6 วิธีเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ในบ่อหรือตู้เลี้ยงปลา เพื่อไม่ให้ปลาตาย...อ่านเลย | บทความอนามัยสิ่งแวดล้อมโดย Pchalisaเวลาที่จะเลี้ยงปลาสวยงามหรือสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ที่เราชอบหรือต้องการจะเลี้ยงนั้น นอกจากชนิดของสัตว์น้ำจะเป็นสิ่งที่ต้องนำมาคิดแล้ว เรื่องแหล่งที่มาของออกซิเจนในน้ำก็กลายเป็นอีกหนึ่งอย่างที่จะลืมคิดไม่ได้ค่ะ เพราะปลาและสัตว์น้ำของเราเป็นสิ่งมีชีวิตและต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิตอยู่ และนออกเหนือจากอาหารปลาแล้ว ออกซิเจนที่ว่านี้ก็ต้องเป็นออกซิเจนที่อยู่ในรูปของออกซิเจนละลายน้ำด้วยนะคะ 🐡และใช่อยู่ว่าในบรรยากาศของเรานั้นมีออกซิเจนอิ่มตัวอยู่แล้ว แต่ปลาจะมีชีวิตอยู่ได้ ก็ต่อเมื่อเราต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้น้ำมีออกซิเจนละลายน้ำเพิ่มขึ้นค่ะ โดยการจะรู้ว่าน้ำมีออกซิเจนมากหรือน้อยนั้น เราสามารถตรวจสอบออกมาได้ด้วยการตรวจหาค่าดีโอ (Dissolved Oxygen; DO) แต่สำหรับคนที่ไม่มีเครื่องมือตรวจหาค่านี้ เราจะสังเกตได้จากการตายของปลาค่ะ เพราะหลายๆ ครั้งที่เราเห็นปลาตาย โดยส่วนใหญ่ออกซิเจนละลายน้ำที่ต่ำมักเป็นสภาวะแรกที่ทำให้ปลาตายค่ะ🐟เกี่ยวกับการเติมอากาศ ดูเพิ่มเติม : ทำไมต้องเติมอากาศให้กับน้ำ การเติมอากาศด้วยเครื่องเติมอากาศ กดอ่านเลย | บทความอนามัยสิ่งแวดล้อม โดย Pchalisaและเนื่องจากก่อนหน้านี้ผู้เขียนได้มีโอกาสเลี้ยงปลาทองมาก่อน ปลาหางนกยูงก็เลี้ยงนะคะ และปลาหมอสีก็เลี้ยง จึงได้รู้และได้เห็นว่าจริงๆ แล้วการจะเพิ่มออกซิเจนในน้ำต้องทำยังไงบ้าง ประกอบกับโดยส่วนตัวผู้เขียนมีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับการจัดการน้ำเสียที่อาศัยด้วยกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบใช้อากาศมาก่อน จึงสามารถมองภาพออกทันทีว่าจริงๆ แล้วออกซิเจนละลายในน้ำคืออะไรกันแน่ และแน่นอนว่าในบทความนี้ผู้เขียนก็ต้องการมาส่งต่อเกี่ยวกับ 6 วิธีเพิ่มออกซิเจนละลายในน้ำภายในบ่อหรือตู้เลี้ยงปลาค่ะ งั้นอ่านต่อกันเลยดีกว่า ✅️1. ต้องตรวจสอบระบบกรองน้ำให้มีประสิทธิภาพ โดยการตรวจสอบให้แน่ใจว่าตู้ปลาของเรามีระบบการกรองที่มีประสิทธิภาพนั้น ทำไปก็เพื่อรักษาคุณภาพน้ำให้เหมาะสมและไปสนับสนุนให้ปลาหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เรามีอยู่ในตอนนั้นในน้ำอยู่รอดค่ะ เพราะระบบกรองน้ำจะกรองเอาสิ่งสกปรกในน้ำออกไป และการที่น้ำในตู้ปลามีของเสียลดลงก็ส่งผลให้มีการใช้ออกซิเจนลดลงจากจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้อากาศที่ทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำตามธรรมชาติค่ะ จึงทำให้สภาวะของน้ำภายในตู้มีออกซิเจนอย่างเพียงพอและไม่ขาดอากาศ2. เติมอากาศโดยตรงด้วยเครื่องเติมอากาศ การใช้ปั๊มลมหน้าตาต่างๆ หรือเครื่องเติมอากาศที่เหมาะสมกับบ่อกลางแจ้ง สามารถใช้ได้ทั้งกลางวันและกลางคืนค่ะ โดยปั๊มลมแนะนำให้มีหัวกระจายลมที่อาจเป็นหินก็ได้ เพื่อกระจายลมจากท่อเติมอากาศไปยังน้ำ และทำให้น้ำเกิดเป็นละอองฝอยขนาดเล็กๆ นั้น มีส่วนไปเพิ่มการสัมผัสของออกซิเจนกับโมเลกุลของน้ำอย่างมาก จึงทำให้ออกซิเจนละลายมีเพิ่มมากขึ้นค่ะ ยิ่งเราสามารถทำให้น้ำในตู้ปลาหรือบ่อปลามีละอองฝอยขนาดเล็กได้มากเท่าไหร่ การละลายได้ของออกซิเจนก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็จะหมายถึงการมีออกซิเจนเพิ่มขึ้นมาทันทีต่อความจำเป็นที่ต้องใช้ของปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ ภายในบ่อค่ะ🐟3. ควบคุมอุณหภูมิของน้ำ คุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า? การรักษาอุณหภูมิของน้ำให้เหมาะสมทำให้การละลายได้ออกซิเจนทำได้ดีขึ้น โดยอุณหภูมิที่ร้อนของน้ำจะไปทำให้น้ำมีออกซิเจนต่ำกว่าปกติที่ควรจะเป็น เนื่องจากน้ำอุ่นจะกักเก็บออกซิเจนที่ละลายน้ำเอาไว้ได้น้อยกว่าค่ะ ดังนั้นอ่างปลาหรือตู้ปลาควรอยู่ในร่มและมีอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อควบคุมอุณหภูมิของน้ำ และสำหรับบ่อกลางแจ้งนั้นการมีหลังคาหรือการมีพืชลอยน้ำเพื่อปกคลุมผิวน้ำ มีส่วนทำให้ออกซิเจนสามารถละลายน้ำได้ดีกว่าจากร่มเงาที่ได้จากพืชน้ำ โดยส่วนตัวเคยสังเกตเห็นตัวปลาในธรรมชาติจะอาศันอยูาใต้พืชลอยน้ำมากกว่ากลางแจ้งค่ะ และการขุดบ่อลึกมากๆ ในบางแห่งก็เป็นอีกแนวทางง่ายๆ ค่ะ เพราะโดยธรรมชาตินั้นบ่อกลางแจ้งที่มีความลึกมาก น้ำชั้นล่างมักมีอุณหภูมิที่เย็นกว่าเมื่อเทียบกับอุณหภูมิที่ผิวน้ำในบ่อเดียวกัน 🆗️4. เพิ่มพืชน้ำเข้าไปในบ่อหรือตู้ จริงๆ แล้วที่เราเคยเห็นปลาตู้หลายๆ ที่มีพืชน้ำอยู่ในตู้นั้น จุดประสงค์แรกนั้นก็เพื่อเพิ่มออกซิเจนละลายน้ำในตู้ปลาค่ะ โดยเฉพาะช่วงกลางวันหากแสงแดดสามารถส่องถึงได้ แต่การเปิดไฟช่วยก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ไปกระตุ้นให้เกิดการสังเคราะห์แสงของพืชตามธรรมชาติได้ค่ะ และออกซิเจนคือผลผลิตสุดท้ายที่ได้จากการสังเคราะห์แสงจึงทำให้น้ำมีออกซิเจนเพิ่มขึ้นค่ะ โดยพืชน้ำที่ว่านี้ได้หมดทั้งพืชสะเทินน้ำสะเทินบก พืชลอยน้ำและพืชใต้น้ำ และยังมีความจำเป็นต้องผสมผสานพืชน้ำให้หลากหลายชนิดในตู้ด้วยนะคะ เพราะในบางครั้งพืชบางชนิดอาจตายไปเราจะได้ไม่สูญเสียการได้ออกซิเจนจากการสังเคราะห์แสงของพืชค่ะ🌿สำหรับบ่อกลางแจ้งนั้นแนะนำให้ใช้พืชลอยน้ำและพืชสะเทินบกสะเทินน้ำ เช่น จอกผักกาด ผักตบชวา พุทธรักษา ธูปฤาษี กกอียิปต์ เป็นต้น ส่วนตู้ปลานั้นพืชใต้น้ำเป็นพืชที่เหมาะสมที่สุดค่ะแต่ก็ยังสามารถใช้จอกผักกาดที่มีขนาดเล็กได้ แหนเป็ดเล็ก แหนเป็ดใหญ่หรือจะเป็นแหนแดงก็ได้ ในส่วนของพืชนี้หากพบว่าพืชเริ่มแก่จะต้องเก็บออก เพราะถ้าไม่เก็บออกจะมีของเสียเพิ่มขึ้น และจะทำให้มีเศษซากพืชตกตะกอนนอนก้นในตู้จำนวนมาก และถ้าเจอกรณีแบบนี้ก็ต้องกลับไปข้อ 1 ค่ะ เพื่อกรองของเสียออกจากตู้ปลา🆗️เกี่ยวกับพืชผักตบชวา ดูเพิ่มเติม: ผักตบชวา พืชน้ำบำบัดน้ำเสีย ประโยชน์และแนวทางการนำมาใช้ กดอ่านเลย | บทความอนามัยสิ่งแวดล้อมโดย Pchalisa 5. ควบคุมประชากรของสัตว์น้ำ เวลาที่เราพบว่าออกซิเจนละลายน้ำลดลงนั้นส่วนหนึ่งมักเกิดจากการมีสัตว์น้ำจำนวนมากเกินไป และสถานการณ์นี้เราเรียกว่า การมีประชากรของสิ่งมีชีวิตต่อพื้นที่มากกว่าที่ควรจะเป็นนะคะ และในภาษาอังกฤษเขาใช้คำว่า “Over population” ซึ่งการที่มีสิ่งมีชีวิตจำนวนมากมักส่งผลทำให้ออกซิเจนละลายน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการหันมาตรวจสอบและควบคุมจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตในตู้ปลา ก็เพื่อป้องกันการมีความแออัดยัดเยียดและมีความต้องการออกซิเจนสูงกว่าปกติค่ะ เมื่อนำปลามาใสาแค่พอดีๆ จึงจะทำให้ออกซิเจนคงเหลือในระบบเพิ่มขึ้นมาได้ทั้งๆ ที่ก็เป็นการเติมอากาศด้วยเวลาเท่าเดิมค่ะ🐠6. ลดปริมาณของสารอินทรีย์ในน้ำ การลดจำนวนของสารอินทรีย์ในน้ำมีส่วนทำให้ออกซิเจนละลายน้ำเพิ่มขึ้นได้ จากที่ลดการเกิดของกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำแบบใช้อากาศของจุลินทรีย์ค่ะ โดยการลดสารอินทรีย์ในน้ำสามารถทำได้หลายวิธีการนะคะ เช่น การไม่ปล่อยให้พืชน้ำแก่ตายและเน่าเปื่อยภายในตู้ การลดจำนวนประชากรปลาลงเพื่อควบคุมของเสียที่ปลาขับถ่ายออกมา การจัดตารางเพื่อดูดตะกอนก้นบ่อทิ้งเป็นระยะๆ การเพิ่มปลาบางชนิดลงไปที่เป็นปลาที่มีความสามารถกินเศษซากและตะกอนที่ก้นตู้ปลาหรือบ่อปลาค่ะ หรือจะเป็นการใช้น้ำที่สะอาดมากพอมาเติมลงไปในตู้ปลาหรือบ่อปลาตอนที่เปลี่ยนน้ำใหม่ 🦈เกี่ยวกับสารอินทรีย์ในน้ำ ดูเพิ่มเติม : สารอินทรีย์ในน้ำวัดด้วยค่าอะไร ค่า BOD เกี่ยวกับน้ำเสียอย่างไร กดอ่านเลย | บทความอนามัยสิ่งแวดล้อม โดย Pchalisaและนั่นคือแนวทางจากที่ผู้เขียนได้มีประสบการณ์มาค่ะ ซึ่งจริงๆ แล้วนอกจากตู้ปลาหรือบ่อเลี้ยงปลาจะสามารถประยุกต์ใช้ข้อมูลนี้ได้แล้ว ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อพักน้ำผันสภาพ ที่มีการเลี้ยงปลาไว้เพื่อกำจัดของเสียในน้ำนั้นก็ยังเอาหลักการนี้ไปใช้ได้ เพียงแต่ในกรณีนี้จะมีในส่วนของการเกิดของสาหร่าย (Algae) เพิ่มขึ้นมา ที่สามารถเพิ่มออกซิเจนละลายในน้ำได้จากกระบวนการสังเคราะห์แสงในช่วงกลางวันค่ะ ซึ่งสาหร่ายที่ว่านี้หมายถึงสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ที่เวลาเรามองลงไปในน้ำเราจะเห็นน้ำสีเขียวค่ะ และสถานการณ์ก็ยังสามารถพบได้ในบ่อเลี้ยงปลากล้างแจงด้วยนะคะ 🐟แต่ในตอนกลางคืนหรือตอนที่มีสาหร่ายเกิดมากเกินไป (Algae Bloom) แบบนี้ก็จะทำให้สารอินทรีย์ในบ่อมีมากกว่าปกติด้วยค่ะ โดยในกรณีนี้ผู้เขียนเลือกใช้พืชที่มีขนาดใหญ่มาเพิ่มลงในบ่อเพื่อควบคุมการเกิดของสาหร่ายตามธรรมชาติ เช่น ผักตบชวา จอกผักกาด เป็นต้นืและก็ขอจบเนื้อหาเกี่ยวกับ 6 แนวทางเพิ่มออกซิเจนละลายในน้ำไว้เพียงเท่านี้ค่ะ และผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านและทำให้มองเห็นภาพมากขึ้นนะคะ และถ้าชอบบทความแบบนี้อีกอย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้ค่ะเพราะจะได้ไม่พลาดบทความอื่นๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ😁🐠เครดิตภาพประกอบบทความภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหา ผู้เขียนออกแบบภาพหน้าใน Canva https://intrend.trueid.net/article/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5-trueidintrend_356925https://intrend.trueid.net/article/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99-2-trueidintrend_199690https://intrend.trueid.net/article/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2-%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8-trueidintrend_328084เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !