รีเซต

ลูกค้าไม่ขาดสาย 'ทุเรียนไทย' เนื้อหอมไกลถึงมหกรรมสินค้าจีน-อาเซียน

ลูกค้าไม่ขาดสาย 'ทุเรียนไทย' เนื้อหอมไกลถึงมหกรรมสินค้าจีน-อาเซียน
Xinhua
19 กันยายน 2565 ( 10:33 )
27
ลูกค้าไม่ขาดสาย 'ทุเรียนไทย' เนื้อหอมไกลถึงมหกรรมสินค้าจีน-อาเซียน

หนานหนิง, 18 ก.ย. (ซินหัว) -- เรียกความคึกคักและสีสันได้ไม่น้อยสำหรับพื้นที่จัดแสดงสินค้าของประเทศอาเซียน และประเทศสมาชิกความตกลงการเป็นหุ้นส่วนระดับภูมิภาค (RCEP) ณ มหกรรมแสดงสินค้า 'จีน-อาเซียน' (China-ASEAN Expo) ครั้งที่ 19 ที่เพิ่งเปิดม่านขึ้นที่ศูนย์การประชุมและนิทรรศการนานาชาติหนานหนิง นครหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงของจีน เมื่อวันที่ 16 ก.ย. โดยหนึ่งในบูธที่มีลูกค้าแวะเวียนมาไม่ขาดสายคือบูธผลิตภัณฑ์ทุเรียนไทย

 

หลังก่อตั้งเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน จีนและไทยแลกเปลี่ยด้านการค้ากันมากขึ้น ความต้องการทุเรียนของชาวจีนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทุเรียนสดและผลิตภัณฑ์ทุเรียนของไทยถูกขนส่งผ่านช่องทางต่างๆ สู่ซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วจีน และฮอตฮิตในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจีนไม่แพ้กันกัวเทา เจ้าหน้าที่บริษัทการรถไฟแห่งประเทศจีน สาขาหนานหนิง จำกัด กล่าวว่าการเปิดช่องทางขนส่งแบบบก-ทะเล ทำให้การขนส่งข้ามพรมแดนมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งได่ตอบโจทย์การขนส่งสินค้าปริมาณมากและการจัดส่งผลไม้สดก่อนหน้านี้ ทุเรียนไทยกว่าจะเข้าถึงเสฉวน ฉงชิ่ง และเมืองอื่นๆ ในภาคตะวันตกของจีน ต้องส่งทางทะเลไปยังเมืองท่าเรือในภาคตะวันออกก่อน แล้วส่งต่อผ่านเส้นทางภายในประเทศจีนอีก หลังจากการเปิดเส้นทางขนส่งแบบผสานทางรางและทางทะเลในจีนตะวันตกสายใหม่ ทางรถไฟจีน-เวียดนาม และรถไฟจีน-ลาว ทุกวันนี้ทุเรียนไทยเดินทางตรงถึงเสฉวนและฉงชิ่ง หรือกระทั่งภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนได้เร็วขึ้นหลังจากการบังคับใช้ความตกลง RCEP เมื่อ 1 ม.ค. ปีนี้ รถไฟบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ที่อัดแน่นด้วยทุเรียนไทย 17 ตู้ ก็วิ่งผ่านเวียดนามมาถึงด่านผิงเสียงในกว่างซี ด่านนำเข้าผลไม้ทางรถไฟแห่งแรกของจีน โดยจีนนำเข้าทุเรียนจากอาเซียน ผ่านเส้นทางรถไฟจีน-เวียดนามแล้วกว่า 14,000 ตัน เมื่อนับถึงวันที่ 16 ก.ย.ท่าเรือและท่าด่านต่างๆ ในกว่างซีเองก็เร่งปรับปรุงบริการด้านการขนถ่าย พิธีศุลกากร ค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ท่าเรือชินโจวในอ่าวเป่ยปู้ ซึ่งรองรับทุเรียนไทยเป็นประจำ ก็เพิ่งมีการรับทุเรียนจากท่าเรือแหลมฉบังของไทยจำนวน 50 ตู้ โดยเส้นทางขนส่งไทย-ท่าเรือชินโจว ให้บริการสัปดาห์ละสองครั้ง รอบที่เร็วที่สุดคือส่งถึงท่าเรือภายใน 4 วันเมื่อวันที่ 13 พ.ค. ทุเรียนไทยล็อตหนึ่งบินลัดฟ้ามาถึงสนามบินหนานหนิงหลังทำการบินเพียง 2 ชั่วโมง ซึ่งเป็นความสำเร็จด้านการบริหารจัดการของสนามบินฯ และทำให้ทุเรียนจากสวนในไทยสามารถมาโผล่ที่ตลาดจีนได้ใน 24 ชั่วโมงปัจจุบันท่าอากาศยานหนานหนิงมีเส้นทางขนส่งสินค้าไปยังอาเซียน 15 เส้นทาง และวางแผนสร้างศูนย์กระจายและแปรรูปอาหารสด รวมถึงมุ่งสร้างแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนที่ครอบคลุมสำหรับอาเซียน โดยอาศัยเครือข่ายการขนส่งของสนามบิน [caption id="attachment_308647" align="aligncenter" width="800"] (แฟ้มภาพซินหัว : ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์ทุเรียนไทย ณ มหกรรมแสดงสินค้า 'จีน-อาเซียน' ครั้งที่ 19 ซึ่งจัดที่ศูนย์การประชุมและนิทรรศการนานาชาติหนานหนิง นครหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน วันที่ 17 ก.ย. 2022)[/caption][caption id="attachment_308648" align="aligncenter" width="800"] (แฟ้มภาพซินหัว : พนักงานโชว์ผลิตภัณฑ์ทุเรียนไทย ณ มหกรรมแสดงสินค้า 'จีน-อาเซียน' ครั้งที่ 19 ซึ่งจัดที่ศูนย์การประชุมและนิทรรศการนานาชาติหนานหนิง นครหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน วันที่ 17 ก.ย. 2022)[/caption][caption id="attachment_308649" align="aligncenter" width="800"] (แฟ้มภาพซินหัว : ศูนย์การประชุมและนิทรรศการนานาชาติหนานหนิง นครหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน วันที่ 16 ก.ย. 2022)[/caption][caption id="attachment_308650" align="aligncenter" width="800"] (แฟ้มภาพซินหัว : มหกรรมแสดงสินค้า 'จีน-อาเซียน' ครั้งที่ 19 ซึ่งจัดที่ศูนย์การประชุมและนิทรรศการนานาชาติหนานหนิง นครหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน วันที่ 16 ก.ย. 2022)[/caption][caption id="attachment_308651" align="aligncenter" width="800"] (แฟ้มภาพซินหัว : ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์ทุเรียนไทย ณ มหกรรมแสดงสินค้า 'จีน-อาเซียน' ครั้งที่ 19 ซึ่งจัดที่ศูนย์การประชุมและนิทรรศการนานาชาติหนานหนิง นครหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน วันที่ 17 ก.ย. 2022)[/caption]

ข่าวที่เกี่ยวข้อง