ในด้านความดีและความงามซึ่ง ตรงข้ามกับแนวคิดในเรื่องของความน่าเกลียดน่าชัง ที่เปรียบกับภูตผีปีศาจนั่นหมายถึงความชั่ว แนวคิดเหล่านี้เป็นแนวคิดคตินิยมของคนในท้องถิ่น และต่อมา เป็นเป็นคตินิยมในด้านของศาสนา ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อในแบบศาสนาที่นับถือพระเจ้าเป็นใหญ่ หรือศาสนาที่ไม่นับถือพระเจ้าเป็นใหญ่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นอุดมคติโดยทั่วไป ความเชื่อในเรื่องของนางฟ้า มีมาทุกยุคทุกสมัยนับพันปี และทุกคติความเชื่อในเรื่องของนางฟ้าเป็นในระบบเดียวกันทั้งหมด นั่นคือต้องมีความสวยงาม มากกว่ามนุษย์ที่เป็นเพศหญิงโดยทั่วไปและทุกบริบทของศาสนา ในด้านคติความเชื่อโลกหลังความตาย มีความเชื่อว่า ใครที่ทำดีที่เป็นผู้หญิง เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้วจะได้เกิดเป็นนางฟ้านางสวรรค์ มีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบาย แต่ในเส้นทางความคิดในเรื่องของแต่ละศาสนา ยังมีข้อแตกต่างในเรื่องของความเป็นนางฟ้า อย่างเช่นศาสนาพราหมณ์ฮินดู ในศาสนาพราหมณ์ฮินดูนอกจากเทพที่เป็นผู้หญิงที่เป็นใหญ่หรือมหาเทวีแล้ว ยังมีนางฟ้าอีกรูปแบบหนึ่งที่กล่าวถึงในตำนานไม่ว่าจะเป็นในพระเวทหรือคัมภีร์ปุราณะ นางฟ้าในรูปแบบนี้เรียกว่านางอัปสรที่เกิดจากการกวนน้ำอมฤต เป็นสิ่งที่นอกเหนือจากของวิเศษอย่างอื่น มีหลายพันองค์ อักษรเหล่านี้ต่างเป็นที่หมายปองของเทพทั้งหลาย ที่จะได้มาครอบครองคล้ายกับนารีผล ความสวยของนางอัปสรนั้นในรูปแบบของศิลปะ ที่เป็นรูปประธรรมในแต่ละสกุลช่างมีความแตกต่างกันทาง อินเดียก็อีกรูปแบบหนึ่ง ทางเขมรก็อีกรูปแบบหนึ่ง เมื่อคติความเชื่อเรื่องอักษรได้เข้าไปถ้าอยู่ในภูมิภาคใด ก็จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของศิลปะให้เป็นรูปแบบในท้องถิ่นนั้น รวมทั้งเรื่องราวต่าง ๆ อย่างในกรณีวัดถ้ำพระโพธิสัตว์ที่มีรูปพระพุทธเจ้ากำลังเทศนาให้กับมหาเทพฮินดูทั้งหลาย มีนางอัปสรลอยเข้ามาเพื่อฟังธรรม ด้วยการสร้างศิลปะในรูปแบบนี้เป็นการเปรียบเทียบในเรื่องของศาสนา ในศิลปะเขมรนั้นการแกะสลักนางอัปสรหมายถึงความเป็นหนึ่งในเทพ ที่มีความสวยงาม ที่ให้ความเพลิดเพลินใจกับเทพทั้งหลาย อย่างการแสดงฟ้อนรำ ที่ทำให้นอกจากจะเป็นรูปแบบของประติมากรรมแล้ว ยังเป็นต้นกำเนิดศิลปะการแสดงของทางนาฏศิลป์อีกด้วย ภาพถ่ายโดย พงศธร อิ่มอุดม ผู้เขียนบทความ