Product Life Cycle หรือวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์นั้นเริ่มเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ จนกระทั่ง ออกจากตลาดไป ถ้าเปรียบกับชีวิตของคนเราก็เหมือนการเปรียบเทียบตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ จนกระทั่งวัยชรานั่นเองข้อดีของการทำความรู้จัก Product Life Cycle คือ เราจะได้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่เราใช้อยู่นั้นอยู่ในช่วงใด นำไปสู่การวางแผน วางกลยุทธ์ต่าง ๆ ในการทำการตลาดกับสินค้านั้น ๆข้อดีของการทำความรู้จัก Product Life Cycle คือ เราจะได้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่เราใช้อยู่นั้นอยู่ในช่วงใด นำไปสู่การวางแผน วางกลยุทธ์ต่าง ๆใน Product Life Cycle หรือ วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 4 ช่วงดังต่อไปนี้1.Introduction Stageเป็นช่วงแนะนำสินค้า เปรียบได้กับเด็กแรกเกิด หรือเด็กเล็ก ๆ ที่ยังไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ช่วงแนะนำสินค้าก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะทำกำไรได้มากน้อยแค่ไหน และเป็นเรื่องธรรมดาที่สินค้าอาจจะทำให้ขาดทุนในช่วงแรก ๆ เพราะใช้งบประมาณในการโปรโมทสินค้าสูง ในขั้นตอนนี้ให้มุ่งหวังในการสร้าง Awareness เป็นหลัก พยามทำความเข้าใจในหัวของลูกค้าว่าจะได้ประโยชน์อะไรจากการใช้งานสินค้าหรือบริการนี้ มากกว่าการไปโฟกัสที่ยอดขาย เพราะถ้าการสื่อสารคุณค่าประสบความสำเร็จ ยอดขายจะตามมาเอง2.Growth Stageช่วงเจริญเติบโต เปรียบได้กับวัยรุ่น เพราะเป็นช่วงที่มีพลัง สินค้าเป็นที่รู้จัก ยอดขายสินค้าในช่วงนี้ก็พุ่งกระฉูดที่สุดเช่นกัน ในช่วงนี้สิ่งที่สำคัญมาก ๆ คือ การสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง เพราะเมื่อสินค้าเป็นที่รู้จักมากแล้ว ก็จะเกิดการทำตาม เกิดคู่แข่งเป็นจำนวนมากเช่นกัน วิธีการสร้างความแตกต่าง ๆ หลัก ๆ คือการ “สร้างความแตกต่างทางอารมณ์” เพราะในด้านประโยชน์ใช้สอย ใคร ๆ ก็มีเหมือน ๆ กัน แต่อารมณ์ที่มอบให้กับลูกค้าจะสร้างความโดดเด่นไม่เหมือนใคร เช่น การให้บริการหลังการขาย โปรโมชันเสริมต่าง ๆ 3.Maturity Stageช่วงนี้ถือได้ว่าเป็น “จุดอิ่มตัว” ของการทำธุรกิจ เปรียบได้กับวัยผู้ใหญ่ที่มีความมั่นคงในชีวิตแล้ว ส่วนแบ่งการตลาดในช่วงนี้จะยังสูง แต่การทำกำไรจะไม่ได้เติบโตมากเท่า Growth Stage สิ่งที่ควรทำในช่วงนี้คือการรักษาฐานลูกค้าหรือ Market Share เอาไว้ และหาช่องทางใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการขยาย Product Line หรือลองหากลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ มากขึ้น4.Decline Stageช่วงนี้เรียกได้ว่าเป็นช่วงขาลงของสินค้า เปรียบได้กลับไม้ใกล้ฝั่งอย่างวัยชรา เป็นช่วงที่ยอดขายตกลง อาจเกิดจากสินค้านั้นล้าสมัย มีสินค้าใหม่ที่ตอบโจทย์ได้มากกว่ามาแทน หรือเกิดจากการบริหารที่ผิดพลาด ลองหาดูให้ดีว่าที่สินค้านี้เข้าสู่ช่วง Decline เป็นเพราะอะไร ถ้าไม่เลิกขาย ก็ยังวิธีรับมือกับสินค้าในช่วงนี้ด้วยกันอีกหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการลด แลก แจก แถมหนัก ๆ แบบไม่ต้องกลัวขาดทุน การปรับปรุงคุณภาพสินค้า หรือจะลองทุ่มเทพลังไปกับกับ “รีแบรนด์” อีกครั้งก็ได้ ซึ่งเรื่องของการรีแบรนด์จะพูดถึงในบทความต่อไปและนี่ก็คือเรื่องราวของ Product Life Cycle อย่าลืมว่าทุกอย่างนั้นมีวาระของมันเสมอ ของบางอย่างที่เคยขายดีในอดีต ปัจจุบันก็ไม่มีการพูดถึงแล้ว แต่ของบางอย่างที่เลิกใช้นานแล้ว กลับมาฮิตกันอีกรอบ ดังนั้นแล้วหากเราวางแผนดี ๆ และรู้ว่าสินค้าของตัวเองอยู่ในช่วงใดของ Product Life Cycle ก็จะทำให้เรารับมือต่อสถานการณ์ต่าง ๆ บนโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ดีขึ้นเครดิตรูปภาพ : https://www.pexels.com/ บทความโดย โอ้Facebook : fb.me/justlearntogetherYouTube : https://bit.ly/2PpkbZuIG : kanziri