สิ่งที่ต้องแลกมาก่อนจะลงมือทำธุรกิจของคนรุ่นใหม่ จากเรื่องราวของหนังใหม่ ที่เกี่ยวกับธุรกิจ express ของค่ายหนัง streaming ยักษ์ใหญ่ ได้จุดกระแสของ คนรุ่นใหม่ มีความสามารถหลากหลาย และ มีความจริงจัง มุ่งมั่น ไฟแรง ที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจของตนเอง อยากเป็น Unicorn หรือ Startup แบบในหนัง ประเด็นและข้อคิดจากในหนัง เราจะไม่พูดถึงในบทความนี้นะคับ เพราะมีคนเขียนไว้เยอะแล้ว (บทความนี้ได้เริ่มศึกษามากก่อนที่จะมีการออกฉายของหนังดังกล่าวล่วงหน้า) สำหรับ น้อง ๆ ที่กำลังคิดจะค้าขาย หรือมองหาธุรกิจ ในช่วงนี้ หรืออาจจะเริ่มอยู่ในช่วงแรก ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการ โดยเฉพาะคนที่เคยทำงาน หรือ พนักงานออฟฟิศที่ทำงานมาระยะหนึ่ง อยากให้ดู เช็คลิสต์ทั้ง 7 ข้อนี้ไว้ก่อน ถ้าไม่ผ่านข้อใดข้อหนึ่ง อาจนำมาซึ่งความล้มเหลวมาได้ในที่สุด 1- รู้จักลูกค้าให้ดี อย่างเจาะลึกและตรงกับความเป็นจริง ในทางการตลาดเรียกว่า กลุ่มเป้าหมาย Target ใครคือลูกค้าเรา เป็นคนประเภทไหน ใช้จ่ายเงินอย่างไรบ้าง และทำไมเค้าถึงมาซื้อสินค้าหรือบริการเรา มี Pain Point อะไรบ้างที่เราสามารถตอบสนองให้ลูกค้าได้อย่างดี ต่างจาก ร้านค้ารอบ ๆ บริเวณนั้น location ที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าของเรา อันนี้ต้องศึกษาและแยกแยะให้ดี ตัวอย่างเช่น ร้านกาแฟ one to two 2- หุ้นส่วนในธุรกิจ ส่วนใหญ่ ในGen นี้ มักจะเป็นการรวมกลุ่มของเพื่อนๆ กัน ก่อตั้งทำธุรกิจเล็กๆ และช่วยแบ่งงานกันไปรับผิดชอบในแต่ละส่วน เรียกว่า Startup เล็กๆ ได้เหมือนกัน ตามทักษะที่ถนัดของแต่ละคน ไม่มีใครจะเก่งในทุกๆ เรื่อง คุยกันให้รู้เรื่องก่อนจะลงมือทำแล้วก็ทำเป็นสัญญาให้ถูกต้อง ลงลายมื่อชื่ออย่างเป็นทางการ เพราะธุรกิจเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา ระยะยาว เกี่ยวข้องกับการเงิน ความรับผิดชอบ จะเปลี่ยนใจไป เปลี่ยนมา ไม่ได้ นอกจากเสียธุรกิจแล้ว ยังเสียเพื่อนรักอีก 3- อย่าลืมต้นทุนแฝง ของกิจการ โดยส่วนใหญ่กิจการเล็กๆ ที่เริ่มดำเนินการ โดยคนไม่กี่คน จะมีต้นทุนที่เราอาจจะลืมคิดเข้าไปในกิจการ บางธุรกิจทำยอดขายได้ดี แต่ทำไมไม่มีกำไร หรือ มีแต่ตัวเลขในทางบัญชีแต่ไม่มีเงินสด เช่น ค่าแรงเจ้าของ ค่าทางด่วน ค่าน้ำมัน ค่าเดินทาง ค่าเสียเวลาต่างๆ ดูได้จากธุรกิจโอทอป 5ดาว ต่าง ๆ ยิ่งขายยิ่งจน 4- แผนการประชาสัมพันธ์ สำหรับคนรุ่นใหม่ที่ Social Marketing เป็นส่วนนึงใช้ชีวิต storytelling เป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรก ณ เวลานี้ ต้องกระจายออกให้หมดในทุกช่องทางที่มีโอกาส TikTok/ Facebook/ Instagram / Youtube 5- เตรียมเงินหมุนเวียนไว้ด้วย กระแสเงินสดที่ต้องใช้ในการดำเนินการ อย่างน้อย ต้องมี 2 – 4 เดือน แล้วแต่กิจการ ธุรกิจ เช่น ค่าพนักงาน ค่าวัตถุดิบ และเหตุไม่คาดฝันต่างๆ เช่น โรคระบาด แผ่นดินไหว น้ำท่วมฉับพลัน ไฟฟ้าดับ อะไรก็เกิดขึ้นได้ในยุคนี้ ยอดขายไม่ได้เข้ามาในวันแรก และเดือนแรก ตามแผนงานที่คาดหวังเสมอไป เงินหมุนเวียน 6- ทดลองตลาดก่อนเปิด ขายจริง ถ้าสินค้าที่เรามีอยู่ สามารถแจกทดลองทานหรือ ชิม ในกลุ่มคนเล็กก่อน เพื่อนำ Feedback กลับมาปรับปรุงรสชาติ ก่อนจะออกสู่ตลาด การทดสอบระบบและดำเนินการให้บริการลูกค้าในกลุ่มย่อย ก่อนจะเปิดจริง เช่น ร้านซักอบรีด ตู้หยอดเหรียญ เปิดให้ลูกค้าทดลองใช้ได้เลย ง่ายที่สุดคือการประชาสัมพันธ์ใน Social Media ก่อนวันเปิดกิจการจริง 7- อย่าเอาเงินไปลงทุนกับการตกแต่งและสต๊อกสินค้ามากจนเกินไป อาจจะเป็นเรื่องยากในการคำนวณ ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ในระยะเริ่มต้น แต่ก็เป็นส่วนสำคัญ ถ้าสต๊อกมีมากเกินไป ที่ทำให้เงินสดจมอยู่ในธุรกิจนาน วัตถุดิบหรือสินค้าหมดอายุ ถ้าน้อยเกินไป สินค้าไม่พอขาย ลูกค้ารอนาน อาจจะมีผลต่อความพึงพอใจและชื่อเสียงของแบรนด์ในระยะต่อมา ในธุรกิจของการผลิตสินค้า อาจจะต้องสร้างความสมดุลระหว่าง การผลิต เวลา และสินค้าคงเหลือ Safety Stock ในธุรกิจของการให้บริการ ความสามารถของพนักงานแต่ละคน การแก้ไขปัญหา คุณภาพของบริการ ระยะเวลาส่งมอบ บริการหลังการขาย เป็นต้น ภาพปก: ขอขอบคุณภาพจากคุณ jarmoluk โดย Pixabay ภาพที่1: ขอขอบคุณภาพจากคุณ Madun_Digital โดย Pixabay ภาพที่2: ขอขอบคุณภาพจากคุณ RonaldCandonga โดย Pixabay ภาพที่3: ขอขอบคุณภาพจากคุณ Michelle_Pitzel โดย Pixabay ภาพที่4: ขอขอบคุณภาพจากคุณ lukasbieri โดย Pixabay ภาพที่ 5: ขอขอบคุณภาพจากคุณ ClickerHappy โดย Pixabay ภาพที่ 6: ขอขอบคุณภาพจากคุณ Mediamodifier โดย Pixabay เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !