่าสถานการณ์ดีขึ้นจากการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้น และจำนวนการติดเชื้อต่อวันที่ลดลง จะทำให้กลุ่มธนาคารมีผลงานดีขึ้นในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้า หุ้นเด่นของเราคือ KBANK ราคาเป้าหมาย 160 บาท (ROE ปี 64 ที่ 9.1%, P/BV 0.8 เท่า) และ TISCO ราคาเป้าหมาย 110 บาท (ROE ปี 64 ที่ 17.7%, P/BV 2.1 เท่า) มองเป็นโอกาสในการเข้าซื้อ KBANK หลังราคาหุ้นร่วง 14% QTD จากประเด็นการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นและการหลุดจากดัชนี MSCI ชอบ TISCO ในแง่ความสามารถในการทำกำไรสูง งบดุลที่มั่นคง และอัตราเงินปันผลตอบแทนที่ดี

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ขยายเวลามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ SME ไปสิ้นสุด ธ.ค. 64 จากเดิม มิ.ย. 64 โดยให้ธนาคารปรับโครงสร้างสินเชื่อ SME เพื่อรองรับกระแสเงินสดของลูกค้า นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้ธนาคารจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลได้ แต่อัตราการจ่ายถูกจำกัดไว้ที่ระดับปี 2563 และ 50% ของกำไรในครึ่งปีแรก นอกจากนี้ยังพิจารณาด้วยว่าจะขยายค่าธรรมเนียม FIDF ที่ลดลง 23bp หรือไม่ ซึ่งจะหมดอายุภายในสิ้นปีนี้

 

ฝ่ายวิจัยมองบวกเล็กน้อยกับข่าวที่ว่าธนาคารต่างๆ สามารถกลับมาจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลได้ในปีนี้ เนื่องจากสะท้อนเป็นนัยว่าธนาคารไทยมีระดับเงินทุนที่แข็งแกร่ง สามารถรองรับผลกระทบของโรคระบาดได้ สำหรับข่าวที่เกี่ยวข้อง การขยายมาตรการบรรเทาหนี้ SMEs สอดคล้องกับมุมมองของฝ่ายวิจัย หลังจากที่ ธปท. ได้ขยายมาตรการบรรเทาหนี้ลูกค้ารายย่อยออกไปอีก 6 เดือน และสิ้นสุดในเดือน ธ.ค. 64 จากเดือน มิ.ย.64

 

ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยยืนยันมุมมองที่ว่ารายรับของธนาคารจะค่อยๆ ดีขึ้นตั้งแต่ปี 2565 โดยได้รับแรงหนุนจากการฉีดวัคซีนและการเปิดประเทศ โดยในไตรมาส 2/64 คาดว่า NIM ของภาคธุรกิจจะปรับตัวลดลงเนื่องจากลูกค้าอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างใหม่ โดยมีระยะเวลาการชำระเงินนานขึ้นและค่างวดรายเดือนที่ลดลง ดอกเบี้ยค้างรับน่าจะเพิ่มขึ้น QoQ เนื่องจากสัดส่วนเงินกู้ภายใต้โครงการบรรเทาหนี้ที่สูงขึ้น ในแง่บวก คาดว่าธนาคารจะบันทึกกำไรจากการลงทุนเพื่อชดเชยกับแนวโน้มรายได้ที่อ่อนแอในไตรมาส 2/64

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง