รีเซต

ความเสี่ยงค่าเงินของกองทุนลงทุนตปท. Hedged-Unhedged แตกต่างกันอย่างไร?

ความเสี่ยงค่าเงินของกองทุนลงทุนตปท. Hedged-Unhedged แตกต่างกันอย่างไร?
ทันหุ้น
4 กรกฎาคม 2567 ( 18:02 )
3

กองทุน FX Hedged Vs กองทุน FX Unhedged

#กองทุนรวม #ทันหุ้น - บล.อินโนเวสท์เอกซ์เผยแพร่บทความระบุว่า การลงทุนในต่างประเทศด้วยกองทุนรวม หลักการทั่วไปของกองทุนประเภทนี้ คือ กองทุนรวมจะนำเงินบาทที่ระดมมาได้จากนักลงทุน นำไปแลกเป็นสกุลเงินต่างประเทศ เช่น สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แล้วก็นำไปลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ เป็นต้น

 

โดยนโยบายการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุนรวมในไทยจะแบ่งเป็น 3 แบบ คือ ไม่ป้องกันความเสี่ยง ป้องกันความเสี่ยงทั้งจำนวน และป้องกันความเสี่ยงตามดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน

 

สำหรับกองทุนที่มีนโยบายไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ผลกำไรของกองทุนรวมก็จะถูกผลกระทบของค่าเงินไทยบาทและดอลลาร์สหรัฐฯ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ตอนที่นำเงินไปลงทุนหุ้นสหรัฐฯ ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ที่ 35 บาท/ดอลลาร์ แต่เมื่อเวลาผ่านไปนักลงทุนต้องการถอนเงินกลับมา โดยขณะนั้นหากหุ้นสหรัฐฯ ที่ลงทุนอยู่มีกำไรอยู่ 5% แต่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ณ เวลานั้นอยู่ที่ 33.95 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 3%หากมีการแลกกลับมาเป็นบาทก็จะทำให้ผลตอบแทนที่ได้รับจริงๆ อาจจะเหลือประมาณ 2% (จาก 5% - 3%)

 

ในทางกลับกันหากค่าเงินบาท ณ ตอนที่แลกกลับมาอยู่ที่ 36.05 บาท/ดอลลาร์ หรือค่าเงินบาทอ่อนค่า 3% ก็จะทำให้ผลตอบแทนที่ได้รับจริงๆ เมื่อแลกกลับมาเป็นบาทเพิ่มขึ้นเป็น 8% ( จาก 5% + 3%) ดังนั้นการไม่ป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ผู้ลงทุนอาจได้รับโอกาสในการได้รับผลตอบแทนเพิ่มเติมจากค่าเงินและไม่มีต้นทุนของการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน แต่จะมีความเสี่ยงด้านความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการเปลี่ยนแปลงไป

 

กรณีที่กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไว้ ผลกำไรของกองทุนรวมก็จะไม่ได้รับผลกระทบของค่าเงินไทยบาทและดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่ลงทุนอยู่มีกำไรอยู่ 5%แต่ระหว่างทางที่มีการลงทุนอยู่ กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไว้ จึงมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ โดยเฉลี่ยแล้วในปัจจุบันอาจจะอยู่ที่ประมาณ 3%ต่อปี จึงอาจจะทำให้ผลตอบแทนที่เราได้รับจริงๆ เมื่อแลกกลับมาจะเหลือเพียง 2% (จาก 5% - 3%) ดังนั้นประโยชน์ของการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน ได้แก่ 1) ช่วยลดความผันผวนจากผลกระทบของค่าเงินต่อผลตอบแทนของกองทุนรวม 2) คาดการณ์ผลการดำเนินงานของกองทุนได้ดีกว่าเนื่องจากเป็นผลการดำเนินงานที่มาจากตัวสินทรัพย์จริงๆ ซึ่งไม่ได้มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาเกี่ยวข้อง

 

สำหรับคำแนะนำแก่ผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ ทางเราได้แนะนำให้ลงทุนในกองทุนที่มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน หรือกองทุนที่มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลพินิจ เนื่องจากจะมีผู้จัดการกองทุนที่คอยทำการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนให้ตามสภาวะตลาดและตามความเหมาะสม

 

ขณะที่ผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงที่สามารถรับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้ หรือ มีมุมมองด้านอัตราแลกเปลี่ยน เช่น มองว่าเงินบาทอาจอ่อนค่าเทียบสกุลเงินที่ลงทุนในอนาคต ก็สามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่ไม่ได้มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้ ซึ่งอาจมีความผันผวนที่สูงกว่า แต่ว่าไม่ต้องเสียค่าต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงสำหรับการลงทุน

 

หากคุณอยากลงทุนในตราสารหนี้โลก ที่ตอนนี้ยีลด์สูงถึง 4%-7% ต่อปี + มีมุมองเรื่องค่าเงินว่า บาทอาจอ่อนค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ และสามารถรับความเสี่ยงดังกล่าวได้

 

เราขอแนะนำ "UGISFX-N" กองทุนตราสารหนี้โลกคุณภาพ ควบคู่กับการสร้างผลตอบแทน

*IPO วันนี้-9ก.ค. 67 ซื้อได้ผ่านแอปพลิเคชัน InnovestX เริ่มต้นเพียง 1 บาท

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง