ในประเทศไทยนั้นมีสมุนไพรต่าง ๆ มากมายหลายชนิด จนบางครั้งเราอาจไม่ทราบเลยว่าต้นไม้ที่ปลูกอยู่ในบริเวณบ้านเรานั้น บางต้นอาจเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณสามารถรักษาโรคได้ เพราะในปัจจุบันเรามีความรู้เรื่องพืชสมุนไพรน้อยมาก ทำให้มองข้ามคุณค่าของพืชสมุนไพรไป ผู้เขียนจึงพยายามรวบรวมข้อมูลของพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ มาบอกเล่าให้ทุกท่านได้ทราบถึงลักษณะของสมุนไพรแต่ละชนิด และคุณประโยชน์ต่าง ๆ ของพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นของเรา เพื่อหวังว่าจะทำให้ทุกท่านหันมาให้ความสนใจพืชสมุนไพรมากยิ่งขึ้น ในบทความนี้ผู้เขียนได้นำเอาข้อมูลของพืชสมุนไพรใกล้ตัวอีกหนึ่งชนิด มาบอกเล่าให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สมุนไพรชนิดนี้มีชื่อว่า “หมากเม่า” พันธ์ไม้ท้องถิ่นของไทยที่มีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวภาพถ่ายโดยผู้เขียน“หมากเม่า” จัดไม่ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่มีอายุยืนยาว ยิ่งมีอายุมากลำต้นจะยิ่งใหญ่และหนา ซึ่งเนื้อไม้ของมันนั้นจะแข็งมาก กิ่งของมันจะแตกออกเป็นพุ่ม มักจะขึ้นตามหัวไร่ปลายนาทั่วไป หรือในป่าดิบแล้ง จังหวัดที่พบหมากเม่าขึ้นมากนั้นคือจังหวัดกาญจนบุรี ใบของมันหมากเม่าจะมีสีเขียวสด เป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน ผิวของใบจะเรียบมันทั้งสองด้าน ลักษณะของใบจะเป็นรูปรีขอบสองข้างขนานมน ปลายใบแหลม ออกหนาให้ร่มเงาเป็นอย่างดี ดอกของมันจะออกตามซอกใบที่อยู่ปลายกิ่งเป็นช่อยาว มีขนาดเล็กสีเหลืองอ่อน ผลจะเล็กออกเป็นพวงโดยผลดิบจะมีสีเขียวรสชาติเปรี้ยวส่วนผลที่สุกแล้วนั้นจะมีสีแดงและม่วงดำมีรสชาติหวานและฝาด ภาพถ่ายโดยผู้เขียนสรรพคุณของ “หมากเม่า” แก้อาการซีดเหลือง โลหิตจาง แก้ปวดศีรษะ แก้โรคผิวหนัง แก้อาการฟกช้ำ แก้ช่องท้องบวม แก้อาการไข้ แก้กษัย บำรุงไต แก้อาการตกขาว แก้ปวดเมื่อย ผลหมากเม่ามีกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการมากถึง 18 และมีสารต่อต่านอนุมูลอิสระ ช่วยให้ผิดพรรณเปล่งปลั่งอยู่เสมอ มีวิตามินหลายชนิด และมีสารต่อต้านมะเร็งภาพถ่ายโดยผู้เขียนผลของ “หมากเม่า” นั้นสามารถทำมาแปรรูปรับประทานได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะทำเป็นน้ำหมากเม่า แยม หรือรับประทานสด ๆ ย่าของผู้เขียนมักจะทำน้ำหมากเม่าให้ดื่มบ่อย ๆ ซึ่งมีคุณประโยชน์สูงมาก และรสชาติก็กลมกล่อม เท่าที่ผู้เขียนทราบแล้วประโยชน์หลัก ๆ ของ “หมากเม่า” ก็จะอยู่ที่ผลของมัน หารักประทานบ่อย ๆ ก็จะช่วยให้ร่างกายต้านทานโรคได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ปู่ยังเคยนำรากและส่วนของลำต้น มาต้มเป็นยารักษาอาการกษัยเส้นให้กับเพื่อนบ้าน ซึ่งก็ได้ผลทำให้คนป่วยอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และนอกจากสรรพคุณทางสมุนไพรแล้ว เนื้อไม้ยังสามารถนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้อีกด้วยที่กล่าวมานั้นก็เป็นสรรพคุณของสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่มีคุณค่าเป็นอย่างมาก ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้ทำให้ทุกท่านหันมาให้ความสนใจกับพืชสมุนไพรมากยิ่งขึ้น และหากมีเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับพืชสมุนไพรอื่น ๆ ผู้เขียนก็จะนำมาบอกเล่าอีกในโอกาสต่อ ๆ ไปภาพถ่ายโดยผู้เขียน