โลกนี้มีวิชาหลากหลายแขนงให้เลือกศึกษา ถ้าจะแบ่งแยกให้ง่ายๆ เราแบ่งออกเป็น 2 หมวดใหญ่ คือวิชาชีพ และวิชาชีวิต วิชาชีพนั้นแน่นอนมันมีความสำคัญมาก เพราะเป็นวิชาที่ต้องเรียนรู้เพื่อนำไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัว โดยอาศัยทักษะความชำนาญเพื่อให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนวิชาชีวิต เป็นศาสตร์ที่ไม่ได้ลงทะเบียนเรียน ไม่มีใบปริญญามอบให้ และเป็นการเรียนที่ไม่มีวันจบ เป็นวิชาที่ต้องอาศัยความเข้าใจ มุมมอง การเรียนรู้ และประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาทั้งจากตัวเราเองและผู้อื่นบางคนมีการศึกษาสูง ทำงานในตำแหน่งสำคัญ แต่ก็อาจด้อยการศึกษาในวิชาชีวิตได้ ซึ่งมีผลทำให้ชีวิตไม่ประสบความสำเร็จในบางอย่างได้ วิชาชีวิตจึงถือว่ามีความสำคัญไม่ด้อยไปกว่าวิชาชีพเลยหนังสือวิชาแรก วิชาชีวิต จึงเป็นการรวบรวมธรรมะบรรยายของท่าน ว.วชิรเมธี โดยมีเนื้อหาเน้นถึงการตระหนักถึงความสำคัญที่เราจำเป็นต้องขวนขวายเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา หากใครได้ศึกษาทั้งวิชาชีพและวิชาชีวิตแล้ว มักจะประสบความสำเร็จและมีความสุขกับการใช้ชีวิตเนื้อหาภายในเล่มบทที่ 1 วัฒนธรรมแห่งปัญญาว่าด้วยเรื่องของปัญญา ที่มาของปัญญา พร้อมทั้งกล่าวถึงหลักการของอริยสัจ 4 และทฤษฎี 7 ส.อีกด้วยบทที่ 2 สติมา ปัญญาเกิดปัญญามีรากฐานมาจากสติ สติจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะชีวิตคนเราไม่อาจรักษาสติอยู่กับตัวเราได้ตลอด การฝึกสติจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ในบทนี้จะเน้นด้วยเรื่องของสติบทที่ 3 หลักการคิดและการคบมิตรการได้คบมิตรที่ดี เป็นกัลยาณมิตรสามารถพลิกชีวิตคนเราให้ดีขึ้นได้ เราจะเห็นว่าเขาทำอย่างไรจึงมีชีวิตที่ดีขึ้น และไม่เป็นการชี้ทางให้ไปทำเรื่องทุจริต พร้อมทั้งให้หลักการโยนิโสมนสิการประกอบบทที่ 4 สำคัญที่การเรียนรู้ว่าด้วยเรื่องของการเรียนรู้ที่ไม่มีวันจบ ปริญญาทางโลกและทางธรรม และหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์บทที่ 5 รู้จักตัวเองหนทางของการค้นพบตัวเองนั้น ทาน ว.วชิรเมธีได้ให้หลักการไว้ คือ จริต 6 ได้แก่ ราคจริต โทสจริต โมหจริต พุทธิจริต ศรัทธาจริต และวิตกจริต เราสามารถพิจารณาตัวเองได้ว่าเราตรงกับจริตแบบไหนบทที่ 6 ความสุขและความสำเร็จในบทนี้จะมีนิทานเป็นการยกตัวอย่าง เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ได้แก่เรื่อง ตำนานไผ่โมโซ่ ตุ๊กตาดินเผาจีนบทที่ 7 คุณค่าของความทุกข์ว่าด้วยเรื่องของความทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นรากฐานแห่งทุกข์ส่วนใหญ่มาจากความคิด เทคนิคแก้ทุกข์ รู้ทันความรู้สึกทุกข์ด้วยการเจริญสติ เป็น้ตนบทที่ 8 เข็มทิศของปัญญาชนการเป็นคนที่มีปัญญาดีจะต้องไม่ละเลยถึงการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ไม่กลัวจะถูกใครมองว่าโง่ รู้จักตักตวงความรู้ไว้เป็นเสบียง และรู้คุณแผ่นดินบทที่ 9 ครูสอนคน คนสอนครูเมื่อคนเรามีความรู้แล้ว ต้องรู้จักถ่ายทอดความรู้นั้นด้วย มันจะเป็นประโยชน์อย่างมากทั้งผู้มอบความรู้และผู้รับความรู้ เพียงแต่การถ่ายทอดความรู้นั้นต้องสอนให้เป็น และสอนด้วยความเมตตาข้อคิดที่ได้ภายในเล่มอริยสัจ 4 ประกอบด้วย ทุกข์ คือปัญหา เป็นสิ่งที่ควรศึกษา สมุทัย คือสาเหตุของปัญหา นิโรธ คือเป้าหมาย เป็นสิ่งที่ควรละ มรรค คือวิธีการ เป็นสิ่งที่ควรลงมือปฏิบัติปัญญา มีอยู่ 2 อย่างด้วยกัน คือ พุทธิปัญญา เป็นปัญญาระดับสมอง คิดวิเคราะห์เก่ง วางแผนเป็น แต่เมื่อเกิดกิเลสขึ้นมาแล้วจะจัดการกับมันไม่ได้เลย และโพธิปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการตื่นรู้ ที่เรียกว่า เจริญสติ ปัญญาชนิดนี้มีอยู่แล้วในตัวเราทุกคน ด้วยการตามดู ตามรู้ ตามเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม ในตัวเรานกไม่มีขน คนไม่มีเพื่อน ขึ้นที่สูงไม่ได้ ฉะนั้นต่อให้เราเป็นคนเก่งแค่ไหนถ้าไม่มีเพื่อนที่เป็นคนดีก็ยากที่จะประสบความสำเร็จได้ เพื่อน มีอยู่ 3 ประเภทบาปมิตร คือ เพื่อนชั่ว การแสดงตัวของเขาจะดูดี ทั้งการพูด การแต่งตัว วางตัว ยกเว้นใจที่ตรงกันข้ามกัลยาณมิตร คือ เพื่อนแท้ เป็นคนจิตใจดีมาก ไว้ใจได้ มีสุขร่วมเสพ มีทุกข์ร่วมต้าน น่าคบหาพันธมิตร คือ เพื่อนผู้ร่วมผลประโยชน์ จะคบกันได้ดีเมื่อผลประโยชน์ลงตัว ถ้าผลประโยชน์ไม่ลงตัวก็จะเล่นงานกันเอง พันธมิตร คบได้ แต่ต้องระมัดระวัง เพราะคนที่ทำอันตรายต่อเราได้มากที่สุด คือคนที่เรารู้จักดีที่สุดด้วยเหตุนี้ เมื่อคบหากับใครสักคนแล้วเข้าข่ายในด้านไหน เรามีหน้าที่ตัดสินใจต่อว่าควรจะทำอย่างไรกับมิตรของเราในชั่วชีวิตหนึ่งเราต้องมีทั้งโยนิโสมนสิการ (การรู้จักคิด) และกัลยาณมิตร เราต้องแสวงหาสองสิ่งนี้ให้ได้ ปกติเรามักมุ่งแต่แสวงหาเงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศ อำนาจ กามารมณ์ ซึ่งไม่ได้ประเสริฐเลิศล้ำเท่าไหร่ เพราะความสำเร็จทางโลกบางครั้งมันก็ไม่เที่ยง แต่การมีโยนิโสมนสิการกับกัลยาณมิตรจะช่วยชี้ทางให้ชีวิตได้ยั่งยืนกว่าราคจริต คือ รักสวยรักงาม ความคิดสร้างสรรค์ทำให้ทำงานศิลป์ได้ดี ข้อเสียคือตัดสินใจช้า โทสจริต คือ มักเป็นคนฉุนเฉียวง่าย ข้อดีคือตัดสินใจได้เร็ว กล้าเสี่ยง โมหจริต คือ มักเป็นคนงมงาย เชื่อคนง่าย ข้อดีคือจะเป็นลูกน้องที่ดี ข้อเสียคือเป็นเจ้านายที่แย่ พุทธิจริต คือ รู้จักคิดแตกฉาน เป็นนักวิจัย นักวิชการที่ดี ข้อเสียคือไม่มีอารมณ์ขัน ศรัทธาจริต คือ คนที่เชื่อผู้อื่นง่าย ถูกหลอกง่าย ข้อดีคือเป็นนักเสียสละ นักอุดมคติ วิตกจริต คือ คนที่มักย้ำคิด ย้ำทำ ข้อดีคือ ระมัดระวังสูง ข้อเสียคือทำงานช้า ไม่ทันการณ์ในฐานะของผู้บังคับบัญชา ถ้าเข้าใจจริตของลูกน้องแล้ว การสั่งการมอบหมายหน้าที่ให้เข้ากับจริตก็ย่อมมีโอกาสให้งานนั้นประสบความสำเร็จสูงกว่าจะเห็นได้ว่าแนวคิดที่ได้ภายในเล่มส่วนใหญ่จะเน้นการทำความรู้จักตัวเองเพื่อให้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาตัวเอง บางเรื่องสามารถปฏิบัติตามได้ง่าย แต่บางเรื่องก็ยากจะปฏิบัติได้ทันทีจึงนับว่าเป็นแนวทางสำคัญที่เราต้องศึกษาไว้และไม่ละเลยแนวทางดังกล่าวไปเสียก่อนนี่คือหนังสือที่เรียกได้ว่าเจาะลึกถึงวิชาชีวิตได้อย่างน่าสนใจ เพราะการจะประสบความสำเร็จในชีวิตนั้น ต้องประสบความสำเร็จทั้งทางโลกและทางธรรม เราจะรู้สึกรักตัวเองได้มากขึ้น ถ้าเรามีหน้าที่การงานที่ดี และยังรักษาความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวให้อบอุ่นแน่นแฟ้นพร้อมกันอีกด้วย อาจมีหนังสือไม่กี่เล่มที่พูดถึงวิชาชีวิต หนังสือเล่มนี้คือหนึ่งในนั้นเครดิตภาพภาพปก โดย Jamie Street จาก Unsplash.comภาพที่ 1 และ 2 โดยผู้เขียนภาพที่ 3 โดย Ravi Roshan จาก Unsplash.comภาพที่ 4 โดย Benjamin Child จาก Unsplash.com บทความอื่นๆที่น่าสนใจวิธีการดูดวงเลข 7 ตัว 4 ฐานกลยุทธ์ในการปรับตัวเมื่อเผชิญหน้ากับเหล่า Toxic Peopleรวมภาษิตอังกฤษ เป็นกำลังใจทุกความเจ็บปวดเสน่ห์อย่างชาย เสน่ห์อย่างหญิงอัปเดตข่าวสาร และแหล่งเรียนรู้หลากหลายแบบไม่ตกเทรนด์ บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !