สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านทุกท่าน ^^วันนี้ผู้เขียนจะพาท่านผู้อ่านไปเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดทำงบประมาณของประเทศไทยกันนะคะว่า ปัจจุบันเรามีขั้นตอนและกระบวนการอย่างไรกว่าจะออกมาเป็นพระราชบัญญัติงบประมาณในแต่ละปี ซึ่งเงินต่าง ๆ เหล่านี้นี่เองที่จะคอยนำมาพัฒนาประเทศไทยของเราให้มีความก้าวหน้า และแก้ปัญหาต่าง ๆ ภายในประเทศนั่นเองค่ะ"งบประมาณ หรือที่เรียกว่า "Budget" ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการว่าจะไปดำเนินการในเรื่องใดบ้าง ซึ่งประเทศไทยในปัจจุบันนั้นได้เน้นการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์หรือที่เราเรียกกันง่าย ๆ ว่า “SPBB” หรือชื่อเต็ม ๆ ก็คือ Strategic Performance - Based Budgetingซึ่งเป็นการทำงบประมาณโดยเน้นยุทธศาสตร์ระดับชาติ และนโยบายของรัฐบาลเป็นหลักในการที่จะจัดทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นให้เกิดประโยชน์และเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเน้นเรื่องความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ว่างบประมาณที่จะจัดสรรลงไปนั้นได้ประโยชน์กับประชาชนจริง ๆ หรือไม่อย่างไร โดยมีตัวชี้วัดและผลสัมฤทธิ์เป็นตัวกำหนดนั่นเองค่ะสำหรับขั้นตอนของกระบวนการจัดทำงบประมาณของประเทศไทยในปัจจุบันนั้น มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง มาติดตามกันดูนะคะซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่คนทั่วไปต้องรู้เพื่อที่จะได้ทราบว่าภาษีเงินได้ที่เราเสียไปให้กับรัฐนั้น รัฐได้มีการจัดสรรกลับลงไปถึงประชาชนอย่างไรบ้าง1. ขั้นการทบทวนและจัดเตรียมงบประมาณสำหรับการจัดเตรียมงบประมาณนั้น เป็นการเตรียมประมาณการรายรับและประมาณการรายจ่าย กล่าวคือ ต้องจัดเตรียมงบประมาณตามนโยบายที่ได้กำหนดไว้ โดยนโยบายนี้จะต้องเป็นนโยบายของส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ ในขั้นตอนการทบทวนงบประมาณนั้นจะต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2580)แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2564)นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2564)นโยบายของรัฐบาลและสอดคล้องกับการจัดทำงบประมาณตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงค่ะ2. การจัดเตรียมงบประมาณ โดยจะต้องมีการกำหนดวงเงินของแต่ละส่วนราชการหรือหน่วยงาน เพื่อให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ นั้นทราบจากนั้นส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ก็จะต้องจัดทำคำขอตั้งงบประมาณให้สอดคล้องกับนโยบายที่ได้มีการกำหนดไว้ค่ะ3. การอนุมัติงบประมาณคือ การที่ฝ่ายบริหาร ได้แก่ นายกและคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้นำเสนอต่อฝ่ายบริหาร เมื่อฝ่ายบริหารพิจารณาเสร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนกระบวนการทูลเกล้าถวายเพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไปนั่นเองค่ะ4. การบริหารงบประมาณก็คือ ขั้นตอนของการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณซึ่งเป็นกรณีที่โครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณมานั้นไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยจะต้องมีการขออนุมัติเพื่อเปลี่ยนแปลงไปทำโครงการอื่น ๆ ที่มีความพร้อมแทนนั่นเองค่ะ5. ขั้นตอนสุดท้าย ก็คือขั้นตอนการติดตามงบประมาณเป็นการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณว่าส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไปนั้น ได้มีการนำเงินไปใช้อย่างไรบ้างมีผลการเบิกจ่ายเป็นอย่างไร สอดคล้องกับผลผลิตหรือโครงการตามที่ได้รับอนุมัติไปแล้วหรือไม่นั่นเองค่ะ อีกทั้งยังเป็นการติดตามเพื่อเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนการเบิกจ่ายที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆได้มีการวางแผนไว้ตามแต่ละไตรมาสนั่นเองค่ะเป็นอย่างไรกันบ้างคะ พอจะมองเห็นภาพของกระบวนการจัดทำงบประมาณของประเทศไทยกันบ้างแล้วใช่ไหมคะว่ามีขั้นตอนคร่าว ๆ อย่างไร กว่าจะได้งบประมาณเพื่อไปดูแลประชาชนนั้น มีวิธีการและขั้นตอนที่ยุ่งยากพอสมควรและมีหลายขั้นตอนมาก ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้งบประมาณที่ได้มาจากภาษีของประชาชนนั้นสามารถกลับคืนสู่ประชาชนโดยให้เกิดความคุ้มค่าและมีประโยชน์มากที่สุดนั่นเองค่ะคราวหน้าผู้เขียนจะมาให้ความรู้เรื่องอะไรกันต่อนั้น อย่าลืมติดตามกันด้วยนะคะ ขอบคุณและบ๊ายบายค่า… ^___^ขอบคุณรูปภาพทั้งหมดจาก : Pixabay ภาพหน้าปก / รูปประกอบที่ 1 / รูปประกอบที่ 2 / รูปประกอบที่ 3 / รูปประกอบที่ 4