หอแห่งแรงบันดาลใจ Hall of inspiration ดอยตุง เป็นแหล่งเรียนรู้สื่อผสมผสานของพระราชจริยวัตรของราชสกุลมหิดล มีเรื่องราวมากมายในนั้น หอแห่งแรงบันดาลใจ เป็นการแสดงนิทรรศการที่ถ่ายทอดพระราชจริยวัตรของราชสกุลมหิดล ในการทำงาน ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และในการพัฒนา เพื่อให้ประชาชนชาวไทยทุกพื้นที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และที่สร้างหอแรงบันดาลใจแห่งนี้ อยากให้เป็นที่ศึกษาของคนไทยและคนรุ่นใหม่ที่สนใจ และชาวต่างชาติที่มาเยี่ยมเยือนดอยตุงให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา ซึ่งหอแห่งแรงบันดาลใจแห่งนี้ตั้งอยู่ดอยตุง จังหวัดเชียงราย หอแรงบันดาลใจแห่งนี้มีทั้งหมด 7 ห้องที่จัดนิทรรศการและเรียบเรียงตั้งแต่ประวัติของ ราชสกุลไปจนถึงการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เราจะไปดูห้องแรกกันเลยค่ะ เป็นห้องประวัติราชสกุลมหิดล รวบรวมเรื่องราวนำแสดงตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ ครอบครัวเล็ก ๆ ที่เปี่ยมด้วยความรักและความเมตตา ที่เปรียบเสมือนกับหยดน้ำ (ที่เหมือนหยดเหงื่อของท่าน) ที่รวมตัวกันหลั่งไหลลงเพื่อ บำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ประชาชนชาวไทย อยู่ข้างในนั้นมีเสียงหยดน้ำหยดตลอดเวลามี และเราได้อ่านบทความข้างในห้องนี้ทำให้เราขนลุก ทราบซึ้งมากกับที่พระองค์ได้ทรงทำมา เมื่อเราก้าวเท้าเข้าไปข้างในเรื่อย ๆ นั้นทำให้เรารู้สึกรำลึกถึงราชสกุลมหิดลเป็นที่สุด รู้สึกทราบซึ้งถึงพระองค์ที่มีต่อประชาชนชาวไทย และมีภาพ ร.8 ร.9 และราชกุลมหิดลอีกหลายภาพ บ้างภาพไม่เคยเห็นมาก่อนหาดูได้อยากจริง ๆ ค่ะ ไปกันต่อที่ห้อง 2 เรื่องราวของราชสกุล เล่าเรื่องราวผ่านพระราชประวัติ มีการเล่าเรื่องราวของสมเด็จย่าในสมัยที่ยังทรงพระเยาว์วัย และจนถึงตอนเป็น คู่ชีวิตเจ้าฟ้า และเป็นแม่ของลูก จนกลายเป็นแม่ฟ้าหลวงของประชาชนคนไทยค่ะ ห้อง 3 การกลับคืนสู่มาตุภูมิของราชสกุลมหิดล การที่พระองค์ได้ทรงกลับมาประเทศไทยที่ต้องรับหน้าที่สำหรับประเทศเพื่อประชาชนชาวไทย พระองค์กลับมาเพื่อรับภารกิจ “พระมหากษัตริย์ของประชาชน” นั้นเองค่ะ ในห้องนี้ก็จะบรรยายถึงพระองค์มีรูปภาพต่าง ๆที่หาดูได้ยาก ห้อง 4 ห้องความทุกข์ยากของประชาชน นำเสนอหลายปัญหาที่กระทบต่อชีวิตของประชาชนคนไทย ที่มีปัญหาหลาย ๆ อย่างที่พระองค์ (ร.9 ) ทรงที่จะรับฟังในแต่ละวัน เช่นปัญหาปลูกข้าวไม่พอกิน เงินหามาได้พ่อก็เอาไปสูบยา เจ็บตัวเป็นไข้ตัวร้อน ปลูกข้าวไม่พอกิน ไร่นาพังหมด คนตกงานและอีกมากมายที่นำมาจัดเเสดงในหอแห่งนี้ (ดูไปซึ้งไปน้ำตาคลอไป) ทำให้รู้ว่าพระองค์ทรงเสียสระเวลาเพื่อมารับฟังปัญหาของประชาชนทุกปัญหาจริง ๆ ค่ะเพื่อที่จะไปทำแบบแผนแก้ปัญหาในห้องที่ 5 ห้องที่ 5 แบบแผนต่าง ๆ เพื่อการแก้ปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนอย่างยั่งยืน เป็นห้องที่จัดแสดงการ อุปกรณ์ที่จัดแสดงเป็นอุปกรณ์ธรรมดา ๆ ที่ในหลวง (ร.9) ใช้ทรงงานจนคุ้นตา ได้แก่ แผนที่ เข็มทิศ ดินสอที่ใช้จนกุดแล้ว (พระองค์ทรงใช้คุ้มค่ามาก ๆ ค่ะ) กล้องถ่ายรูป และวิทยุสื่อสาร ที่พระองค์เคยใช้มาทั้งหมดจัดอยู่ในห้องนี้ค่ะ ห้องมีการทำอนิเมชั่นในการอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่าย พระองค์ทรงเข้าใจ เข้าถึงปัญหาต่าและนำมาพัฒนา พระองค์ก็ทรงร่างแบบโครงการที่ต้องทำ มีอีกมากมาย หลายต่อหลายโครงการเต็มผนังห้องจัดแสดงเต็มไปหมด พระองค์ทรงงานเยอะมาก (ดูแล้วน้ำตาไหล ไหลจริง ๆ ค่ะมันซึ้ง) ห้อง 6 แบบแผนการแก้ปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนบนดอยตุง สมเด็จย่าท่านพูดบอกว่า " ฉันจะปลูกป่าดอยตุง " มีการสร้างป่าอนุรักษ์ อนุรักษ์พันธุ์ไม้อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ สร้างงานให้ชาวดอยตุง ขจัดความยากจน สร้างความมั่นคงของพื้นป่า พระองค์ทรงเปิดศูนย์หัตถกรรม เพื่อต่อยอดให้ชาวบ้านดอยตุงที่มีความชำนาญในการหัตกรรมสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว และด้านในห้องนี้มีรูปภาพแสดงให้เห็นในการดำรงชีวิตของชาวดอยตุง การทำข้าวเกี่ยวข้าวกับรอยยิ้ม พื้นป่าที่อุดมสมบูรณ์ของดอยตุง และข้างในห้องนั้นเรายังได้ยินเสียงนกเสียงธรรมชาติด้วยนะคะได้บรรยายกาศเหมือนอยู่ในป่าเลยค่ะ ห้องที่ 7 เป็นห้องสุดท้ายแล้วค่ะ เป็นห้องแห่งแรงบันดาลใจ แสดงถึงความใกล้ชิดและความผูกพันในสมาชิกราชสกุลมหิดล ทั้ง 5 พระองค์ ที่มีการทรงเรียนรู้และเป็นแรงบันดาลใจให้กันและกัน ได้นำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นให้แก่ประชาชนชาวไทย หอแห่งแรงบันดาลใจตรงมากเลยค่ะ เป็นหอที่สร้างแรงบรรดาใจค่ะ พระองค์ทรงสร้างให้เรามีแรงบันดาลใจทำในสิ่งที่ดี ที่เราสามารถทำได้ไม่ต้องเลือกว่าจะทำตอนไหนเวลาไหน เราสามารถทำทุกที่ทุกเวลาที่เราสามารถทำได้ พระองค์ทรงสอนให้รูู้จักความอดทน พระองค์ทรงสร้างแรงบันดาลใจให้พออยู่พอกินพอใช้ไม่ฟุ้งเฟ้อ นับจากวันนั้นจนถึงวันนี้ทำให้ผู้เขียนรู้จักคิดมากขึ้น รักโลกมากขึ้น การใช้จ่ายประหยัดลง รักษาธรรมชาติมากขึ้นกว่าแต่ก่อน อยากให้ทุกคนที่มีโอกาสไปชมกันค่ะ เป็นแรงบันดาลใจดีจริง ๆ ทำให้เราได้รู้อะไรมากมาย ทั้งความยากลำบากของ ร.9 สมเด็จย่า และสมาชิกราชสกุลมหิดล ด้วยค่ะได้รู้ลึกทราบซึ้งและยังรำลึกถึงพระองค์เสมอ เครดิตภาพโดยผู้เขียนทั้งหมด