วันหยุดนี้ผมได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ หรือที่เราเรียกว่าย่อ ๆ ว่า "ท้องฟ้าจำลอง" ซึ่งตั้งอยู่ ณ ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร มีเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์มากมายให้เราได้ศึกษาและหาคำตอบเกี่ยวกับท้องฟ้า อวกาศ รวมถึง เทคโนโลยีในการท่องไปในอวกาศ มีคำตอบรอท่านอยู่ ตามผมมาเลยครับ เรามาเริ่มต้นที่ ระบบสุริยะซึ่งมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบฯ โลกและดวงจันทร์จะโคจรรอบดวงอาทิตย์ ตามข้อมูลที่ผมเคยทราบมา โลกจะโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นเวลา 365 กับอีกเศษหนึ่งส่วนสี่วัน ดังนั้น ในทุกสี่ปีจะมีหนึ่งปีที่มี 366 วัน ซึ่งในปีนั้นเดือนกุมภาพันธ์ จะมี 29 วัน ครับภาพส่วนประกอบภายในของดวงอาทิตย์ภาพของอุกาบาต ซึ่งตกลงมาจากอวกาศ เมื่อผ่านชั้นบรรยากาศของโลก จะเกิดการเผาไหม้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะมีหลุมอุกกาบาตหลายแห่งบนโลกใบนี้โดยขนาดของหลุมอุกกาบาตจะใหญ่มาก ๆ แต่เมื่อตดลงมาถึงพื้นโลกแล้วก้อนอุกกาบาตจะถูกเผาไหม้เกือบหมด คงเหลือก้อนขนาดเล็กเท่านั้น ในส่วนต่อไปจะเป็นการจัดแสดงนิทรรศการยุคการกำเนิดสิ่งมีชีวิตและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลกครับ ในส่วนต่อไปจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของพืชและสัตว์น้ำทะเล และเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับโลกของแมลง รวมถึงการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ครับ ท้องฟ้าจำลองแห่งนี้เป็นศูนย์รวมแห่งความรู้มากมาย ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา ดาราศาสตร์ เทคโนโลยีด้านอวกาศ รวมถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ตั้งแต่ยุตกำเนิดโลกกระทั่งถึงยุคอวกาศกันเลยทีเดียวครับ ท้องฟ้าจำลองเปิดทำการวัน อังคาร ถึงวันอาทิตย์ เวลา 09.30 น.- 16.30 น. วันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ปิดทำการครับ ค่าบัตรเข้าชมนิทรรศการ ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 20 บาท (ราคานี้ยังไม่รวมค่าเข้าชมห้องดวงดาวท้องฟ้าจำลองนะครับ) อนึ่ง ระหว่างวันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2563 ท้องฟ้าจำลองจะเปิดให้เข้าชมในส่วนของนิทรรศการตามปกติ ยกเว้นห้องชมดาวท้องฟ้าจำลองครับ หากมีโอกาสมาท่องเที่ยวกันนะครับท่านจะได้รับทั้งความรู้และความเพลิดเพลินใจอย่างแน่นอนครับ(ภาพประกอบโดยหนุ่มเสมอ)