สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า Data Studio คืออะไร เอาง่ายๆ มันคือเครื่องมือที่ใช้ทำ Data Visualization หรือการนำเอาข้อมูลมาผสมผสานกับจินตนาการ เพื่อสร้างภาพในความคิดขึ้นมา ผ่านกระบวนการนำเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อน ให้สามารถเข้าใจได้ง่าย ในแบบของ กราฟ หรือแผนภูมิ เป็นต้น และความพิเศษของเจ้าตัว Data Studio นี้ก็คือการที่มันสามารถนำข้อมูลจาก Google Sheet มา สร้างเป็น Data Visualization ได้อย่างง่ายๆ โดยวันนี้ ผู้เขียนจะมาแชร์เทคนิคการทำ Data Visualization โดยการใช้เครื่องมือ Data Studio เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินแบบคร่าวๆ ของตัวเอง ผ่านการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ใน Google Form สร้างฟอร์มเก็บข้อมูลการเงินในแต่ละวันการสร้างแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลการใช้งานในแต่ละวันถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะการที่เราจะทำ Data Visualization จำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลที่เพียงพอ ซึ่งการเก็บข้อมูลครั้งนี้จะใช้วิธีการสร้างแบบฟอร์มใน Google Form ขึ้นมา โดยการเพิ่มคำถามที่จำเป็น อาทิ วันที่ รายรับ รายละเอียดในการใช้เงิน ซึ่งจะเป็นเป็นหมวดหมู่ เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายอื่นๆ โดยที่คำถามเหล่านั้น จะต้องตั้งค่าให้จำเป็นต้องตอบคำถาม เนื่องจาก การทำ Data Visualization ใน Data Studio ข้อมูลจะต้องไม่ถูกเว้นว่างไว้ ถ้าไม่มีการใช้จ่ายในรายการนั้นๆ ก็แค่ในเลข 0 ส่วนการสรุปรายจ่ายในวันนั้นๆ เราไม่จำเป็นต้องลงข้อมูลไป เนื่องจากตัว Google Form สามารถดึงข้อมูลที่เราลงไป มาไว้ใน Google Sheet ทำให้การสรุปรายจ่าย จะเป็นหน้าที่ของ Google Sheetทั้งนี้ การออกแบบฟอร์มที่ดี และครอบคลุม ก็จะสามารถทำให้เราสร้าง Data Visualization ได้หลากหลายมากขึ้น เพราะถ้าข้อมูลไหนไม่ได้ใช้ ก็แค่เก็บไว้ ตราบใดที่พื้นที่ในไดรฟ์เรายังไม่เต็ม 15 GBตัวอย่าง ฟอร์มเก็บข้อมูล การเตรียมข้อมูลใน Google Sheetหลังจากลงข้อมูลการใช้เงินจนครบกำหนดแล้ว ซึ่งในตัวอย่างจะเป็นข้อมูลการใช้เงินในเดือน มกราคม เราก็สามารถดึงข้อมูลทั้งหมดมาได้ โดยการเข้าไปที่การตอบกลับ และเลือกคำสั่ง สร้างสเปรดชีต จากนั้นเราจะได้ข้อมูลทั้งหมดในรูปแบบของ Google Sheetพอได้ข้อมูลมาก็ให้ทำการเพิ่มคอลัมน์รวมข้อมูลรายจ่ายทั้งหมด โดยใช้สูตร SUM และในส่วนของรายรับ ก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน เพื่อความสะดวกในการทำข้อมูลไปสร้าง Data Visualizationข้อควรระวังในการเตรียมข้อมูลใน Google Sheet คือ การตั้งชื่อคอลัมน์ เพราะเมื่อหากตั้งชื่อคอลัมน์ซ้ำกันแล้วแล้ว ก็จะไม่สามารถดึงข้อมูลเพื่อมาทำ Data Visualization ใน Data Studioตัวอย่าง การเตรียมข้อมูล เลือกธีมให้โดดเด่นในการทำ Data Visualization โดยการใช้ Data Studio สิ่งแรกที่ควรทำหลังจากการเลือกเพิ่มข้อมูลลงในรายงาน นั่นคือ การเลือกธีม โดยการเลือกไปที่คำสั่ง ธีมและเลย์เอาต์ และธีมที่จะแนะนำวันนี้ คือ ธีมที่ชื่อว่า กลุ่มดาวฤกษ์ ซึ่งธีมที่แนะนำนี้จะมีพื้นหลังเป็นสีกรม (#2c2f38) ส่วนสีของแผนภูมิข้อมูลจะเป็นสีที่ตัดกัน เช่น สีฟ้า สีส้ม สีแดง และสีเขียว ทั้งนี้ ด้วนสีที่ตัดกันของพื้นหลังและข้อมูล ทำให้ Data Visualization นี้ดูสะดุดตาถ้าหากไม่ถูกใจ ธีมแลพเลย์เอาต์ที่ Data Studio จับคู่ไว้ให้ ผู้ใช้งานก็สามรถปรับแต่งธีมได้เองตามใจชอบ โดยการเลือกไปที่คำสั่ง ปรับแต่ง ซึ่งเป็นคำสั่งที่อยู่ในหมวดธีมแลพเลย์เอาต์ สร้าง Interactive ให้กับงานInteractive หรือ การสร้างปฏิสัมพันธ์ ซึ่งปฏิสัมพันธ์ในกรณีนี้ คือ ปฏิสัมพันธ์ของข้อมูลกับผู้รับสาร และในตัวอย่างนี้ เมื่อผู้รับสารเลือกข้อมูลใดใน Data Visualization ข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันก็จะแสดงผลตามมาด้วย ถือเป็นการเพิ่มลูกเล่นให้กับ Data Visualization ซึ่งวิธีทำ Interactive นี้ ทำได้โดยการกดคำสั่งเปิดใช้ฟังก์ชัน Interactions ของแผนข้อมูลทั้งหมดที่เรานำมาสร้างเป็น Data Visualization ทั้งนี้ ผู้เขียนขอแนะนำว่า ควรทำขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย เนื่องจากจะได้ไม่พลาดเชื่อมโยงข้อมูลส่วนใดไปตัวอย่าง Data Visualization สรุปการใช้เงินในเดือนมกราคม สุดท้ายนี้ แม้การทำ Data Visualization จะดูเหมือนเป็นเรื่องที่ยาก แต่ถ้าหากฝึกฝน และลองทำอยู่เสมอ ผู้เขียนเชื่อว่า จะต้องได้อะไรกับการทำ Data Visualization ไม่มากก็น้อย ส่วนตัวผู้เขียนเองมักใช้ Data Visualization ในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การหาข้อมูลเพื่อทำงาน หรือนำเสนอ Project เพราะเจ้า Data Visualization นี้ นอกจากจะเป็นการนำเสนอข้อมูล ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลไม่มีทางโกหก มันทั้งน่าเชื่อถือ และก็ทำให้ผู้ชมตื่นตาตื่นใจ เพราะความน่าสนใจของมัน ที่แปลกตาและแปลกใหม่ เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !