ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 จำนวน 45 ข้อ พร้อมเฉลยบทนำ แนวข้อสอบ “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548” เพื่อให้ผู้ที่สนใจสอบราชการ อ่านเป็นแนวทางในการสอบและได้ทดสอบก่อนสอบจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้แนวทางที่เหมาะสมและครบถ้วน ทั้งนี้เนื้อหาในข้อสอบนี้มีการอธิบายเพิ่มเติมแต่ละคำตอบ และผู้เขียนได้รวบรวมสาระสำคัญของ และความยากของ “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 ” ไว้ในนี้แล้ว1.ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใดก.วันที่ 1 มิถุนายน 2526 เป็นต้นไปข.วันที่ 7 มิถุนายน 2526 เป็นต้นไปค.วันที่ 12 มิถุนายน 2526 เป็นต้นไปง.วันที่ 25 มิถุนายน 2526 เป็นต้นไปตอบ ก.2.ข้อใดหมายถึง “งานสารบรรณ”ก.การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่าน ระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ข.คณะบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการให้ปฏิบัติงานในเรื่อง ใดๆ และให้หมายความรวมถึงคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือคณะบุคคลอื่นที่ปฏิบัติงานในลักษณะ เดียวกันค.งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสารเริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษาการยืม จนถึงการทำลายง.หนังสือราชการตอบ ง.3.ข้อใดหมายถึง “คณะกรรมการ”ก.การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่าน ระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ข.คณะบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการให้ปฏิบัติงานในเรื่อง ใดๆ และให้หมายความรวมถึงคณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือคณะบุคคลอื่นที่ปฏิบัติงานในลักษณะ เดียวกันค.งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสารเริ่มตั้งแต่การจัดทำการรับ การส่งการเก็บรักษาการยืม จนถึงการทำลายง.หนังสือราชการตอบ ข.4. ข้อใดหมายถึง “ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์”ก.กระทรวง ทบวงกรม สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ ทั้งใน ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นหรือในต่างประเทศ และ ให้หมายความรวมถึงคณะกรรมการด้วยข.การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่าน ระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ค.การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทาง แม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ต่างๆง.หนังสือราชการตอบ ข.5.ข้อใดหมายถึง “หนังสือ”ก.กระทรวง ทบวงกรม สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ ทั้งใน ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นหรือในต่างประเทศ และ ให้หมายความรวมถึงคณะกรรมการด้วยข.การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่าน ระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ค.การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทาง แม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ต่างๆง.หนังสือราชการตอบ ง.6.ให้ใครรักษาการตามระเบียบนี้ก.นายกรัฐมนตรีข.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีค.รัฐมนตรีง.คณะรัฐมนตรีตอบ ข.7.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ”ก.หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการข.เอกสารที่ ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการค.เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับง. ถูกทุกข้อตอบ ง. ง.อธิบายเพิ่มเติม ข้อ 9 หนังสือราชการคือเอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่ 9.1 หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ 9.2 หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึง บุคคลภายนอก9.3 หนังสือที่ หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วน ราชการ 9.4 เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ 9.5 เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ 9.6 ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์8. หนังสือมีกี่ชนิดก. 4 ชนิดข. 5 ชนิดค. 6 ชนิดง. 7 ชนิดตอบ ค.9.หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑเป็น หนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช้ส่วนราชการ หรือที่มีถึง บุคคลภายนอก ข้อความดังกล่าวหมายถึงข้อใดก.หนังสือภายนอกข.หนังสือภายในค.หนังสือประทับตราง.หนังสือสั่งการตอบ ก.10.หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็น หนังสือติดต่อภายในกระทรวงทบวงกรมหรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ ข้อความดังกล่าวหมายถึงข้อใดก.หนังสือภายนอกข.หนังสือภายในค.หนังสือประทับตราง.หนังสือสั่งการตอบ ข.11. ข้อใดหมายถึง “หนังสือประชาสัมพันธ์”ก.ให้ใช้ตามแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้เว้นแต่จะมีกฎหมาย กำหนดแบบไว้โดยเฉพาะข.หนังสือที่ ทางราชการทำขึ้นนอกจากที่ กล่าวมาแล้วข้างต้น หรือหนังสือที่ หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือบุคคลภายนอกมีมาถึง ส่วนราชการและส่วนราชการรับไว้เป็นหลักฐานของทางราชการค.ให้ใช้ตามแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดแบบ ไว้โดยเฉพาะง.หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกรมขึ้นไป เป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตราตอบ ค.12. ข้อใดหมายถึง “หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ”ก.ให้ใช้ตามแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้เว้นแต่จะมีกฎหมาย กำหนดแบบไว้โดยเฉพาะข.หนังสือที่ ทางราชการทำขึ้น นอกจากที่ กล่าวมาแล้วข้างต้น หรือหนังสือที่ หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือบุคคลภายนอกมีมาถึง ส่วนราชการและส่วนราชการรับไว้เป็นหลักฐานของทางราชการค.ให้ใช้ตามแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดแบบ ไว้โดยเฉพาะง.หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกรมขึ้นไป เป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตราตอบ ข.13. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “หนังสือภายนอก”ก.ลงชื่อส่วนราชการสถานที่ราชการหรือ คณะกรรมการซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือนั้น และโดยปกติให้ลงที่ตั้งไว้ด้วยข.ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราช ที่ออกหนังสือค.ให้อ้างถึงหนังสือฉบับสุดท้ายที่ติดต่อกันเพียงฉบับเดียวเว้นแต่มีเรื่อง อื่นที่เป็นสาระสำคัญต้องนำมาพิจารณา จึงอ้างถึงหนังสือฉบับอื่นๆง. ถูกทุกข้อตอบ ง.14.ข้อใดไม่ใช่เรื่องสำคัญสำหรับ “หนังสือประทับตรา”ก.การขอรายละเอียดเพิ่มเติมข.การเตือนเรื่องที่ค้างค.การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญหรือการเงินง.ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม หนังสือประทับตราให้ใช้ได้ทั้งระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการ และระหว่างส่วนราชการกับ บุคคลภายนอกเฉพาะกรณีที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ได้แก่1. การขอรายละเอียดเพิ่มเติม2. การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสาร3. การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญหรือการเงิน4. การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ5. การเตือนเรื่องที่ค้าง6. เรื่องซึ่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนดโดยทำเป็นคำสั่งให้ใช้ หนังสือประทับตรา15.หนังสือประชาสัมพันธ์ มีกี่ชนิด และประกอบด้วยอะไรบ้างก. 2 ชนิด หนังสือภายนอก และ หนังสือภายในข. 3 ชนิด ประกาศ แถลงการณ์ ข่าวค. 4 ชนิดง. ไม่มีข้อใดถูกตอบ ข.16.บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ ทราบ ข้อความดังกล่าวหมายถึงหนังสือประชาสัมพันธ์ ชนิดใดก.ประกาศข.แถลงการณ์ค.ข่าวง.ระเบียบตอบ ค.17.บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการ ของทางราชการ หรือเหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกัน ใช้ กระดาษตราครุฑ ข้อความดังกล่าวหมายถึงหนังสือประชาสัมพันธ์ ชนิดใดก.ประกาศข.แถลงการณ์ค.ข่าวง.ระเบียบตอบ ข.18.หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มีกี่ชนิดก. สองชนิดข. สามชนิดค. สี่ชนิดง. หกชนิดตอบ ค.19.จากข้อ 18 หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มีอะไรบ้างก.หนังสือรับรอง รายงานการประชุม บันทึก และหนังสืออื่นข.หนังสือรับรอง รายงานการประชุม บันทึก และหนังสือบันทึกการเก็บการประชุมค.หนังสือแจ้งการประชุม รายงานการประชุม บันทึก และหนังสืออื่นง.หนังสือรับรอง รายงานการประชุม บันทึก และหนังสือแจ้งการประชุมตอบ ก.20.หนังสือที่ส่วนราชการออกให้ เพื่อรับรองแก่ บุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงาน เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดให้ปรากฏแก่บุคคลโดยทั่วไปไม่เจาะจง ใช้ กระดาษ ตราครุฑ ข้อความดังกล่าวหมายถึงหนังสือชนิดใดก.บันทึกข.รายงานการประชุมค. ข้อความง.หนังสือรับรองตอบ ง.21.การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้ เข้าร่วมประชุม และมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน ข้อความดังกล่าวหมายถึงหนังสือชนิดใดก.บันทึกข.รายงานการประชุมค. ข้อความง.หนังสือรับรองตอบ ข.22.ข้อความซึ่งผู้ใต้ บังคับบัญชาเสนอต่อผู้ บังคับบัญชา หรือผู้ บังคับบัญชา สั่งการแก่ผู้ใต้ บังคับบัญชา หรือข้อความที่เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานระดับต่ำกว่าส่วนราชการระดับกรม ติดต่อกันในการปฏิบัติราชการหลักฐาน ข้อความดังกล่าวหมายถึงหนังสือชนิดใดก.บันทึกข.รายงานการประชุมค. ข้อความง.หนังสือรับรองตอบ ก.23.หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้ เร็วกว่าปกติ เป็นหนังสือที่ต้องจัดส่งและดำเนินการ ทางสารบรรณด้วยความรวดเร็วเป็นพิเศษ แบ่งเป็นกี่ชนิดก. 2 ชนิดข. 3 ชนิดค. 4 ชนิดง. 6 ชนิดตอบ ข.อธิบายเพิ่มเติม ข้อ 28 หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้ เร็วกว่าปกติ เป็นหนังสือที่ต้องจัดส่งและดำเนินการทางสารบรรณด้วยความรวดเร็วเป็นพิเศษ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1.ด้วนที่สุด ให้ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติในทันทีที่ได้ รับหนังสือนั้น 2. ด้วนมาก ให้ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว 3. ด้วน ให้ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติ เท่าที่จะทำได้24.หนังสือที่มีถึงผู้ รับเป็นจำนวนมาก มีใจความอย่างเดียวกัน ให้ เพิ่มรหัส ตัวพยัญชนะ ว. หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง ซึ่งกำหนดเป็นเลขที่หนังสือเวียนโดยเฉพาะ เริ่มตั้งแต่เลข 1 เรียงเป็นลำดับไปจนถึงสิ้นปีปฏิทิน หรือใช้ เลขที่ของหนังสือทั่วไปตามแบบหนังสือภายนอกอย่างหนึ่งอย่างใด ข้อความดังกล่าวหมายถึงหนังสือชนิดใดก.หนังสือที่จัดทำขึ้นข.หนังสือเวียนค.หนังสือประทับตราง.หนังสือรับรองตอบ ข.25.หนังสือภาษาต่างประเทศ ให้ใช้ ตามข้อใดก. กระดาษตรา A4ข.ตราครุฑค.บันทึกข้อความง. หนังสือที่จัดทำขึ้นตอบ ข.26.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “ประทับตรารับหนังสือ”ก.เลขรับ ให้ ลงเลขที่รับตามเลขที่รับในทะเบียนข.วันที่ ให้ ลงวัน เดือน ปีที่รับหนังสือค.เวลา ให้ ลงเวลาที่รับหนังสือง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม ข้อ 37 ประทับตรารับหนังสือตามแบบที่ 12 ท้ายระเบียบ ที่มุมบนด้านขวาของหนังสือ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้1. เลขรับ ให้ ลงเลขที่รับตามเลขที่รับในทะเบียน2. วันที่ ให้ ลงวัน เดือน ปีที่รับหนังสือ3. เวลา ให้ ลงเวลาที่รับหนังสือ27.ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ “ลงทะเบียนรับหนังสือในทะเบียนหนังสือรับ”ก.ทะเบียนหนังสือรับ วันที่ เดือน พ.ศ. ให้ ลงวัน เดือน ปีที่ลงทะเบียนข.ที่ ให้ ลงเลขที่ของหนังสือที่รับเข้ามาค.ลงวันที่ ให้ ลงวัน เดือน ปีของหนังสือที่รับเข้ามาง.วันที่ ให้ ลงวัน เดือน ปีที่รับหนังสือตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม ข้อ 38 ลงทะเบียนรับหนังสือในทะเบียนหนังสือรับตามแบบที่ 13 ท้ายระเบียบ โดยกรอก รายละเอียดดังนี้1. ทะเบียนหนังสือรับ วันที่ เดือน พ.ศ. ให้ ลงวัน เดือน ปี ที่ลงทะเบียน2. เลขทะเบียนรับ ให้ ลงเลขลำดับของทะเบียนหนังสือรับเรียงลำดับต่อกันไปตลอดปฏิทิน เลขทะเบียนของหนังสือรับจะต้องตรงกับเลขที่ในตรารับหนังสือ3. ที่ ให้ ลงเลขที่ของหนังสือที่รับเข้ามา4. ลงวันที่ ให้ ลงวัน เดือน ปี ของหนังสือที่รับเข้ามา5. จาก ให้ ลงตำแหน่งเจ้าของหนังสือ หรือชื่อส่วนราชการ หรือชื่อบุคคล ในกรณีที่ไม่มีตำแหน่ง6. ถึง ให้ ลงตำแหน่งของผู้ ที่หนังสือนั้นมีถึง หรือชื่อส่วนราชการ หรือชื่อบุคคล ในกรณีที่ไม่มีตำแหน่ง 7. เรื่อง ให้ ลงชื่อเรื่องของหนังสือฉบับนั้น ในกรณีที่ไม่มีชื่อเรื่องให้ลงสรุปเรื่องย่อ 8. การปฏิบัติ ให้ บันทึกการปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือฉบับนั้น9. หมายเหตุ ให้ บันทึกข้อความอื่นใด (ถ้ามี)28.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “หนังสือส่ง”ก.หนังสือที่ส่งออกไปภายนอกข.การจ่าหน้าซองค.การส่งหนังสือโดยทางไปรษณีย์ง. ถูกทุกข้อตอบ ง.29.เมื่อเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสารบรรณกลางได้ รับเรื่องแล้วต้องปฏิบัติตามข้อใดก.ลงทะเบียนส่งหนังสือในทะเบียนหนังสือส่งข.ลงเลขที่ และวัน เดือน ปีในหนังสือที่จะส่งออกทั้งในต้นฉบับ และสำเนาคู่ฉบับ ให้ ตรงกับเลขทะเบียนส่ง และวัน เดือน ปีในทะเบียนหนังสือส่งค.เลขทะเบียนส่ง ให้ ลงเลขลำดับของทะเบียนหนังสือส่งเรียงลำดับ ติดต่อกันไปตลอดปีปฏิทินง. ถูกทุกข้อตอบ ง.30.ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ “รายละเอียดในใบรับหนังสือ”ก.หน่วยรับ ให้ ลงชื่อส่วนราชการที่รับหนังสือข.ที่ให้ ลงเลขที่ของหนังสือฉบับนั้นค.รับวันที่ ให้ ผู้ รับหนังสือลงวัน เดือน ปี ที่รับหนังสือง.ผู้รับ ให้ ผู้ รับหนังสือลงชื่อที่สามารถอ่านออกได้ตอบ ก.อธิบายเพิ่มเติม ข้อ 49 ใบรับหนังสือ ให้ จัดทำตามแบบที่ 17 ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้1. ที่ ให้ ลงเลขที่ของหนังสือฉบับนั้น2. ถึง ให้ ลงตำแหน่งของผู้ ที่หนังสือนั้นมีถึง หรือชื่อส่วนราชการ หรือชื่อบุคคล ในกรณีที่ไม่มีตำแหน่ง3. เรื่อง ให้ ลงชื่อเรื่องของหนังสือฉบับนั้น ในกรณีที่ไม่มีชื่อเรื่องให้ลงสรุปเรื่องย่อ4. รับวันที่ ให้ ผู้ รับหนังสือลงวัน เดือน ปีที่รับหนังสือ5. เวลา ให้ ผู้ รับหนังสือลงเวลาที่รับหนังสือ6. ผู้ รับ ให้ ผู้ รับหนังสือลงชื่อที่สามารถอ่านออกได้31.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการ “เก็บรักษาหนังสือ”ก.การเก็บระหว่างปฏิบัติ การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว การเก็บไว้ เพื่อใช้ในการตรวจสอบข.การเก็บไว้ เพื่อใช้ในการตรวจสอบ การเก็บระหว่างปฏิบัติ การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว ค.การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว การเก็บระหว่างปฏิบัติ ง.การเก็บระหว่างปฏิบัติ การเก็บไว้ เพื่อใช้ในการตรวจสอบ การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว ตอบ ก.32. การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติยังไม่เสร็จให้อยู่ในความรับผิดชอบ ของเจ้าของเรื่องโดยให้ กำหนดวิธีการเก็บให้เหมาะสมตามขั้นตอนของการปฏิบัติงาน ข้อความขั้นต้นเป็นการเก็บหนังสือแบบไหนก.การเก็บระหว่างปฏิบัติข.การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว ค.การเก็บไว้ เพื่อใช้ในการตรวจสอบง. ถูกทุกข้อตอบ ก.33.จัดทำบัญชีหนังสือส่งเก็บ อย่างน้อยให้ มีต้นฉบับ และสำเนาคู่ฉบับสำหรับเจ้าของเรื่องและหน่วยเก็บ เก็บไว้ อย่างละกี่ฉบับก. 1 ฉบับข. 2 ฉบับค. 3 ฉบับง. 4 ฉบับตอบ ก.34.อายุการเก็บหนังสือ โดยปกติให้ เก็บไว้ไม่น้อยกว่า กี่ปีก. ห้าปีข. เจ็ดปีค. แปดปีง.สิบปีตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม ข้อ 57 อายุการเก็บหนังสือ โดยปกติให้ เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี เว้นแต่หนังสือดังต่อไปนี้1. หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลับ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบ ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ2. หนังสือที่เป็นหลักฐานทางอรรถคดี สำนวนของศาลหรือของพนักงานสอบสวน หรือหนังสืออื่นใดที่ได้ มีกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนกำหนดไว้เป็นพิเศษแล้ว การเก็บให้เป็นไป ตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนว่าด้วยการนั้น3. หนังสือที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี สถิติ หลักฐาน หรือเรื่องที่ต้องใช้สำกรับศึกษาค้นคว้า หรือหนังสืออื่นในลักษณะเดียวกัน ให้ เก็บไว้เป็นหลักฐาน ทางราชการตลอดไปหรือตามที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร กำหนด4. หนังสือที่ได้ปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้ว และเป็นคู่สำเนาที่มีต้นเรื่องจะค้นได้ จากที่อื่นให้ เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี5. หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญซึ่งไม่มีความสำคัญ และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้น เป็นประจำเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 1 ปี35.หนังสือที่ยังไม่ถึงกำหนดทำลาย ซึ่งส่วนราชการเห็นว่าเป็นหนังสือที่มีความสำคัญ และประสงค์จะฝากให้ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร เก็บไว้ ให้ปฏิบัติตามข้อใดก.จัดทำบัญชีฝากหนังสือข.ส่งต้นฉบับและสำเนาคู่ฉบับบัญชีฝากหนังสือพร้อมกับหนังสือที่จะฝาก ให้ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรค.เมื่อกองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ตรวจหนังสือและรับฝากหนังสือแล้ว ให้ลงนามในบัญชีฝากหนังสือ แล้วคืนต้นฉบับให้ส่วนราชการผู้ฝากเก็บไว้เป็นหลักฐานง. ถูกทุกข้อตอบ ง.36.ข้อใดปฏิบัติถูกต้องเกี่ยวกับ “การยืมหนังสือที่ส่งเก็บแล้ว”ก.ผู้ยืมจะต้องแจ้งให้ ทราบว่าเรื่องที่ยืมนั้นจะนำไปใช้ในราชการใดข.ผู้ ยืมจะต้องมอบหลักฐานการยืมให้ เจ้าหน้าที่เก็บค.การยืมหนังสือระหว่างส่วนราชการง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม ข้อ 62 การยืมหนังสือที่ส่งเก็บแล้ว ให้ปฏิบัติดังนี้1. ผู้ยืมจะต้องแจ้งให้ ทราบว่าเรื่องที่ยืมนั้นจะนำไปใช้ในราชการใด2. ผู้ยืมจะต้องมอบหลักฐานการยืมให้ เจ้าหน้าที่เก็บ แล้วลงชื่อรับเรื่องที่ยืมไว้ ในบัตรยืมหนังสือและให้ เจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมหลักฐานการยืม เรียงลำดับวัน เดือน ปีไว้ เพื่อติดตาม ทวงถาม ส่วนบัตรยืมหนังสือนั้นให้ เก็บไว้ แทนที่หนังสือที่ถูกยืมไป3. การยืมหนังสือระหว่างส่วนราชการ ผู้ ยืมและผู้อนุญาตให้ ยืมต้องเป็นหัวหน้า ส่วนราชการระดับกองขึ้นไป หรือผู้ ที่ได้ รับมอบหมาย4. การยืมหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน ผู้ ยืมและผู้ อนุญาตให้ ยืมต้องเป็น หัวหน้าส่วนราชการระดับแผนกขึ้นไป หรือผู้ ที่ได้ รับมอบหมาย37.คณะกรรมการทำลายหนังสือมีหน้าที่ตามข้อใดก.พิจารณาหนังสือที่จะขอทำลายตามบัญชีหนังสือขอทำลายข.เสนอรายงานผลการพิจารณาพร้อมทั้งบันทึกความเห็นแย้งของคณะกรรมการ (ถ้ามี) ต่อหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเพื่อพิจารณาสั่งการค.ควบคุมการทำลายหนังสือซึ่งผู้ มีอำนาจอนุมัติให้ ทำลายได้แล้วโดยการเผา หรือวิธีอื่นใดที่จะไม่ให้ หนังสือนั้นอ่านเป็นเรื่องได้ง. ถูกทุกข้อตอบ ง.38. ถ้ากองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร เห็นชอบด้วย ให้ แจ้งให้ส่วนราชการ นั้น ดำเนินการทำลายหนังสือต่อไปได้หากกองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ไม่แจ้งให้ ทราบอย่างใด ภายในกำหนดเวลา กี่วัน นับแต่วันที่ส่วนราชการนั้นได้ส่งเรื่องให้ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรก. สามสิบวันข.สี่สิบห้าวันค.หกสิบวันง.หนึ่งร้อยยี่สิบวันตอบ ค.39.ตราครุฑสำหรับแบบพิมพ์มีกี่ขนาดก.หนึ่งขนาดข.สองขนาดค.สามขนาดง.สี่ขนาดตอบ ข.40.ตรากำหนดเก็บหนังสือ คือ ตราที่ใช้ประทับบนหนังสือเก็บ เพื่อให้ ทราบกำหนด ระยะเวลาการเก็บหนังสือนั้นมีคำว่า เก็บถึง พ.ศ.หรือคำว่า ห้ามทำลาย ขนาดไม่เล็กกว่าตัวพิมพ์ เท่าใดก.1ข.18 พอยต์ค.20 พอยต์ง.24 พอยต์ตอบ ง. (ข้อที่37)41.มาตรฐานกระดาษและซองมีกี่ขนาดก.สองขนาดข.สามขนาดค.สี่ขนาดง.ห้าขนาดตอบ ข.อธิบายเพิ่มเติม ข้อ 74 มาตรฐานกระดาษและซอง1. มาตรฐานกระดาษโดยปกติให้ใช้กระดาษปอนด์ขาว น้ำหนัก 60 กรัม ต่อตารางเมตร มี 3 ขนาด คือ 1.1 ขนาดเอ 4 หมายความว่า ขนาด 210 มิลลิเมตร × 297 มิลลิเมตร 1.2 ขนาดเอ 5 หมายความว่า ขนาด 148 มิลลิเมตร × 210 มิลลิเมตร 1.3 ขนาดเอ 8 หมายความว่า ขนาด 52 มิลลิเมตร × 74 มิลลิเมตร2. มาตรฐานซอง โดยปกติให้ใช้กระดาษสีขาวหรือสีน้ำตาล น้ำหนัก 80 กรัม ต่อตารางเมตร เว้นแต่ซองขนาดซี 4 ให้ใช้ กระดาษน้ำหนัก 120 กรัมต่อตารางเมตร มี 4 ขนาด คือ2.1 ขนาดซี 4 หมายความว่า ขนาด 229 มิลลิเมตร × 234 มิลลิเมตร2.2 ขนาดซี 5 หมายความว่า ขนาด 162 มิลลิเมตร × 229 มิลลิเมตร2.3 ขนาดซี 6 หมายความว่า ขนาด 114 มิลลิเมตร × 162 มิลลิเมตร2.4 ขนาดดีแอล หมายความว่า ขนาด 110 มิลลิเมตร × 220 มิลลิเมตร42.ใช้สำหรับลงรายการละเอียดเกี่ยวกับการส่งหนังสือ โดยให้ ผู้ นำส่งถือกำกับไปกับหนังสือเพื่อให้ ผู้ รับเซ็นรับแล้วรับกลับคืนมา ข้อความขั้นต้นหมายถึงข้อใดก.ทะเบียนหนังสือรับข.สมุดส่งหนังสือและใบรับหนังสือค.ทะเบียนหนังสือส่งง.บัตรตรวจค้นตอบ ข. 43.ทะเบียนหนังสือรับ ใช้สำหรับลงรายการหนังสือที่ได้ รับเข้าเป็นประจำวัน โดยเรียงลำดับ ลงมาตามเวลาที่ได้ รับหนังสือ มีขนาดเอ 4 พิมพ์ สองหน้ามีสองชนิด คือ ชนิดเป็นเล่มและชนิดเป็นแผ่นข้อความขั้นต้นหมายถึงข้อใดก.ทะเบียนหนังสือรับข.สมุดส่งหนังสือและใบรับหนังสือค.ทะเบียนหนังสือส่งง.บัตรตรวจค้นตอบ ก.44. เป็นบัตรกำกับหนังสือแต่ละรายการเพื่อให้ ทราบว่าหนังสือนั้น ๆ ได้ มีการดำเนินการตามลำดับขั้นตอนอย่างใด จนกระทั่งเสร็จสิ้น บัตรนี้เก็บเรียงลำดับกันเป็นชุดในที่เก็บ โดยมีกระดาษติดเป็นบัตรดรรชนี ซึ่งแบ่งออกเป็นตอน ๆ เพื่อสะดวกแก่การตรวจค้น มีขนาดเอ 5 พิมพ์สองหน้า ข้อความขั้นต้นหมายถึงข้อใดก.ทะเบียนหนังสือรับข.สมุดส่งหนังสือและใบรับหนังสือค.ทะเบียนหนังสือส่งง.บัตรตรวจค้นตอบ ง.45.ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอีกอย่างน้อยกี่คนก. หนึ่งคนข.สองคนค.สามคนง.สี่คนตอบ ข.อธิบายเพิ่มเติม ข้อ 67 ให้ หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอีกอย่างน้อยสองคน โดยปกติให้ แต่งตั้งจากข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ถ้าประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่ง ทำหน้าที่ประธาน มติของคณะกรรมการให้ ถือเสียงข้างมาก ถ้ากรรมการผู้ใดไม่เห็นด้วยให้ ทำบันทึกความเห็นแย้งไว้ บทสรุป แนวข้อสอบ “ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 ” ทางผู้เขียนได้เน้นสาระสำคัญของเนื้อหาและความยาก ที่เคยออกสอบบ่อย “ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 ” เช่น ความหมายของชนิดหนังสือราชการ ชนิดหนังสือราชการ หนังสือภายนอก หนังสือภายใน หนังสือประทับตรา หนังสือสั่งการ หนังสือประชาสัมพันธ์ หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ การรับหนังสือ การส่งหนังสือ การเก็บรักษา ยืม และทำลายหนังสือ ได้ลงไว้ในแนวข้อสอบนี้ไว้ หวังว่าผู้อ่านหรือผู้ที่สนใจมีแรงบันดาลใจจากแนวข้อสอบให้เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ โดย ปลาทูหนังสือประทับตรา โดย ปลาทูลงทะเบียนรับหนังสือในทะเบียนหนังสือรับ โดย ปลาทูรายละเอียดในใบรับหนังสือ โดย ปลาทู ภาพทั้งหมด โดย ปลาทูเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !