การสร้าง Content อาจไม่ใช่เรื่องยากสิ่งที่ยากคือ..สร้าง Content แบบไหนที่จะดึงดูดใจผู้บริโภคมากที่สุด!ต้องยอมรับว่าในปี 2020 พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ใช้เวลากับการเสพสื่อออนไลน์มากขึ้น ทำให้กลยุทธ์การตลาดที่เน้นเพียงความคุ้มค่าอาจดึงดูดได้ไม่มากพอ เพราะผู้บริโภคใน Social Media สนใจที่จะเสพ Story ใน Content มากขึ้น และมีผลต่อการตัดสินใจไม่ว่าจะในเชิงบวกหรือลบ จนอาจเรียกได้ว่า "Content is King!"ผู้ผลิตจากหลากหลายธุรกิจในตลาดอุตสาหกรรมต่างก็เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงข้อนี้ดี จึงหันมาให้ความสนใจกับการสร้างสื่อ Content มากขึ้น ตามแนวคิดการยึดผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง หรือที่เรียกว่า Customer-Centric คือการพยายามนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าน่าจะตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุดผ่านการสร้างสื่อ Content ซึ่งนับว่าเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ได้ผลดีทีเดียว แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ตลาดออนไลน์ต่างก็อุดมไปด้วย Content การแข่งขันก็ย่อมสูงขึ้นเป็นธรรมดาค่ะ ความท้าทายจึงกลายเป็นเรื่องของการที่จะทำยังไงให้ Content ของเรา สะดุดตา ดึงดูดใจ และโน้มน้าวใจผู้บริโภคมากกว่ากัน!แน่นอนว่าการสร้าง Content ที่หวังผลทางการตลาดนั้น ย่อมต้องมีการวางแผนก่อนสร้างและนำเสนอ เพื่อให้การสื่อสารนั้นได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด บทความนี้จะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักกับ 'Storytelling Canvas’ โมเดลสำหรับการวางแผนสร้าง Content ให้ดึงดูดใจกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเพิ่มยอดการเข้าถึงเนื้อหา รวมไปถึงเพิ่มโอกาสการตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้นค่ะ'Storytelling Canvas' เป็นโมเดลการสร้าง Content ที่ออกแบบโดยสำนักข่าวออนไลน์ชื่อดังและผู้ผลิตสื่อ Content ยอดนิยมในปัจจุบันอย่าง THE STANDARD นั่นเองค่ะ โดยบรรณาธิการบริหารของ THE STANDARD ได้เปิดตัว Storytelling Canvas เป็นครั้งแรกที่งาน Creative Talk Conference 2020 เมื่อวันที่ 19 มกราคม ที่ผ่านมา ซึ่งเจ้า Storytelling Canvas นี้ เป็นเครื่องมือช่วยสร้าง Content ที่ตอบสนองต่อแนวคิด Customer-Centric ได้เป็นอย่างดี และน่าสนใจมาก ๆ ในการนำมาประยุกต์ใช้กับการสร้าง Content ของเรา ไม่ว่าจะในรูปแบบไหน และทาง บก. ยังใจดีแจกไฟล์ Canvas ให้ทุกคนสามารถเข้าไปโหลดมาใช้กันได้ฟรี ๆ ด้วยล่ะค่ะสำหรับเพื่อน ๆ ที่สนใจ สามารถเข้าไปโหลดกันได้ที่ Link นี้เลย ---> Storytelling Canvas Downloadและนี่คือเค้าโครงของ Storytelling Canvas ดัดแปลงจากต้นฉบับที่ The Standard นำเสนอและเผยแพร่ให้โหลดใช้กันฟรีค่ะStorytelling Canvas Model เปรียบเสมือนเป็นเช็คลิสต์สำหรับวางแผนก่อนสร้าง Content หรืออาจเรียกว่าเป็นภาพร่างให้เราได้เห็นในภาพรวมได้ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น ว่าสิ่งที่เรากำลังจะสร้างสรรค์นั้น ต้องทำอะไรบ้าง อย่างไร และจะก่อให้เกิดผลกระทบและสร้างมูลค่าทั้งในเชิงลบและเชิงบวกยังไงได้บ้าง ซึ่งเมื่อเราสามารถมองเห็นภาพใหญ่ได้แล้ว ก็จะทำให้การวางแผนทำได้ง่ายขึ้น สามารถวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย รวมไปถึงจุดที่ยังขาด จุดที่สามารถเสริมเข้าไปให้น่าสนใจมากขึ้นได้นั่นเองค่ะ ไปดูกันค่ะว่า Storytelling Canvas มีองค์ประกอบแบบไหน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกันยังไงได้บ้างGoal : เป้าหมายในการเล่าเรื่อง เราอยากบอกอะไรกับผู้รับ เราอยากให้ผู้รับทำอะไรหลังจากได้รับรู้แล้วUnique Selling Point : มีอะไรที่แตกต่างจากคู่แข่ง และเป็นจุดแข็งที่ไม่สามารถเลียนแบบได้Target Audience : กลุ่มเป้าหมายคือใคร และอะไรคือเรื่องที่เขาอยากฟังChannel : จะใช้เครื่องมือ/รูปแบบ/ช่องทางในการสื่อสารแบบไหน ต้องตอบให้ได้ว่าทำไมต้องใช้รูปแบบนี้ มันดีกว่ารูปแบบอื่นอย่างไรMood & Tone : น้ำเสียง อารมณ์ ความรู้สึก ที่ต้องการสื่อให้ผู้รับได้รับรู้ เป็นแบบไหน เช่น ดราม่า ปลุกใจ อบอุ่น ผ่อนคลาย ฯลฯKey Message : ประเด็นสำคัญของเรื่องที่ต้องการสื่อสาร ข้อนี้ต้องเด่น ต้องเด้งออกมาให้ชัดเจน และควรมีความกระชับไม่เยิ่นเย้อค่ะ เพื่อไม่ให้ประเด็นที่จะสื่อมันหลุดลอยทะเลเกินไปจนผู้รับจับใจความไม่ได้Audience-Centric Check Point : ทำไมผู้รับถึงต้องอยากฟัง อยากดู หรืออยากอ่าน Content ของเรา หาเหตุผลให้ได้! (ข้อนี้เป็นข้อที่ไม่ง่ายเลยค่ะ เพราะหลายครั้งที่เราคิดว่าสิ่งที่เรานำเสนออกไปเป็นสิ่งที่ดีนะ มีประโยชน์นะ แต่กลับลืมคิดในมุมของผู้บริโภค ว่าเขามีความจำเป็นหรือมีอารมณ์ความต้องการอะไรที่จะต้องมาเสพ Content ของเราหรือเปล่า?น่าสนใจอย่างไร : ข้อนี้เป็นอีกหนึ่งข้อปราบเซียน ที่เราต้องมองในมุมผู้บริโภคนะคะ ว่า Content ของเรามันน่าสนใจยังไงมีประโยชน์อย่างไร : ผู้รับจะได้อะไรจาก Content นี้ (เป็นหนึ่งเหตุผลที่เขาจะตัดสินใจเสพเนื้อหาค่ะ)Before : เป็นการสำรวจตลาดก่อนหน้านี้ ว่ากลุ่มเป้าหมายเรามีพื้นฐานในสิ่งที่เรากำลังจะสื่อมากน้อยแค่ไหนIntroduction : การเกริ่นนำสำคัญมาก! เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคในทุกวันนี้ที่ค่อนข้างเน้นความรวดเร็ว มีการเลื่อน Feed เร็วขึ้น จดจ่อได้น้อยลง เพราะฉะนั้น Content ที่เราจะสร้าง ต้องสามารถหยุดนิ้วของผู้รับสารได้ การเกริ่นนำในช่วงต้นจึงสำคัญมาก!AHA! Moment : จุดไคลแมกซ์ของ Content เป็นจุดพีคสำคัญที่ต้องการสื่อสาร Key message หลัก ซึ่งต้องต้องมีความกระชับ สามารถทำให้รู้สึกว้าวและไปสะกิดบางอย่างที่เราต้องการตามเป้าหมายในข้อ 1 Conclusion : บทสรุปของ Content หลังจากที่สื่อสารมาทั้งหมด เราต้องการให้นำไปสู่อะไรต่อไปAfter : ข้อนี้จะเชื่อมโยงกับ Before ว่าหลังจากรับรู้ Content นี้แล้ว จะเกิดอะไรขึ้น/เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเพื่อน ๆ สามารถนำเค้าโครง Storytelling Canvas ไปประยุกต์ใช้กับรูปแบบ Content ของเราตามความเหมาะสมนะคะ โดยอาจไม่จำเป็นต้องทำตามองค์ประกอบทุกข้อ หากเราเป็นเพียง Micro Storyteller ไม่ได้วางแผนสำหรับกลยุทธ์ทางการตลาดแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มากมายขนาดนั้น แต่หลักการสำคัญของการเช็คลิสต์ก่อนสร้าง Content คือต้องมีความชัดเจนในสิ่งที่เราต้องการจะเล่าจะนำเสนอ และต้องมองในมุมมองของผู้บริโภคด้วยค่ะว่าต้องการรับรู้หรือไม่ เพราะอาจมีหลายครั้งที่เราตั้งใจสร้าง Content เพื่อมอบประโยชน์ แต่กลับไม่มีคนสนใจ ก็น่าเสียดายไม่น้อยเลย เพื่อไม่ให้การสื่อสารที่เราตั้งใจทำซะดิบดีต้องสูญเปล่าหรือได้ประโยชน์น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ลองนำไปปรับใช้กันดูค่ะไม่จำเป็นต้องวางเค้าโครงตาม Template ที่ Download มาก็ได้นะคะ อาจใช้เป็นกระดาษ Post-it เขียนแปะที่บอร์ดหรือผนัง หรือตามที่เพื่อน ๆ สะดวกเลยค่ะ สำคัญคือต้องทำให้เราสามารถเห็นภาพรวมของสิ่งที่เรากำลังจะสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ ซึ่งหลักการนี้สามารถนำไปปรับใช้กับเรื่องการวางแผนด้านอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันเราได้หลากหลายทีเดียวค่ะ ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการซื้อสิ่งของราคาแพงชิ้นหนึ่ง แต่ยังลังเล ลองนำคำถามบางข้อ จาก Cnavas มานั่งถามตัวเองดูนะคะ เป้าหมายการซื้อคืออะไร แตกต่างจากสิ่งเดิมไหม มีประโยชน์อย่างไร ฮ่า ๆ ๆ เมื่อมองเห็นภาพรวมแล้ว อาจจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นค่ะหากเพื่อน ๆ สนใจโมเดลการสร้าง Content นี้ สามารถเข้าไป Download Template ได้ที่ Storytelling Canvas ซึ่งในไฟล์ก็มีตัวอย่างกรณีศึกษาให้วิเคราะห์ก่อนนำมาปรับใช้กันด้วยค่ะ และหากบทความนี้มีประโยชน์ อย่าลืมเผยแพร่ออกไปให้คนอื่น ๆ ได้รับรู้ด้วยนะคะ :)เรื่อง : ดารัณ พันสวะนัด (ผู้เขียน)แหล่งอ้างอิงภาพประกอบ : ภาพปกจาก Canva / ภาพที่ 1 / ภาพที่ 2 โดยผู้เขียน / ภาพที่ 3