เช็คก่อน! รถสูบส้วมเทศบาล ราคากี่บาท ถังเกรอะตามบ้านเป็นยังไงเวลาส้วมเต็มที่บ้านแน่นอนว่าเราทุกคนต้องโทรหารถดูดส้วม ยกเว้นบ้านของคนดูดส้วมเองที่ไม่ต้องโทรหาใครให้ยาก ส้วมเต็มอยู่ยากเพราะต้องลำบากไปใช้ส้วมบ้านคนอื่นชั่วคราว ดังนั้นจะดูดส้วมก็ต้องหารถดูดส้วมที่ไว้ใจได้ เพราะบางคนเจอปัญหาว่าสูบส้วมแต่ละที่พอๆ กับค่าแรงขั้นต่ำตั้ง 3 วัน จริงไหมคะ? ดังนั้นในบทความนี้เรามาคุยกันเรื่องดูดส้วมกันดีกว่าค่ะ อย่างน้อยจะได้มองเห็นภาพมากขึ้นว่าอะไรเป็นอะไร✅️โดยส่วนตัวผู้เขียนมีโอกาสได้เกี่ยวข้องกับรถดูดส้วมบ่อยมาก อาจจะมากกว่าคนทั่วไปเพราะเคยใช้บริการรถดูดส้วมไปสูบสิ่งปฏิกูลตอนทำงานด้วยค่ะ ดังนั้นเรื่องรถดูดส้วมแค่หลับตาก็เดาทางออกแล้วค่ะ มาโกงค่าดูดส้วมไม่ได้เด็ดขาด ยกเว้นแต่ว่าค่าบริการดูดส้วมบางแห่งแพงอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้วนะคะเพราะอาจเกี่ยวข้องกับต้นทุนในการดูดส้วมที่แตกต่างกันไปในแต่ละที่ค่ะ🆗️แต่โดยทั่วไปแล้วการดูดส้วมปกติของบ้านหลังหนึ่งในประเทศไทย ขนาดของถังส้วมจะใกล้เคียงกันค่ะ และตอนนี้การดูดส้วมสำหรับชุมชนส่วนใหญ่เทศบาลเป็นคนดูแลเรื่องนี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเทศบาลมีรถสูบส้วมนะคะ ประชาชนคนธรรมดาเป็นเจ้าของรถสูบเองและไปทำการสูบสิ่งปฏิกูลที่บ้านหลังหนึ่งด้วยตัวเองเมื่อเจ้าของบ้านโทรหา แต่เทศบาลทำการควบคุมเรื่องการกำจัดของเสียของรถดูดส้วมและดูแลให้รถดูดส้วมมีบริการในพื้นที่ของตัวเองให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เพราะในความเป็นจริงคือเรานึกไม่ออกหรอกค่ะว่าใครมีรถดูดส้วมในชุมชนของเรา และสิ่งที่ทุกคนคิดและทำเหมือนกันหมดคือโทรไปหาเทศบาล โดยเฉพาะกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และบอกว่าต้องการดูดส้วมหรือขอเบอร์รถดูดส้วม😁และปกตินั้นถังส้วมก่อนทำการสูบ เจ้าของรถดูดส้วมมักถามเราว่าถังส้วมเรากี่คิว เพื่อนำมาคำนวณค่าจ้างสูบส้วมเบื้องต้น ปกติตามบ้านเราทั่วไปถังส้วมไม่ได้ใหญ่มากถึง 5 คิวค่ะ มากสุดประมาณ 3 คิว คำว่าคิวมีความหมายเดียวกับคำว่า คิวบิกเมตรหรือลูกบาศก์เมตร ให้ลองนึกภาพตามนี้ค่ะ สมมติเรานำสิ่งปฏิกูลจากถังส้วมมาตั้งบนดิน ถ้าสิ่งปฏิกูลสูง 1 เมตร และยาว 1 เมตร เราเรียกแบบนี้ว่า 1 คิว รถสูบส้วมคันใหญ่สุดประมาณ 5 คิว ถ้าบ้านเราถังส้วม 5 คิว รถต้องว่างก่อนสูบและสูบแล้วต้องเต็ม ถ้าไม่ได้เป็นไปตามนี้แสดงว่าโก่งราคาเอง🆗️แต่โดยทั่วไปผู้เขียนเห็นรถสูบส้วมขนาด 3 คิว และถ้าเขาบอกว่าส้วมเรา 5 คิวยังไงก็โกงชัดๆ ค่ะปกติที่ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์มานั้นที่บ้านสูบส้วมต่อครั้ง จ่าย 300-400 บาทขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันในตลาดช่วงนั้น ถามว่าแพงไหม!? ก็ตกประมาณคิวละ 150-200 บาท เพราะที่นี่ถังส้วมประมาณ 2 คิวค่ะ อาจขาดเกินนิดหน่อย 150 บาทถือว่ารับได้และสมเหตุสมผลค่ะ เพราะรถสูบส้วมบางพื้นที่เวลาเต็มต้องไปทิ้งของเสียไกล จึงมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นเราก็รู้กันค่ะ โดยเฉพาะในเมืองที่มีเส้นทางการจราจรยิ่งแตกต่างจากชนบทค่ะ🆗️เวลาดูดส้วมของหน่วยงานที่มีระบบบำบัดน้ำเสียเราจะดูดเฉพาะตะกอนหนักที่สะสมด้านล่างของถังเท่านั้น ซึ่งจะแตกต่างกับถังกรอะตามบ้านค่ะ โดยถังเกรอะตามสำนักงานต่างๆ หรือสถานที่ใหญ่ๆ นั้นถังเกรอะมีขนาดใหญ่มาก ถ้ารุ่นเก่าๆ ฝาปิดยก 3 คนยังจะไม่เปิดเลยค่ะ และน้ำที่ออกจากถังเกรอะนี้จะถูกรวบรวมเข้าท่อประธานของระบบรวบรวมน้ำเสียและไหลเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียต่อไปค่ะ เราจึงมองเห็นน้ำที่ไม่ใช่สิ่งปฏิกูลในท่อรับน้ำเสียแทน แต่ถังส้วมแบบซึมได้ตามบ้านมีความจำเป็นต้องดูดหมดทั้งถัง และถึงแม้ว่าจะดูดหมดแล้วก็ตามถังส้วมแบบซึมจะยังพบว่ามีน้ำไหลซึมเข้ามาในถังได้เหมือนเดิมเพราะส่วนหนึ่งมีเรื่องของน้ำใต้ดินโดยเฉพาะหน้าฝน แต่สถานการณ์นี้จะไม่ได้ทำให้ส้วมเต็มค่ะเราจะสามารถใช้ส้วมต่อไปได้อีกนาน โดยพอเข้าหน้าแล้งระดับน้ำดินก็จะลดลงมากและภายในถังก็เกิดการย่อยสลายสิ่งปฏิกูลแบบไม่ใช้อากาศเพื่อทำลายของเสียไปทุกวันและรอจนว่าจะได้สูบส้วมรอบใหม่ บางบ้านก็รอเป็นปีค่ะ เพราะบ้านของผู้เขียนสูบส้วมปีละครั้งค่ะ สูบส้วม 300-400 บาท ก็ตกวันละบาทนิดๆ ค่ะ ก็ไม่ถือว่าแพง😁ปกติเวลาเราเข้าห้องน้ำแล้วราดน้ำหรือกดชักโครกแล้ว สิ่งปฏิกูลทั้งหมดในแต่ละครั้งจะถูกรวบรวมเข้ามาในถังส้วมค่ะ ยกเว้นแต่ว่ามีคนทิ้งขยะเพราะขยะจะตันอยู่ระหว่างทางจากชักโครกมาถังส้วม ถ้าแบบนี้อาจต้องขอให้รถดูดส้วมช่วยดูดขยะที่อุดตันได้ แต่โดยทั่วไปถ้าไม่ได้ตันไม่มีความจำเป็นต้องไปดูดโดยตรงจากชักโครก เพราะน้ำที่ขังอยู่ในชักโครกเป็นน้ำคนละส่วนกับในถังส้วมค่ะ เพราะน้ำในคอห่านของส้วมหรือชักโครกทำหน้าที่ดักกลิ่น โดยกลิ่นที่ว่านี้คือกลิ่นจากถังส้วม ดักไว้เพื่อไม่ให้กลิ่นเหม็นย้อนกลับเข้ามาในอาคารค่ะ ดังนั้นจะดูดส้วมถ้าไว้ใจคนดูดส้วมหรือรู้จักกัน เจ้าของบ้านไม่ได้มีอะไรต้องทำนอกจากจ่ายเงินสดแต่สมัยนี้โอนจ่ายก็ได้ต่อให้กำลังเดินทางไปต่างจังหวัดค่ะ✅️และน้ำจากที่เราอาบน้ำ จากพื้นห้องน้ำตอนล้างห้องน้ำ จากอ่างล้างมือและอ่างหน้า น้ำเสียส่วนนี้ไม่ได้ถูกต้องเข้าถังส้วมนะคะ โดยน้ำเสียเหล่านี้ถูกรวบรวมเข้าสู่ท่อรับน้ำเสียรวมหรือรางรับน้ำเสียตามบ้านและน้ำเสียส่วนนี้ถูกนำไปบำบัดอีกครั้งโดยระบบบำบัดน้ำเสียของเทศบาล (ถ้ามี) ค่ะ ส่วนน้ำเสียในถังส้วมถูกกำจัดด้วยการซึม อ่านดีๆ นะคะ กำจัดไม่ใช่บำบัด คำว่ากำจัดง่ายๆ คือ ทำให้หายไป ส่วนการบำบัด คือ การทำให้ดีขึ้น พอจะมองเห็นภาพนะคะ 👌และทั้งหมดคือข้อมูลเกี่ยวกับการดูดส้วมและถังเกรอะตามบ้าน ที่หลายคนอาจสงสัยและมองภาพไม่ออกมาตลอด จึงหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านและช่วยไขข้อข้องใจกับคำถามเกี่ยวการดูดสิ่งปฏิกูลตามบ้านค่ะ และหากชอบบทความเกี่ยวกับอนามัยสิ่งแวดล้อมแบบนี้อีก อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่เร็วๆ นี้ค่ะ😁🆗️เครดิตภาพประกอบทความถ่ายภาพโดย ผู้เขียนออกแบบภาพหน้าปกใน Canvaบทความอื่นที่น่าสนใจการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศ กลิ่นเหม็นและแนวทางการแก้ไข5️⃣ ปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน ที่สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ทำไมส้วมเต็ม ปัญหาในบ้านช่วงหน้าฝนและหลักการจัดการสิ่งปฏิกูลในบ้านเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !