รีเซต

ปตท. มุ่งเทรนด์พลังงาน "Go Green - Go Electric" ลุยลงทุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

ปตท. มุ่งเทรนด์พลังงาน "Go Green - Go Electric" ลุยลงทุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
มติชน
3 พฤศจิกายน 2564 ( 12:40 )
47
ปตท. มุ่งเทรนด์พลังงาน "Go Green - Go Electric" ลุยลงทุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

ข่าววันนี้ เวลา 09.40 น. วันที่ 3 พฤศจิกายน นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวในสัมมนา “Boost Up Thailand 2022” รูปแบบไลฟ์สตรีมมิ่งผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ “พลิกธุรกิจ สู้เศรษฐกิจหลังโควิด” จัดขึ้นโดยหนังสือพิมพ์มติชน ว่า แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมพลังงงาน คือ “Go Green” และ “Go Electric” ซึ่งโก กรีน คือจาก เดิมใช้พลังงานฟอสซิล ในระยะยาวกลายเป็นการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนด้าน โก อิเล็กทิกส์คือ การใช้ไฟฟ้าที่สะดวกและสะอาดเพราะตัวที่จะผลักดันคือ การใช้รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) และ การพัฒนานวัตกรรมของแบตเตอรี่

 

มีการคาดการณ์ว่า จุดสูงสุดของน้ำมันโลก คือปี ค.ศ.2025 และจะค่อยๆลดลงเรื่อย ส่วนแนวโน้มของการใช้ก๊าซธรรมชาติของโลก ยังโตอย่างต่อเนื่องจนถึง ปี ค.ศ.2040 เพราะว่าก๊าซเป็นการใช้พลังงานจาฟอสซิลที่สะอาดที่สุด และทั่วโลกก็มีการลงทุนในด้านนี้จำนวนมาก ดังนั้นก๊าซธรรมชาติ จะเป็นพลังงานในช่วงเปลี่ยนผ่าน ก่อนที่จะเป็นพลังงานทดแทนอย่างเต็มรูปแบบ สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยที่มีผลต่อกลยุทธ์ การทำงานของบริษัทน้ำมัน หรือของ ปตท.เอง

 

 

โดยหลายประเทศประกาศจุดยืนพลังงานของตัวเอง ด้านประเทศไทยมีการประกาศจุดยืนว่าในปี 2065 จะมุ่งสู่การเป็นเป็น Net Zero จึงทำให้บริษัทพลังงาน ต่างเริ่มหันไปลงทุนด้านพลังงานทดแทนมากขึ้น ทั้งนี้ ปตท.ได้ปรับตัวครั้งใหญ่เช่นกัน โดยปรับวิสัยทัศน์ ขององค์กร “powering life with future energy and beyond” หรือ “ขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังงานแห่งอนาคต” ถือเป็นจุดมุ่งหมาย มุ่งไปสู่พลังงานของอนาคต ยังคงสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทย ส่วนบียอน (Beyond)  จะเป็นการขัยเคลื่อนออกไปนอกเหลือจากพลังงานมากขึ้น

 

 

อนาคตพลังงานจะเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ ทาง ปตท.เองจะเข้าไปเสาะแสวงหาพลังงานเหล่านี้ด้วย ไปหาแหล่งการผลิต เพราะเมื่อโลกเปลี่ยน ไทยเราก็ต้องเปลี่ยนแปลงตามด้วย ส่วนด้านบียอนนั้น จะเป็นตัวที่พาประเทศไทยไปถึงจุดที่สร้างอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) อีกขั้นของการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยสิ่งเหล่านี้ต้องการการลงทุน การผลักดัน จากหลายภาคส่วนทั้ง ภาครัฐ และภาคเอกชน ที่ไม่ใช่เพียงรายใดรายหนึ่ง เพราะฉะนั้นต้องช่วยกัน

 

ธุรกิจพลังงานอนาคตของปตท.จะมุ่งไปที่พลังงานทดแทน และแบตเตอรี่ หรือ ตัวกักเก็บพลังงาน เนื่องจากพลังงานทดแทนมีข้อเสียคือ เรื่องความไม่เสถียร เพราะลมหรือแดดไม่ได้มีตลอดเวลา ดังนั้น ตัวที่จะทำให้พลังงานทดแทนมีความนิ่งได้ก็คือ เทคโนโลยีการกักเก็บพลังงาน หรือแบตเตอรี่ ด้านรถยนต์อีวี ถ้าใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนได้ จะเป็นส่วนช่วยให้ประเทศไทยขับเคลื่อนสู่พลังงงานมากขึ้น รวมทั้งมีการศึกษา พลังงานไฮโดรเจนด้วน

 

ส่วนบียอนนั้นจะมีพื้นที่ที่จะเข้าไปศึกษาและลงทุน ได้แก่ วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต (life science) ธุรกิจเรื่องสุขภาพ เรื่องยา เครื่องมือทางการแพทย์และอาหารเสริม อีกส่วนคือสินค้ามูลค่าสูง เป็นการต่อยอดจากปิโตเคมี โดยพลาสติกที่มีมากกว่าพันชนิด ซึ่งปตท. จะไปลงทุนในกลุ่มสินค้าพลาสติกที่ใช้เทคโนโลยีสูงๆมากขึ้น  อาทิ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และด้านไลฟ์สไตส์ ที่จะทำการลงทุนมากขึ้น โดยอาร์โอ ก็เพิ่งเข้าตลาดหลักทรัพย์ไป ดังนั้นก็ต้องปรับตัวจากที่ทำธุรกิจด้านน้ำมันอย่างเดียว ไปสู่ธุรกิจไลฟ์สไตส์เพิ่มขึ้น รวมทั้งการลงทุนพัฒนาด้านโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟรางคู่ เป็นต้น เทคโนโลยีเอไอ หุ่นยนต์ ดิจิทัลด้วย โดยบียอนมาจากเป้าหมายอุตสาหกรรมใหม่ ปตท.จะเข้าไปมีส่วนในการลงทุนนี้ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง