บทความนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำ+สอนใช้ ChatGPT ซึ่งเป็นเทคโนโลยี AI แชตบอตสุดล้ำที่มีความสามารถในการช่วยเราเขียนงานวิจัยตั้งแต่คิดชื่อเรื่อง (Title), ช่วยเขียนบทคัดย่อ (Abstract), ช่วยทบทวนวรรณกรรม (Literature review), ช่วยเขียนบทนำ (Introduction), ช่วยเขียนผลการวิจัย (Results) ไปจนถึงช่วยอภิปรายผลการวิจัย (Discussion) เหมาะสำหรับทุกคนที่ต้องเขียนงานวิจัยที่อยากจะได้ตัวช่วยที่จะทำให้การเขียนงานวิจัยนั้นง่ายขึ้นโดยเฉพาะการใช้ ChatGPT ช่วยทบทวนวรรณกรรม, ช่วยหา research gap, ช่วยหา research question และช่วยเขียนบทนำเป็นสิ่งที่ผู้เขียนมองว่าเป็นจุดที่ถ้าเราใช้ ChatGPT ได้อย่างถูกวิธีก็จะช่วยเราในการเขียนส่วนต่างๆเหล่านี้ได้เป็นอย่างดีเลย.แต่แน่นอนว่าก็เหมือนทุกๆสิ่งบนโลกใบนี้เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอตัวของการใช้ ChatGPT ในการช่วยเราเขียนงานวิจัยเองก็เป็นดาบสองคมที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ถ้าใช้ให้ถูกจุดก็จะช่วยในการเขียนงานวิจัยของเราได้แต่ถ้าไม่เข้าใจในการใช้มากพอก็จะทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาได้ซึ่งบทความนี้ก็จะพาผู้อ่านทุกคนไปลองสำรวจคำสั่งพื้นฐานต่างๆของการใช้ ChatGPT ในการช่วยเราเขียนงานวิจัยกัน.1.) เริ่มต้นจากการเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ของ ChatGPT ก่อนตามลิงก์นี้ ChatGPT2.) หลังจากนั้นให้ทำการ Sign up ลงทะเบียนด้วยอีเมล์ให้เรียบร้อยก็จะเข้าสู่หน้าของเว็บไซต์ ChatGPT.3.) จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนั้น ChatGPT จะเป็นตัวโมเดล GPT-3.5 ซึ่งถ้าเสียเงินใช้แบบ Plus ก็จะได้ใช้ตัว GPT-4.0 ได้.4.) ตัวอย่างคำสั่งการใช้ ChatGPT ช่วยคิดชื่องานวิจัยจากบทคัดย่อ.ในการเขียนรายงานการวิจัยนั้นตัวของชื่องานวิจัยมักจะถูกคิดเป็นส่วนท้ายๆโดยผู้เขียนงานวิจัยมักจะทำการเขียนส่วนของ บทนำ (Introduction), วิธีการทดลอง (Materials and Methods), ผลการวิจัย (Results), อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) และสรุปผลการวิจัย (Conclusion) ให้เสร็จก่อนจากนั้นถึงมาเขียนส่วนของบทคัดย่อ (Abstract) ของงานวิจัยและปิดท้ายด้วยการคิดชื่องานวิจัยที่เหมาะกับงานวิจัยของเราให้มากที่สุด. ดังนั้นเมื่อเราเขียนบทคัดย่อเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้นเราก็สามารถที่จะเอาบทคัดย่องานวิจัยของเราใส่เข้าไปในคำสั่งให้ ChatGPT ช่วยคิดชื่องานวิจัยจากบทคัดย่อให้กับเราได้.🟡 ตัวอย่างคำสั่งSuggest 5 titles for the following abstract: วาง abstract งานวิจัยของเราCan you suggest some titles for this abstract: วาง abstract งานวิจัยของเราSuggest a title for a research paper based on this abstract: วาง abstract งานวิจัยของเราCan you suggest two additional titles for a research paper based on that same abstract?🟡 ตัวอย่างการนำไปใช้จริงขอยกตัวอย่างโดยนำบทคัดย่อจากงานวิจัย Efficacy of the BNT162b2 mRNA COVID-19 vaccine in patients with chronic lymphocytic leukemia ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Blood โดย American Society of Hematology ที่มี Impact factor ในปี 2022 อยู่ที่ 20.3 และมีการอ้างอิงบทความนี้จนปัจจุบันไปแล้วกว่า 610 ครั้งมาใช้ให้ ChatGPT ช่วยคิดชื่องานวิจัยให้กับเราโดยเราก็ใส่คำสั่งเข้าไปว่า Suggest 5 titles for the following abstract: Patients with chronic lymphocytic leukemia (CLL) have an increased risk for severe COVID-19 disease and mortality. The goal of this study was to determine the efficacy of COVID-19 vaccine in patients with CLL. We evaluated humoral immune responses to the BNT162b2 messenger RNA (mRNA) COVID-19 vaccine in patients with CLL and compared responses with those obtained in age-matched healthy control subjects. Patients received 2 vaccine doses, 21 days apart, and antibody titers were measured by using the Elecsys Anti-SARS-CoV-2 S assay after administration of the second dose. In a total of 167 patients with CLL, the antibody response rate was 39.5%. A comparison between 52 patients with CLL and 52 sex- and aged-matched healthy control subjects revealed a significantly reduced response rate among patients (52% vs 100%, respectively; adjusted odds ratio, 0.010; 95% confidence interval, 0.001-0.162; P < .001). The response rate was highest in patients who obtained clinical remission after treatment (79.2%), followed by 55.2% in treatment-naive patients and 16.0% in patients under treatment at the time of vaccination. In patients treated with either Bruton’s tyrosine kinase inhibitors or venetoclax ± anti-CD20 antibody, response rates were considerably low (16.0% and 13.6%). None of the patients exposed to anti-CD20 antibodies <12 months before vaccination responded. In a multivariate analysis, the independent predictors of response were younger age, female sex, lack of currently active treatment, immunoglobulin G levels ≥550 mg/dL, and immunoglobulin M levels ≥40 mg/dL. In conclusion, antibody-mediated response to the BNT162b2 mRNA COVID-19 vaccine in patients with CLL is markedly impaired and affected by disease activity and treatment. This trial was registered at www.clinicaltrials.gov as #NCT04746092.ChatGPT ก็จะให้คำตอบมาเป็นชื่องานวิจัยที่แนะนำ 5 ชื่อดังรูปด้านล่างซึ่งเราก็ใช้เป็นไอเดียได้นะแต่ต้องดูด้วยว่าเข้ากับงานเรามั้ย *ผู้เขียนงานวิจัยต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาความถูกต้องของคำตอบจาก ChatGPT อย่างระมัดระวังอย่างถึงที่สุดและห้ามทำการก๊อปปี้คำตอบจาก ChatGPT ไปใช้โดยตรง.5.) ตัวอย่างคำสั่งใช้ ChatGPT ช่วยปรับปรุงบทคัดย่อให้ดียิ่งขึ้น.ในส่วนของการเขียนบทคัดย่อนั้นทางผู้เขียนแนะนำให้ผู้เขียนงานวิจัยเขียนด้วยตัวเองจะดีกว่าเพราะบทคัดย่อของงานวิจัยนั้นเป็นส่วนที่ต้องใช้ความเข้าใจของผู้ทำงานวิจัยในการเขียนเป็นอย่างมากแต่เราก็สามารถใช้ ChatGPT ช่วยปรับปรุงบทคัดย่อให้ดียิ่งขึ้นได้ เช่นในการส่งงานวิจัยตีพิมพ์ก็มักจะมีการกำหนดจำนวนคำของบทคัดย่อไว้ว่าห้ามเกินกี่คำดังนั้นเราก็สามารถใช้ ChatGPT ช่วยลดจำนวนคำของบทคัดย่อของเราลงได้โดยใช้คำสั่งShorten this abstract/paragraph to 250 words: วาง abstract งานวิจัยของเรา🟡 ตัวอย่างการนำไปใช้จริงขอยกตัวอย่างโดยนำบทคัดย่อจากงานวิจัย Efficacy of the BNT162b2 mRNA COVID-19 vaccine in patients with chronic lymphocytic leukemia ที่มีจำนวนคำ 267 คำมาใช้ให้ ChatGPT ช่วยตัดคำให้เหลือไม่เกิน 250 คำโดยเราก็ใส่คำสั่งShorten this abstract/paragraph to 250 words: Patients with chronic lymphocytic leukemia (CLL) have an increased risk for severe COVID-19 disease and mortality. The goal of this study was to determine the efficacy of COVID-19 vaccine in patients with CLL. We evaluated humoral immune responses to the BNT162b2 messenger RNA (mRNA) COVID-19 vaccine in patients with CLL and compared responses with those obtained in age-matched healthy control subjects. Patients received 2 vaccine doses, 21 days apart, and antibody titers were measured by using the Elecsys Anti-SARS-CoV-2 S assay after administration of the second dose. In a total of 167 patients with CLL, the antibody response rate was 39.5%. A comparison between 52 patients with CLL and 52 sex- and aged-matched healthy control subjects revealed a significantly reduced response rate among patients (52% vs 100%, respectively; adjusted odds ratio, 0.010; 95% confidence interval, 0.001-0.162; P < .001). The response rate was highest in patients who obtained clinical remission after treatment (79.2%), followed by 55.2% in treatment-naive patients and 16.0% in patients under treatment at the time of vaccination. In patients treated with either Bruton’s tyrosine kinase inhibitors or venetoclax ± anti-CD20 antibody, response rates were considerably low (16.0% and 13.6%). None of the patients exposed to anti-CD20 antibodies <12 months before vaccination responded. In a multivariate analysis, the independent predictors of response were younger age, female sex, lack of currently active treatment, immunoglobulin G levels ≥550 mg/dL, and immunoglobulin M levels ≥40 mg/dL. In conclusion, antibody-mediated response to the BNT162b2 mRNA COVID-19 vaccine in patients with CLL is markedly impaired and affected by disease activity and treatment. This trial was registered at www.clinicaltrials.gov as #NCT04746092.ChatGPT ก็จะให้คำตอบมาเป็นบทคัดย่อที่มีจำนวนคำ 232 คำซึ่งน้อยกว่า 250 คำดังรูปด้านล่าง *ผู้เขียนงานวิจัยต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาความถูกต้องของคำตอบจาก ChatGPT อย่างระมัดระวังอย่างถึงที่สุดและห้ามทำการก๊อปปี้คำตอบจาก ChatGPT ไปใช้โดยตรง.🟡 เรายังสามารถลองใส่บทคัดย่อที่เราเขียนขึ้นให้ ChatGPT ช่วยเรียบเรียงให้ใหม่ให้เข้าใจมากขึ้นได้โดยใช้คำสั่งCan you rewrite this abstract to make it easier to understand: วาง abstract งานวิจัยของเรา🟡 เราสามารถลองให้ ChatGPT ช่วยปรับปรุงบทคัดย่อของเราให้ดีขึ้นโดยการระบุให้ ChatGPT เติมส่วนต่างๆในบทคัดย่อให้เรา อย่างเช่น จากบทคัดย่อ ที่ได้จากด้านบน ให้ ChatGPT ช่วยเติม research gap ในบทคัดย่อให้เราโดยอิงจาก research gap ที่เราใส่เข้าไปโดยใช้คำสั่งImprove the previous abstract by adding a research gap in the sentence before the aim based on the following research gap: …...ใส่ research gap ของงานวิจัย......🟡 ลองให้ ChatGPT ช่วยปรับปรุงบทคัดย่อของเราให้ดีขึ้นโดยการระบุให้ ChatGPT เติมส่วนต่างๆในบทคัดย่อให้เรา อย่างเช่น จากบทคัดย่อที่ได้จากด้านบนให้ ChatGPT ช่วยปรับปรุงการสรุปผลการวิจัยในประโยคสุดท้ายในบทคัดย่อให้เราโดยอิงจาก conclusion ที่เราใส่เข้าไปโดยใช้คำสั่งImprove the last sentence of the previous abstract by providing a more specific conclusion or discussion of the results based on the conclusion section of the research paper: …...ใส่ conclusion ของงานวิจัย......6.) ตัวอย่างคำสั่งใช้ ChatGPT ช่วยคิดและสรุป research gap ของหัวข้องานวิจัยที่เราสนใจแน่นอนว่าเมื่อเราต้องการทำงานวิจัยของเราที่จะเป็นการค้นพบสิ่งใหม่ๆเราก็ต้องรู้ก่อนว่าในหัวข้องานวิจัยที่เราสนใจอยู่นั้นมี research gap อะไรบ้างที่เราจะนำมาต่อยอดทำในงานวิจัยของเราได้ซึ่งในส่วนนี้เราก็สามารถใช้ ChatGPT ช่วยเราคิด, สรุปและให้คำแนะนำเกี่ยวกับ research gap ได้.🟡 ตัวอย่างคำสั่งSuggest a research gap on the topic of …...ใส่หัวข้องานวิจัยที่เราสนใจ......ตัวอย่างการนำไปใช้จริงอย่างเช่นถ้าเราต้องการรู้ research gap ในหัวข้อเกี่ยวกับ BNT162b2 mRNA COVID-19 vaccine in patients with chronic lymphocytic leukemia เราก็สามารถพิมพ์คำสั่งเข้าไปว่าSuggest a research gap on the topic of BNT162b2 mRNA COVID-19 vaccine in patients with chronic lymphocytic leukemiaChatGPT ก็จะให้คำตอบมาเป็น research gap ในหัวข้อเกี่ยวกับ BNT162b2 mRNA COVID-19 vaccine in patients with chronic lymphocytic leukemia ดังรูปด้านล่าง *ผู้เขียนงานวิจัยต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาความถูกต้องของคำตอบจาก ChatGPT อย่างระมัดระวังอย่างถึงที่สุดและห้ามทำการก๊อปปี้คำตอบจาก ChatGPT ไปใช้โดยตรง.🟡 ถ้าเราต้องการให้ ChatGPT แนะนำ research gaps ให้เราเพิ่มก็พิมพ์คำสั่งไปว่าCan you give us two more potential research gaps for that same topic?7.) ตัวอย่างคำสั่งใช้ ChatGPT ช่วยคิดคำถามของงานวิจัยที่เราสนใจคล้ายกับการหา research gap ของหัวข้องานวิจัยที่เราสนใจการที่เราจะทำงานวิจัยนั้นเราก็ต้องมีการตั้งคำถามของงานวิจัยว่าเราจะทำงานวิจัยชิ้นนี้ไปเพื่ออะไรโดยเราก็สามารถใช้ ChatGPT ช่วยให้คำแนะนำกับเราได้🟡 ตัวอย่างคำสั่งCan you suggest some research questions around the topic of …...ใส่หัวข้องานวิจัยที่เราสนใจ......?Suggest two different research questions based on the following research gap: …...ใส่ research gap ของงานวิจัยที่เราสนใจ......Give two research questions based on the research gap: …...ใส่ research gap ของงานวิจัยที่เราสนใจ......🟡 ตัวอย่างการนำไปใช้จริงอย่างเช่นถ้าเราต้องการรู้คำถามของงานวิจัยในหัวข้อเกี่ยวกับ BNT162b2 mRNA COVID-19 vaccine in patients with chronic lymphocytic leukemia เราก็สามารถพิมพ์คำสั่งเข้าไปว่าCan you suggest some research questions around the topic of BNT162b2 mRNA COVID-19 vaccine in patients with chronic lymphocytic leukemiaChatGPT ก็จะให้คำตอบมาเป็นคำถามของงานวิจัยในหัวข้อเกี่ยวกับ BNT162b2 mRNA COVID-19 vaccine in patients with chronic lymphocytic leukemia ดังรูปด้านล่าง *ผู้เขียนงานวิจัยต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาความถูกต้องของคำตอบจาก ChatGPT อย่างระมัดระวังอย่างถึงที่สุดและห้ามทำการก๊อปปี้คำตอบจาก ChatGPT ไปใช้โดยตรง.8.) ตัวอย่างคำสั่งใช้ ChatGPT ช่วยทบทวนวรรณกรรม (literature review) งานวิจัยที่เราสนใจ.การทบทวนวรรณกรรมหรือ literature review นั้นเป็นส่วนหนึ่งของการเขียนงานวิจัยที่ต้องใช้เวลาเยอะมากในการตามอ่านงานวิจัยต่างๆซึ่งเราก็สามารถใช้ ChatGPT ช่วยเราในการทบทวนวรรณกรรมได้ด้วย🟡 ตัวอย่างคำสั่งCan you summarize the scholarly literature on …...ใส่หัวข้องานวิจัยที่เราสนใจ......?I am investigating …...ใส่หัวข้องานวิจัยที่เราสนใจ....... What are the key research papers on this topic I should read?I am interested in the topic …...ใส่หัวข้องานวิจัยที่เราสนใจ...... Which research paper would you suggest I read?🟡 ตัวอย่างการนำไปใช้จริงอย่างเช่นถ้าเราต้องการให้ ChatGPT ช่วยทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยในหัวข้อเกี่ยวกับ BNT162b2 mRNA COVID-19 vaccine in patients with chronic lymphocytic leukemia เราก็สามารถพิมพ์คำสั่งเข้าไปว่าCan you summarize the scholarly literature on BNT162b2 mRNA COVID-19 vaccine in patients with chronic lymphocytic leukemiaChatGPT ก็จะให้คำตอบมาเป็นการทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยในหัวข้อเกี่ยวกับ BNT162b2 mRNA COVID-19 vaccine in patients with chronic lymphocytic leukemia ดังรูปด้านล่าง *ผู้เขียนงานวิจัยต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาความถูกต้องของคำตอบจาก ChatGPT อย่างระมัดระวังอย่างถึงที่สุดและห้ามทำการก๊อปปี้คำตอบจาก ChatGPT ไปใช้โดยตรง.🟡 ถ้าเราต้องการให้ ChatGPT ใส่ in text citations ให้เราด้วยก็สามารถใส่คำสั่งCould you include in text citations for the previous answer?ChatGPT ก็จะให้คำตอบมาเป็นการทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยในหัวข้อเกี่ยวกับ BNT162b2 mRNA COVID-19 vaccine in patients with chronic lymphocytic leukemia เหมือนกับด้านบนแต่รอบนี้ ChatGPT ก็จะใส่ in text citations และลิสต์งานวิจัยอ้างอิงทั้งหมดมาให้เราด้วยดังรูปด้านล่าง! ทำให้เราสามารถที่จะไปตรวจสอบงานวิจัยที่ทาง ChatGPT ใช้ในการทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยให้เราได้ว่ามีความถูกต้องมั้ยซึ่งผู้เขียนแนะนำให้ผู้เขียนงานวิจัยไล่ตรวจสอบงานวิจัยทั้งหมดที่ ChatGPT ใช้อ้างอิงในการเขียนคำตอบให้เรานะว่ามีความถูกต้องหรือไม่เพราะบางงานวิจัยที่ ChatGPT ดึงมาอาจจะผิดก็เป็นได้นะ! *ผู้เขียนงานวิจัยต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาความถูกต้องของคำตอบจาก ChatGPT อย่างระมัดระวังอย่างถึงที่สุดและห้ามทำการก๊อปปี้คำตอบจาก ChatGPT ไปใช้โดยตรง.9.) ตัวอย่างคำสั่งใช้ ChatGPT ช่วยเขียนบทนำ (Introduction) ให้กับงานวิจัยของเรา.🟡 ตัวอย่างคำสั่งการใช้ ChatGPT ช่วยเขียนบทนำ เช่นI am writing research article on …...ใส่หัวข้องานวิจัยของเรา....... Can you write an introduction paragraph for me?I am writing a scholarly research article on …...ใส่หัวข้องานวิจัยของเรา........ Could you write an introduction for this paper?🟡 ตัวอย่างการนำไปใช้จริงอย่างเช่นถ้าเราต้องการให้ ChatGPT ช่วยเขียนบทนำ (Introduction) ให้กับงานวิจัยของเราในหัวข้อเกี่ยวกับ Efficacy of the BNT162b2 mRNA COVID-19 vaccine in patients with chronic lymphocytic leukemia เราก็สามารถพิมพ์คำสั่งเข้าไปว่าI am writing research article on Efficacy of the BNT162b2 mRNA COVID-19 vaccine in patients with chronic lymphocytic leukemia Can you write an introduction paragraph for me?ChatGPT ก็จะให้คำตอบมาเป็นบทนำของงานวิจัยในหัวข้อเกี่ยวกับ Efficacy of the BNT162b2 mRNA COVID-19 vaccine in patients with chronic lymphocytic leukemia ดังรูปด้านล่าง *ผู้เขียนงานวิจัยต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาความถูกต้องของคำตอบจาก ChatGPT อย่างระมัดระวังอย่างถึงที่สุดและห้ามทำการก๊อปปี้คำตอบจาก ChatGPT ไปใช้โดยตรงโดยเด็ดขาด.*ผู้เขียนแนะนำให้ผู้เขียนงานวิจัยใช้ ChatGPT ช่วยเขียนทบทวนวรรณกรรมและบทนำให้เป็นแนวทางก่อนและผู้เขียนงานวิจัยลองอ่านเป็นแนวทางและไปค้นคว้าข้อมูลอ่านเพิ่มเติมเองและเขียนทบทวนวรรณกรรมและบทนำใหม่ตามที่ผู้เขียนงานวิจัยต้องการเพราะว่าไม่มีใครเข้าใจงานวิจัยมากไปกว่าผู้เขียนงานวิจัยนั้นๆแล้วนะแม้กระทั่งกับ AI ในปัจจุบัน.10.) ตัวอย่างคำสั่งใช้ ChatGPT ช่วยเขียนวิธีการวิจัย (Materials and Methods)ในส่วนของ Materials and Methods นั้นนักวิจัยผู้ทำงานวิจัยเป็นผู้ที่รู้ดีมากที่สุดจึงควรที่จะเขียนด้วยตัวเองโดยอาจจะลองอ่านจากงานวิจัยอื่นๆที่ใช้ Materials and Methods เดียวกันหรือคล้ายๆกับของเราแล้วนำมาเขียนในรูปแบบของเราเองให้ตรงกับงานวิจัยของเราเองได้ซึ่งก็อาจจะไม่จำเป็นที่จะใช้ ChatGPT มาช่วยเขียนในส่วนนี้.แต่เราก็ยังสามารถใช้ ChatGPT ช่วยเราออกแบบการทดลองได้อยู่โดยใช้คำสั่ง เช่นDo you have tips for the experimental design for …...ใส่รายละเอียดของเรื่องที่เราต้องการศึกษา.......11.) ตัวอย่างคำสั่งใช้ ChatGPT ช่วยเขียนผลการวิจัย (Results)เมื่อเราได้ผลการทดลองมาแล้วว่าเราค้นพบอะไรเราก็สามารถใช้ ChatGPT ช่วยเขียนผลการวิจัยจากสิ่งที่เราค้นพบได้โดยพิมพ์คำสั่งPlease write a results section for a scholarly paper where we found that …...ใส่รายละเอียดของผลการทดลองที่เราค้นพบ....... Please write this in third person.12.) ตัวอย่างคำสั่งใช้ ChatGPT ช่วยเขียนการอภิปรายผลการวิจัย (Discussion)เมื่อเราเขียนในส่วนของผลการทดลองเสร็จแล้วนั้นส่วนต่อมาที่มีความสำคัญก็คือการอภิปรายผลการวิจัยซึ่งเราก็สามารถใช้ ChatGPT ในการช่วยอภิปรายผลการวิจัยในงานวิจัยของเราได้โดยใช้คำสั่งDiscuss the following results: …...ใส่ผลการทดลองที่เราต้องการให้ ChatGPT ช่วยอภิปรายผล.......Discuss these results: …...ใส่ผลการทดลองที่เราต้องการให้ ChatGPT ช่วยอภิปรายผล.......Can you compare these results to those reported by …...ใส่ชื่องานวิจัยที่เราต้องการให้ ChatGPT ช่วยเปรียบเทียบผลการทดลอง.......*ในส่วนของวิธีการทดลอง, ผลการทดลองและการอภิปรายผลการทดลองนั้นบทความนี้ไม่ขอยกตัวอย่างการใช้คำสั่งใน ChatGPT มาเนื่องจากค่อนข้างมีความเจาะจงต่อแต่ละงานวิจัยเป็นอย่างมากแนะนำให้ผู้เขียนลองนำคำสั่งไปปรับใช้ใน ChatGPT ตามงานวิจัยของตัวเองดูได้เลย.สรุปจะเห็นได้ว่า ChatGPT นั้นสามารถใช้เป็นตัวช่วยในการให้ไอเดียกับเราได้เป็นอย่างดีโดยเหมาะที่จะใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นก่อนที่เราจะต้องไปทำการตรวจสอบและค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำมาเขียนรายงานการวิจัยของเราโดยเฉพาะในส่วนของการทบทวนวรรณกรรม, การหา research gap, การหา research question และการเขียนบทนำที่ปกติจะเป็นส่วนที่ค่อนข้างจะใช้เวลานานและค่อนข้างสับสนเพราะบางครั้งต้องอ่านงานวิจัยหลายสิบเปเปอด้วยกันดังนั้นบางทีการใช้ ChatGPT มาเป็นตัวช่วยก็อาจจะทำให้การทบทวนวรรณกรรมและการเขียนบทนำของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้นก็ได้.นอกจาก ChatGPT แล้วนั้นในการช่วยทบทวนวรรณกรรมผู้เขียนก็อยากจะแนะนำเว็บไซต์ Scispace ที่ผู้เขียนเคยสอนใช้ไว้ที่ลิงก์นี้ สอนใช้ Scispace โดยผู้เขียนได้เคยลองใช้และพบว่าช่วยทบทวนวรรณกรรมได้ดีมากๆเหมือนกันถ้าใครสนใจก็ลองเข้าไปอ่านกันได้นะ.นอกไปจากที่ผู้เขียนได้รีวิวการใช้ ChatGPT ในการช่วยเขียนงานวิจัยไปในบทความนี้แล้วนั้น ChatGPT ยังสามารถที่จะทำอะไรได้อีกมากมายเลยซึ่งผู้เขียนก็อยากจะให้ผู้อ่านทุกคนได้ลองเข้าไปเล่นดูแต่ก็อย่าลืมว่าข้อมูลที่ได้จาก ChatGPT ต้องตรวจสอบความถูกต้องก่อนเสมอนะและถ้ามีโอกาสในบทความต่อๆไปผู้เขียนจะมาเขียนเกี่ยวกับข้อจำกัดและข้อเสียของการใช้ ChatGPT ในการเขียนงานวิจัยกันฝากผู้อ่านทุกคนติดตามไว้ด้วยนะครับ.เครดิตภาพรูปภาพทั้งหมดแคปโดยครีเอเตอร์อินไปเรื่อยจาก ChatGPT .