การเก็บเล็กผสมน้อยเป็นสิ่งที่ทุกอยากทำ ใครก็อยากมีเงินเก็บ การเริ่มต้นคือสิ่งสำคัญถ้าไม่มีหนึ่งก็ไปสองก็คงยาก จะลัดไปสิบยิ่งยากมากขึ้นไปอีก วันนี้ผมจะมาแนะนำสิ่งใกล้ตัวเราทุกๆคนกัน นั่นคือ Latte Factorลาเต้แฟคเตอร์ ( Latte Factor ) เป็นคำทับศัพท์มาจากต้นแบบต่างชาติที่กำหนดคำนี้ไว้ ซึ่งหมายถึง “เงินที่เราจ่ายออกไปกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป” ถ้าใครมีสิ่งที่เรียกว่า Latte Factor หลายตัว ก็จะยิ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินคุณหดหายไปมากขึ้นเท่านั้น สิ่งเหล่านี้เกิดในชีวิตประจำวันของเราทั้งนั้น ผมจะขอรวบรวมตัวอย่างจากตัวผมเองและที่ฟังจากคนรอบข้าง ว่าที่ผ่านมานั้น Latte Factor ที่ต้องระวัง เพื่อไม่ให้จ่ายเงินกับมันมากเกินไป มีอะไรบ้าง ขอใช้คำว่า “มากเกินไป” เพราะ จุดที่เกินไปของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกันนะครับ นั่นหมายถึงว่า บางคนอาจจะมีการจัดการแบ่งเงินเพื่อสิ่งนั้นอยู่แล้ว ก็ขอให้ระมัดระวังการใช้เกินงบแทนได้ และ ใครที่ยังไม่ได้ลองตั้งงบให้กับตัวเอง ก็ลองอ่านและเริ่มทำตามสักหนึ่งข้อสองข้อดูก่อน หรือ ใครจะไปปรับใช้อย่างไรให้เหมาะสมกับตัวเองนั้นก็จะดีมากๆเลย1. กาแฟ-เครื่องดื่ม-ขนมกาแฟลาเต้ เป็นที่มาของชื่อ Latte Factor นั่นคือเจ้ากาแฟที่เราทานไปทุกวันนี่หละ ในส่วนนี้เป็นส่วนที่อ่อนไหวเพราะเป็นเรื่องรสนิยม เพราะผมเองก็มีค่ากาแฟและเครื่องดื่มอื่นๆทุกวันเหมือนกัน ผมเลยขอยกตัวอย่างของผมเองแทนว่า ผมทานกาแฟสดราคา 50 บาท สลับกับ กาแฟชงตามร้าน ราคา 25 บาท นั่นแปลว่าถ้าผ่านไป 10 วัน ผมจะใช้เงิน 375 บาท แต่ถ้าผมทานกาแฟสดทุกวัน ผมจะใช้เงิน 500 บาท ต่างกันถึง 125 บาท สำหรับแต่ละท่านเองถ้าลดไม่ได้จริงๆ ก็ไม่เป็นไรครับ เหมือนที่ผมออกตัวไว้ตอนแรกว่า ถ้าเกินพอดี ค่อยลดลง2. ทานข้าวห้าง-ทานข้าวนอกบ้านผมเป็นคนหนึ่งที่เคยชอบทานข้าวห้างมาก่อน ในแบบที่กินทุกสัปดาห์ ไม่ใช่เพียงแค่มื้ออาหาร แต่ต้องตามด้วยไอศครีมด้วย รวมแล้วก็เฉลี่ย 500 บาทที่หมดไปกับเฉพาะของกิน บางสัปดาห์ก็ทำทั้งเสาร์และอาทิตย์เลย รวมหนึ่งเดือนก็เฉลี่ยที่ 4,000 บาท จึงทำให้ผมใช้เงินกับสิ่งเหล่านี้มากเกินไปมากๆ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้คือผมคนเดียวนะ ไม่ใช่กับครอบครัวหรือกับแฟน ที่ผมต้องเปลี่ยนคือ ผมไม่ได้ตัดมันทิ้งไป แต่ตั้งงบขึ้นมาเพื่อมื้อรางวัลมื้อความสุข คำนวณไปมาก็จบที่เดือนละ 3,000 บาท แล้วก็ไปปรับพฤติกรรมตัวเองอีกนิดหน่อย ถ้าอยากทานข้าวห้างบ่อยๆ ก็อย่าไปทานมื้อราคาสูง ถ้าทานมื้อราคาสูงก็ต้องบริหารจัดการให้ทั้งเดือนอยู่ในงบให้ได้ก็พอ3. สื่อบันเทิงต่างๆสื่อออนไลน์และสื่อออฟไลน์ต่างๆ เป็นสิ่งช่วยให้ชีวิตเราผ่อนคลาย และ หากสิ่งที่คุณรับชมรับอ่านรับฟังนั้น สามารถนำไปต่อยอดได้ก็เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมมาก แต่ปัญหาที่ผมเจอมากับตัว คือ ใจร้อนที่จะจ่ายเกินไปหน่อย โดยเฉพาะหนังสือที่บางเล่มซื้อมาเกิน 3 ปีแล้ว ยังไม่ได้เปิดอ่านมันเลย อาจจะเป็นเพราะความสนใจในเวลานั้นที่นำพาเงินผมไปแลกหนังสือเล่มนั้นมา ซึ่งก็ไม่มีอะไรรับประกันว่าผมเปิดอ่านแล้วจะชอบมันจริงๆไหมด้วย หรือแม้แต่สตรีมมิ่งที่บางเดือนผมไม่ได้ชมอะไรสักเรื่องเลย แต่ก็ยังสมัครไว้อยู่ ก็ดูจะไม่คุ้มค่าที่จ่ายเงินออกไปด้วยกับของตัวของคุณเองก็เช่นกัน ลองค้นหาว่า จ่ายเงินกับความบันเทิงใดที่เกินไป หรือ ไม่คุ้มค่าบ้าง อยู่บ้างไหม หากปรับลดได้ส่วนต่างนั้นก็จะเป็นเงินเก็บของคุณสะสมไป4. อินเตอร์เนตบ้าน-มือถือโดยส่วนตัว คือ มีประสบการณ์กับการใช้อินเตอร์เนตบ้าน ที่จ่ายแพงเกินไป ให้ข้อมูลก่อนว่าผมอยู่ตัวคนเดียวในบ้าน ก่อนหน้านี้ใช้แบบไฟเบอร์เข้าเร้าเตอร์แล้วปล่อยไวไฟ ความเร็ว 100mbps ค่าใช้จ่ายเดือนละ 600กว่าบาท จนได้รู้เพิ่มเติมสองเรื่องว่า (1) รู้จักซิมเทพ และ (2) รู้ว่าสตรีมมิ่งต่างๆไม่จำเป็นต้องใช้ถึง 100mpbs เป็นคำแนะนำจากพี่ชายผม ให้ใช้ซิมเทพและเร้าเตอร์ในบ้านแทน ผลที่ได้คือมีเงินเหลือจากเดิมเฉลี่ยเดือนละ 500 บาท หากใครอยู่คนเดียวแล้วใช้เนตแบบไฟเบอร์อยู่ ลองใช้วิธีนี้ดูนะครับในรูปแบบเดียวกัน หากใครใช้มือถือสองซิมอยู่แล้ว ก็สามารถหาซิมเทพมาใช้งานกับอุปกรณ์ของคุณได้ ก็จะทำให้ประหยัดได้มากขึ้นเช่นกัน5. ซื้อของออนไลน์ข้อนี้เป็นประสบการณ์จากคนรอบตัว ด้วยโลกที่เปลี่ยนไปมาก ไม่มีอะไรที่สั่งผ่านออนไลน์ไม่ได้ แม้แต่ของเล็กๆน้อยๆก็ไม่จำเป็นต้องลุกออกไปจากเก้าอี้หรือที่นอนก็สามารถสั่งของมาส่งถึงหน้าบ้านได้แล้ว จึงทำให้การตัดสินใจเราฉาบฉวยเกินไป กดสั่งของที่ไม่จำเป็นมาเพิ่ม กดสั่งของโดยไม่ได้เทียบราคา กดสั่งของโดยไม่ได้อ่านรีวิว ทั้งหมดส่งผลให้จ่ายเงินออกไปโดยเสียเปล่าได้ หนทางแก้ที่ผมแนะนำคือ(1) เทียบราคาและอ่านรีวิวของร้านค้านั้นให้ดีก่อน ดูคะแนนให้ดี ถ้าเจอร้านที่ถูกก็กดใส่ตะกร้าไว้(2) ของในตะกร้า ยังไม่ต้องกดสั่ง ให้ปล่อยเวลาออกไปเกินกว่าหนึ่งวันก่อน เพื่อตรวจสอบว่าเราต้องการสิ่งนี้ไหม ว่าง่ายๆคือ “แค่อยาก หรือ มันจำเป็น”ขั้นตอนสองข้อที่แนะนำข้างบนจริงๆแล้วใช่ได้กับทั้งหน้าร้านทั่วไปด้วย คุณอาจจะเดินไปเจอของสักชิ้นที่ถูกใจเมื่อแรกเห็น ผมก็แนะนำให้ปล่อยเวลาข้ามวัน แล้วพิจารณาว่าสิ่งนั้นแค่อยากหรือจำเป็น6. ลอตเตอรี่แต่ก่อนนั้นผมจะซื้อลอตเตอรี่งวดละสองใบเรียกว่าเป็นความตั้งใจที่จะทำ ก็คงเหมือนกับหลายๆท่านที่มีการซื้อประจำอยู่มากน้อยตามแต่ละท่านไป จนปัจจุบันนี้ผมไม่ได้กำหนดว่าตั้งใจต้องซื้อทุกงวดแล้ว ไว้อยากซื้อก็ซื้อ และถ้าซื้อก็จะซื้อเพียงหนึ่งใบเท่านั้น แน่นอนว่ารายจ่ายส่วนนี้ลดลงไปแน่นอนจากการที่ไม่ได้จ่ายออกไป ใครที่มีการจ่ายส่วนนี้อยู่ก็ลองปรับตัวลดยอดลงสักงวดละใบก็ได้นะ รวมๆแล้วคุณอาจจะมีเงินเก็บได้มากกว่ารอรางวัลก็ได้7. ซื้อของเพื่อชิงรางวัลหรือแลกสิ่งต่างใครเล่าจะไม่เคยเป็นเหยื่อการตลาดบ้าง ซื้อของครบ 100 บาท รับ 1 สิทธิ์ , ซื้อของครบ 50 บาท รับแสตมป์ 1 ดวง , ซื้อครบ 1,000 บาท รับแต้มพิเศษสองเท่า สิ่งเหล่านี้โน้มน้าวและพาเราไปสู่การซื้อของเกินจำเป็น จากตอนแรกตั้งใจจะซื้อเฉพาะของจำเป็น ก็กลายเป็นซื้อของยังไม่จำเป็นติดมาด้วย ถ้าได้ใช้งานในอนาคตก็ถือว่าไม่เป็นอะไร แต่หากเป็นของมีอายุหมดอายุไปต้องทิ้งก็เหมือนเอาเงินไปทิ้ง ไม่มีคำแนะนำใดจะดีกว่าไปลองประเมินดีๆว่าคุ้มค่าหรือไม่ และ ดูวันหมดอายุดูคุณภาพสินค้าที่ซื้อเพิ่มหรือที่แลกมาให้ดี สรุปประเด็นสำคัญตรวจสอบพฤติกรรมตนเอง ว่าใช้จ่ายกับอะไรบ้างลดสิ่งที่มากเกินไป สิ่งที่เกินจำเป็นลงลองใช้การตั้งงบเพื่อกิจกรรมต่างๆดู เช่น งบกินข้าวห้าง เป็นต้นซื้อของแต่ละครั้ง ต้องรู้ตัวว่า แค่อยาก หรือ จำเป็นหวังว่าสิ่งนี้ จะมีประโยชน์ต่อคุณผู้อ่าน ขอบคุณที่ตามอ่านครับ____________________ขอบคุณภาพและผลงานต่างๆ ไว้ ณ ที่นี้ด้วยภาพปก : โดยผู้เขียนภาพที่ 1 : โดย Pexels จาก Pixabayภาพที่ 2 : โดย Karrie Zhu จาก Pixabayภาพที่ 3 : โดย justynafaliszek จาก Pixabayภาพที่ 4 : โดยผู้เขียน เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !