วิธีการเช็คมิเตอร์ไฟฟ้า ว่าเดือนนี้ใช้ไฟกี่หน่วย จากกรณี ที่ค่าไฟแพงขึ้น ในช่วงเดือนเมษายน นั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่า ประการแรกนั้น น่าจะเกิดจากเราใช้ไฟกันมากขึ้น เพราะอากาศร้อนจัดทำให้เราต้องเปิดแอร์เพื่อระบายความร้อน ต้องการให้อุณหภูมิภายในบ้านมีความเย็น การเปิดแอร์หลาย ๆ ชั่วโมง จะทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนัก และกินไฟมากกว่าการเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ การเปิดแอร์เพียงตัวเดียว 6 ชั่วโมง ก็กินไฟเกิน 800 หน่วยแล้ว ประการที่สอง เกิดจากเราเริ่ม Work From Home ตามนโยบายของรัฐคือ อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ทำให้เราต้องอยู่บ้านทำงานที่บ้านตลอดตั้งแต่เช้าจวบเย็น อุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าอื่น ๆ ถูกเปิดใช้งานเพิ่มขึ้นจากปกติ Notebook ก็ต้องเสียบใช้ไฟ โดยเฉพาะแอร์ เป็นตัวกินไฟที่สุด ประกอบกับการคิดค่าไฟ เป็นการคิดแบบอัตราก้าวหน้า บ้านไหนใช้ไฟมาก ค่าไฟก็จะสูงตาม ประการที่สาม น่าจะเกิดจาก Human Error คือคนที่มาจดตัวเลขมิเตอร์ไฟ ผู้เขียนเคยสงสัยว่าคนจดมิเตอร์มีการมั่วบ้างหรือไม่ โดยเฉพาะบ้านของผู้เขียนมิเตอร์อยู่ค่อนข้างสูง จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตัวเลขค่าไฟสูงกว่าปกติ เนื่องจากมีการจดผิดไป จนกระทั่งมีข่าวร้องเลียนกรณีดังกล่าว ประการสุดท้ายน่าจะเกิดจากไฟรั่ว อันนี้ยากเลย ถ้าไฟรั่ว กระแสไฟมันจะไหลลงดินเราเช็คยาก ต้องตามช่างสถานเดียว ไม่เหมือนกับน้ำถ้ารั่ว เราจะเห็นน้ำไหลนอง การที่ค่าไฟ ในเดือนเมษายน แพงขึ้น นั้น ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะเกิดจากสี่เหตุผลหลัก ที่ผู้เขียนกล่าวไปข้างต้น แต่เราสามารถเช็คค่าไฟได้จากมิเตอร์ที่ติดอยู่กับเสาไฟ ว่ามันทำงานเป็นปกติ หรือไม่ คือตัวเลขหมุนเร็วกว่าปกติ หรือไม่หมุนเลย วิธีการสังเกตมิเตอร์ไฟฟ้า ดูที่หน้าปัดมิเตอร์จะมีช่องที่เป็นตัวเลข 5 ช่อง แต่ละช่องก็จะหมุนไป ๆ จนครบรอบของมัน 0-9 ที่บ้านของผู้เขียนเป็นมิเตอร์ขนาด 15 แอมป์ รองรับกำลังไฟได้สูงสุด 45 แอมป์ (15(45) A) เป็นแบบเฟส 1 2 สาย (1 PHASE 2-WIRE) ซึ่งเราจะเห็นได้จากตัวมิเตอร์ไฟฟ้า วิธีการเช็คมิเตอร์ไฟฟ้าว่าเดือนนี้ใช้ไปกี่หน่วย สามารถทำได้โดยจดตัวเลขบนหน้าปัดมิเตอร์ที่อยู่บนเสาไฟ ซึ่งจะมีตัวเลข 5 หลัก ตัวเลขหลักสุดท้าย ทางด้านขวามือจะไม่นำเอามาคิด ตัวเลขบนหน้าปัดมิเตอร์ ณ วันที่ 29 เมษายน 2563 เวลา 12.00 น. ที่ผู้เขียนจดมาคือ 8 8 5 3 1 จากนั้นนำบิลค่าไฟเดือนเมษายน มาเปรียบเทียบ ให้ดูที่ช่องเลขอ่านครั้งหลัง คือ 8 4 3 3 ซึ่งพนักงานได้จดไว้ ณ วันที่ 8 เมษายน 2563 นำไปลบกับตัวเลขที่เราจดได้จากมิเตอร์เอาเพียง 4 หลักคือ 8 8 5 3 ลบกันออกมาจะได้เป็นจำนวนหน่วยที่เราใช้ไฟไปถึงวันที่ 29 เมษายน 2563 คือ 420 หน่วย (8,853-8,433) เมื่อทราบจำนวนหน่วยที่ใช้ไฟแล้ว เราเอามาคำนวณค่าไฟ โดยเข้าไปที่ Application ของการไฟฟ้านครหลวง (Smart Life) จากนั้น Click ที่ ขีด 3 ขีด ด้านบนซ้ายสุด แล้วเลือก คำนวณค่าไฟฟ้า จากนั้นเอาตัวเลข 420 มาใส่ในช่องจำนวนหน่วยที่ใช้ ระบบก็จะคำนวณค่าไฟฟ้าให้โดยอัตโนมัติ ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้ไฟไปจำนวน 420 หน่วย เป็นเงินจำนวน 1,735.83 บาท ณ วันที่ 29 เมษายน 2563 แต่เนื่องจากยังไม่ถึงรอบบิลคือวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 ซึ่งเหลืออีก 9 วัน กว่าจะถึงรอบบิล ค่าไฟคงเพิ่มขึ้นไปอีก ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอสรุปว่า การเช็คมิเตอร์ไฟฟ้าบ่อย ๆ และจดบันทึกหรือถ่ายภาพเก็บไว้ น่าจะเป็นวิธีการที่ Save ที่สุด เป็นการ Crosscheck ระหว่างพนักงานจดมิเตอร์กับเรา ตัวเลขถูกต้องตรงกันหรือไม่ อย่างน้อยการการเช็คมิเตอร์ไฟฟ้า ณ วันที่เราเช็ค เราสามารถประเมินค่าไฟฟ้าได้ล่วงหน้า โดยนำเอาตัวเลขจากมิเตอร์มาลบจากบิลเดือนก่อน ในช่องเลขอ่านครั้งหลัง เพียงแค่นี้ เราก็สามารถที่จะควบคุมการใช้ไฟฟ้าได้ โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เคยเปิดแอร์ วันหนึ่ง 6 ชั่วโมง อาจจะปรับเหลือเพียง 3 ชั่วโมงต่อวัน และเปิดพัดลมตั้งพื้นแทน และควรสังเกตตัวเลขมิเตอร์ไฟฟ้าด้วย เมื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าแล้ว ค่าไฟที่จ่ายในเดือนหน้าก็ไม่ควรจะสูงอีกต่อไป ถ้าสูงขึ้นอาจต้องเช็คสาเหตุอื่น ๆ อาจต้องเรียกช่างมาตรวจสอบว่าเกิดไฟรั่วหรือไม่ วันนี้สวัสดีครับสามารถโหลด Application ของการไฟฟ้านครหลวง (Smart Life) ระบบ Android และ ระบบ IOS หมายเหตุ : ภาพปก และภาพประกอบ 1-8 ถ่ายโดยผู้เขียน นามปากกา สมภัสสร (Sompussorn)