โรงงานคิวแน่น! ไทยอาจเลื่อนทดลอง "วัคซีนโควิด" ในคน

วันนี้( 17 พ.ย.63) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ได้จัดกิจกรรมทอล์กออนไลน์ โควิดมาราธอน: ห่างกันไว้...แต่ไปด้วยกัน เปิดเวทีการทอล์คในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนได้รับฟังความรู้ แก้ไขความเข้าใจ รวมทั้งตั้งความคาดหวังอย่างถูกต้องเกี่ยวกับโควิด-19หนึ่งในนั่นคือการเสวนา เรื่อง วัคซีนโควิด-19 ด้วย
นพ. นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ระบุภายหลังเสวนาถึงความคืบหน้าวัคซีนโควิด-19 ในไทยว่า วัคซีนต้นแบบ mRNA ของจุฬาฯ อาจต้องเลื่อนแผนการทดลองในมนุษย์ ระยะ 1 จากปลายเดือนมกราคมไปประมาณ เดือนมีนาคม หรือ เมษายนปี 2564 เนื่องจากต้องรอโรงงานต่างประเทศในการผลิตวัคซีนต้นแบบ mRNA ที่ตอนนี้มีหลายประเทศจ่อคิวเช่นเดียวกัน
โดย 26 พ.ย. นี้ ไทยเตรียมเจรจากับบริษัทไฟเซอร์ ซึ่งได้ส่งชุดคำถามไปเรียบร้อยแล้ว กรอบการพูดคุยคงเป็นการจัดหาซื้อวัคซีนมากกว่าหากประสบความสำเร็จในอนาคต แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาข้อมูลอย่างละเอียดอีกครั้งว่า จะสามารถนำวัคซีนมาใช้ในประเทศได้หรือไม่ ซึ่งต้องปลอดภัยต่อคนไทยโดยวัคซีนแต่ละชนิดก็จะมีข้อจำกัด
สำหรับการที่ บริษัท Moderna และบริษัท ไฟเซอร์ ประกาศประสิทธิผลของวัคซีนชนิด mRNA ออกมานั้นแล้วได้ผลดีกว่าร้อยละ 95 และร้อยละ 90 สิ่งที่ต้องดูและติดตามต่อคือ ประสิทธิผลของวัคซีนนั้นจะอยู่นานหรือไม่ และมีภูมิคุ้มกันมากน้อยขนาดไหนรวมถึงความปลิดภัย
เบื้องต้นวันนี้คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณ สำหรับการจองวัคซีนล่วงหน้ากับบริษัท แอสต้า ซิลิก้า ซึ่งให้ทางสถาบันวัคซีนแห่งชาติและกรมควบคุมโรคไปดำเนินการ
ซึ่งการจองวัคซีนนั้น ต้องบอกว่า ตอนนี้ทั่วโลกยังไม่มีวัคซีนป้องกันโควิด19 ที่ขึ้นทะเบียนและปลอดภัย ซึ่งการจองวัคซีนถือว่ามีความเสี่ยง หากวัคซีนที่จองไม่ประสบความสำเร็จอาจต้องเสียค่าจองล่วงหน้า แต่เมื่อเทียบกับโอกาสการได้รับวัคซีนที่เร็วขึ้นของคยไทยแม้ว่าเสี่ยงแต่ก็คุ้มค่าที่รัฐบาลยอมลงทุน
ขณะที่ประเทศจีนได้มีการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19อย่างต่อเนื่อง มีการขึ้นทะเบียนเร่งด่วนเพื่อใช้ในประเทศ เช่นเดียวกับประเทศรัสเซีย ที่ยังไม่มีวัคซีนที่ขึ้นทะเบียนเต็มรูปแบบ แต่ก็ใช้วิธีการขึ้นทะเบียนแบบฉุกเฉิน
ด้าน ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า หลังจากที่พัฒนาวัคซีนชนิดmRNA ในสัตว์ทดลอง ผลปรากฏว่า มีภูมิต้านทานดีจะเริ่มเข้าสู่การเข้าการทดลองในคนระยะที่ 1 ในอาสาสมัคร 72 คน ในช่วงเดือนเมษายนหลังสงกรานต์ เนื่องจากต้องรอโรงงานในการผลิตวัคซีน
ทั้งนี้ เมื่อทดลองในคนระยะที่ 1 สำเร็จคาดว่าจะทดลองในคนระยะที่ 2 ในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ต่อ หากทดลองสำเร็จได้ประสิทธิผลก็จะไม่ทดลองในระยะที่ 3 เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับต่างประเทศ ที่พัฒนาและได้ผล
สำหรับการเก็บข้อมูลในระยะ1และระยะ2 จะ จะดูวถึงปริมาณวัคซีนว่าคนไทยต้องได้รับกี่โดส ปริมาณเท่าไหร่ ถึงจะมีความปลอดภัยและกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี เนื่องจากพันธุกรรมของคนไทยและคนต่างชาติ มีความต่างกัน การใช้วัคซีนแต่ละโดสในการรักษาจึงต่างกันด้วย รวมถึงไทยอยู่ระหว่างเตรียมโรงงานผลิต ด้วยเทคโนโลยีmRNA ซึ่งเป็นเทคโนฌลยีใหม่ คาดว่าไทยจะสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19 ใช้เองได้ภายในปลายปี 2564
ทั้งนี้ นพ.เกียรติ ยังบอกถึง ข่าว ที่บริษัท modena และไฟเซอร์ประสบความสำเร็จเบื้องต้นในการพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิผลถึงร้อยละ 90 และร้อยละ 95
รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม
สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
WHO เบรก อย่าเพิ่งวางใจข่าวดีเรื่องวัคซีนโควิด-19
อีกหนึ่งความหวัง! วัคซีนของ "โมเดอร์นา" ป้องกันโควิดได้กว่า 94%
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE
Tag
ยอดนิยมในตอนนี้
