รถยนต์หรือเครื่องจักรที่ต้องการพลังงานจากแบตเตอรี่ในการสตาร์ทเครื่องยนต์และเพื่อชาร์จไฟกลับเข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่เหมือนเดิม จำเป็นจะต้องมีไดชาร์จที่ทำหน้าที่นี้ ซึ่งไดชาร์จที่ว่านี้ก็จะมีหลากหลายรูปแบบถ้าเป็นรถรุ่นใหม่ ๆทุกวันนี้ก็จะใช้ไดชาร์จที่เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์กันหมดแล้ว ซึ่งก็จะใช้ไดโอดมาทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นคัทเอาท์ไดชาร์จแทนนั่นเอง แต่สำหรับรถยนต์รุ่นแรกๆ ก็จะเป็นแบบคัทเอาท์ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้แหล่ะครับ ซึ่งบทความนี้จะพาทุกท่านมารู้จักกับคัทเอาท์ไดชาร์จและวิธีปรับตั้งคัทเอาท์ไดชาร์จรถยนต์ แก้ปัญหาไฟไม่ชาร์จเข้าแบตเตอรี่กันครับก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับไดชาร์จแบบไม่มีคัทเอาท์กันก่อนนะครับ ซึ่งไดชาร์จประเภทนี้จะมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่าแผงไดโอดเรียงต่อกันและติดตั้งไว้ในตัวไดชาร์จเลย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นี้ ทำให้การชาร์จไฟดีขึ้นอายุการใช้งานยาวนานไม่ต้องปรับตั้งใดๆ นอกเสียจากไฟเกิน ระบบไฟช็อต น้ำเข้าไดชาร์จได้และอายุการใช้งาน ถึงจะทำให้ไดชาร์จประเภทนี้มีปัญหาครับ หากไดชาร์จมีปัญญาก็ต้องถอดไดชาร์จออกมาตรวจเช็คครับ บอกได้เลยว่าถอดแต่ละครั้งค่อนข้างลำบากมากครับ ส่วนไดชาร์จที่เป็นแบบคัทเอาท์ จะถูกแยกออกมาคนละส่วนกันทำให้ง่ายต่อการตรวจเช็คบำรุงรักษา และปรับตั้งคัทเอานั่นเอง ปกติแล้วคัทเอาท์ไดชาร์จก็ไม่ได้เสียหรือพังกันง่ายๆ นะครับ ที่ผู้เขียนพบบ่อยที่สุดคือต้องปรับตั้งคัทเอาท์ใหม่ก็ใช้ได้ปกติแล้วครับ ว่าแล้วก็ไปดูวิธีการทำกันเลยครับเครื่องมือที่ต้องใช้ประแจบล็อคเบอร์ 12ไขควงแฉกคีมมัลติมิเตอร์วิธีการทำ1.วัดไฟที่เข้าแบตเตอรี่ขณะสตาร์ทเครื่องยนต์โดยใช้มิเตอร์วัดที่ขั้วแบตเตอรี่ปกติจะต้องได้ไม่ต่ำกว่า 13 VDC ขณะเครื่องยนต์ทำงานรอบเดินเบา หากต่ำกว่านี้ก็ไปลุยกันต่อเลยครับ2.ปิดสวิตช์กุญแจรถยนต์แล้วเปิดฝากระโปรงหน้าขึ้น ปกติแล้วคัทเอาท์จะถูกติดตั้งไว้ใกล้แบตเตอรี่ ให้สังเกตลักษณะเป็นกล่องโลหะสี่เหลี่ยมขอบมนเท่ากำมือเราครับและมีสายไฟต่อเข้า3.ใช้ประแจเบอร์ 12 คลายสกรูออกจะมี 2 ตัวแล้วยกขึ้นมา4.ใช้ไขควงแฉกคลายสกรูยึดฝาครอบออก แล้วเปิดฝาครอบออกจะเจอชุดขดลวดและหน้าสัมผัสภายในคัทเอาท์ครับ5.ให้ยึดคัทเอาท์ติดกับตัวถังรถเพื่อให้ครบวงจรแล้วสตาร์ทเครื่องยนต์6.นำมิเตอร์วัดไฟมาวัดค้างไว้ที่ขั้วแบตเตอรี่เพื่อดูค่าขณะปรับตั้ง โดยใช้สายปากคีบก็ได้ครับ ระวังขั้วบวกไปโดนตัวถังรถนะครับเดี๋ยวช็อตฟิวส์ขาดงานจะเข้าเอานะครับ7.ให้นำคีมมาหนีบขาของหน้าสัมผัสตามภาพเพื่อบิดออกให้ห่างจากหน้าสัมผัสเล็กน้อย ค่อยๆ บิดนะครับอย่าบิดเยอะเดี๋ยวไฟเกินมาก พร้อมกับดูที่มิเตอร์วัดไฟต้องได้ไม่ต่ำกว่า 13 VDC และไม่เกิน 14 VDC ขณะเครื่องยนต์รอบเดินเบา เสร็จแล้วดับเครื่องยนต์ประกอบกลับเป็นอันเสร็จขั้นตอนครับสาเหตุที่ต้องมาดัดขาหน้าสัมผัสนี้เพราะว่าการใช้งานของหน้าสัมผัสที่ยาวนานทำให้เกิดการอ่อนล้าของแผ่นแรงสปริง เราจึงต้องเพิ่มระยะห่างออกไปให้เกิดการเหนี่ยวนำเพิ่มขึ้นแรงดันไฟก็เลยเพิ่มขึ้นตามครับ เพื่อให้มีแรงเหนี่ยวนำให้หน้าสัมผัสมาแตะกับขาหน้าสัมผัสที่เราดัดไว้นั่นเองภาพโดยผู้เขียน7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์