สวัสดีครับวันนี้ผมจะมาแบ่งปันแง่มุมของธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนหลายท่านยังไม่รู้ หรืออาจจะเป็นเรื่องที่หลายท่านกำลังสงสัยอยู่ว่า “แท้จริงแล้วธรรมะคืออะไรกันแน่?” เพราะบางครั้งเราก็เคยได้ยินคำสอนที่ว่า ธรรมะคือการคิดดีทำดีและสั่งสมบุญบารมีในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เพื่อที่เวลาตายจะได้ไปอยู่ในภพภูมิที่ดี แต่ก็มีบางคำสอนที่เคยได้ยินมาว่าาธรรมะคือคำสอนที่ทำให้คนพ้นทุกข์และหยุดการเวียนว่ายตายเกิดได้ ซึ่งเป็นคำสอนที่ถูกต้องทั้งคู่เพียงแค่พูดกันคนละมิติโดยก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าธรรมะมี 2 แบบ คือโลกียธรรมและโลกุตรธรรมภาพจาก https://www.pexels.com/th-th/photo/750896/ โลกียธรรม คือ ธรรมะที่เกี่ยวข้องกับโลก เป็นธรรมที่ป้องกันทุกข์แต่ไม่สามารถหลุดพ้นทุกข์ได้ เช่น การทำงานด้วยความสุจริต การกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ความขยันหมั่นเพียร ซึ่งธรรมะแบบนี้เป็นความดีในอุดมคติ สอนให้คนเป็นคนดี มีความสุข เป็นธรรมะที่คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นแบบนี้ ภาพจาก https://www.pexels.com/th-th/photo/45178/ โลกุตรธรรม คือ ธรรมะที่ทำให้สิ้นจากการมีตัวตน เป็นธรรมที่สามารถทำให้พ้นจากความทุกข์ได้ เพราะความทุกข์ที่เกิดขึ้น มาจากการยึดมั่นในอัตตาว่ามี “ตัวกู ของกู” การที่จะดับทุกข์ได้ต้องดับภายในจิตใจของตัวเอง ธรรมะแบบนี้อยู่ภายใต้กฎของธรรมชาติอย่างแท้จริง และมันจะขัดแย้งกับคนส่วนมาก เช่น ความสุขเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะว่ามันจะทำให้เรายึดติดกับความรู้สึกนั้นและเมื่อใดที่สูญเสียมันไปก็จะกลายเป็นความทุกข์ได้ การที่จะหลุดพ้นคือต้องปล่อยวางจากความสุขนั้นได้ ไม่ยินดีหรือยินร้ายกับความรู้สึกที่เกิดขึ้น มองมันเป็นเพียงแค่อารมณ์ที่เกิดขึ้นในจิตขณะนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับเราภาพจาก https://www.pexels.com/th-th/photo/933622/ ธรรมะทั้งสองแบบนี้ไม่มีอะไรสำคัญกว่าอะไร และควรปฏิบัติให้ควบคู่กันในการดำรงชีวิต เพราะธรรมทั้งสองนี้เกี่ยวโยงกันการปฏิบัติโลกียธรรมถึงจุดหนึ่งโลกุตตระธรรมก็จะเกิดมาเองเมื่อเกิดโลกุตรธรรมขึ้นในใจแล้วโลกียธรรมก็จะแตกฉานขึ้น ทั้งสองส่วนนี้เกี่ยวโยงถึงกันและรวมกันเป็นหนึ่งเดียว หวังว่าบทความนี้จะให้ความรู้เรื่องธรรมะที่เป็นประโยชน์กับทุกท่านที่เข้ามาอ่าน และหวังว่าจะนำไปปฏิบัติควบคู่ไปกับการดำรงชีวิตของแต่ละท่านได้นะครับภาพปกจาก https://www.pexels.com/th-th/photo/biblia-1112048/