แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จำนวน 55 ข้อ พร้อมเฉลยบทนำ แนวข้อสอบ “แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534” เพื่อให้ผู้ที่สนใจสอบราชการ อ่านเป็นแนวทางในการสอบและได้ทดสอบก่อนสอบจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้แนวทางที่เหมาะสมและครบถ้วนทั้งนี้เนื้อหาในข้อสอบนี้มีการอธิบายเพิ่มเติมแต่ละคำตอบ และผู้เขียนได้รวบรวมสาระสำคัญของ และความยากของ“แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534” ไว้ในนี้แล้ว1.พระราชบัญญัตินี้ฯ ให้ไว้ ณ. วันใดก. วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2534ข.วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2534ค.วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2534ง.วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2534ตอบ ข.2. พระราชบัญญัติขึ้นไว้โยคำแนะนำและยินยอมตามข้อใดก.สภานิติบัญญัติ แห่งชาติข.วุฒิสภาพ แห่งชาติค.รัฐสภา แห่งชาติง.ไม่มีข้อใดถูกตอบ ก.3.พระราชบัญญัตินี้ฯ ให้ใช้บังคับเมื่อใดก.ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาหนึ่งร้อยแปดสิบวันข.ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาหนึ่งร้อยยี่สิบวันค.ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเก้าสิบวันง.ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปตอบ ง.4.การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไปตามข้อใดก.เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนข.ความมีประสิทธิภาพค.ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐง.ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 3/1 2 การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิด ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็นการกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจาย อำนาจตัดสินใจ การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบ ต่อผลของงาน6.การจัดสรรงบประมาณ และการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ากำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ต้องคำนึงถึงตามข้อใดก.เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนข.ความมีประสิทธิภาพค.ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐง.ถูกทุกข้อตอบ ง.7.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “ให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน”ก.ระเบียบบริหารราชการส่วนกลางข.ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคค.ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นง.ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 4 ให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้ (1) ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง (2) ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค (3) ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น8.ให้ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ก.นายกรัฐมนตรีข.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีค.คณะกรรมการนายกรัฐมนตรีง.เลขานุกรรมคณะนายกรัฐมนตรีตอบ ก.9.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง”ก.องค์การบริหารส่วนจังหวัดข.สำนักนายกรัฐมนตรีค.ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงง.กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวงตอบ ก.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 7 ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ดังนี้(1) สำนักนายกรัฐมนตรี(2) กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง(3) ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง(4) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนัก นายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง10.สำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นอะไรก.กรมข.กระทรวงค.ทบวงง.ราชการตอบ ข.11.ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณมีหน้าที่ตรวจสอบดูแลมิให้มีการ กำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดกี่ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาก.หนึ่งปีข.สองปีค.สามปีง.สี่ปีตอบ ค.12.การยุบส่วนราชการให้ตราเป็นตามข้อใดก.พระราชกฤษฎีกาข.ตามที่รัฐมนตรีกำหนดค.ความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรีง.ตามที่กำหนด กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับตอบ ก.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 8 จัตวา 6 การยุบส่วนราชการตามมาตรา 7 ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบส่วนราชการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้งบประมาณรายจ่ายที่เหลืออยู่ของส่วน ราชการนั้นเป็นอันระงับไป สำหรับทรัพย์สินอื่นของส่วนราชการนั้นให้โอนให้แก่ส่วนราชการอื่นหรือหน่วยงานอื่น ของรัฐ ตามที่รัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งกำหนดโดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรี สำหรับวิธีการจัดการกิจการ สิทธิและหนี้สินของส่วนราชการนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราช กฤษฎีกา13.ในกรณีที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐประสงค์จะรับโอนข้าราชการหรือลูกจ้างให้กระทำได้โดยมิให้ถือว่าข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นได้พ้นจากราชการ แต่ทั้งนี้ต้อง กระทำภายในกี่วัน นับแต่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับก.สามสิบวันข.สี่สิบห้าวันค.หกสิบวันง.หนึ่งร้อยยี่สิบวันตอบ ก.14.การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานรัฐมนตรี กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม ให้ออกเป็นกฎกระทรวงและให้ระบุอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ตามข้อใดก.ระเบียบราชการข.กฎกระทรวงค.ตามกฎหมายง.ถูกทุกข้อตอบ ข.15.ให้ส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีบรรดาที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม มีฐานะเป็นเป็นอะไรก.กรมข.กระทรวงค.ทบวงง.ราชการตอบ ก.16.สำนักนายกรัฐมนตรีมีหน่วยงานใดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการก.คณะกรรมการรัฐมนตรีข.เลขานุการรัฐมนตรีค.นายกรัฐมนตรีง.ปลัดนายกรัฐมนตรีตอบ ค.17.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี” ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลก.กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดินข.บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่ เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมค.แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีง.ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 11 นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (1) กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการนี้จะสั่งให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วน ภูมิภาค และส่วนราชการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงานเกี่ยวกับการ ปฏิบัติราชการ ในกรณีจำเป็นจะยับยั้งการปฏิบัติราชการใด ๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรีก็ได้และมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการ ส่วนท้องถิ่น(2) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการของกระทรวง หรือทบวงหนึ่งหรือหลาย กระทรวงหรือทบวง (3) บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่ เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม(4) สั่งให้ข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยจะให้ ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิม ให้ได้รับ เงินเดือนในสำนักนายกรัฐมนตรีในระดับ และขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม (5) แต่งตั้งข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งไปดำรงตำแหน่งของอีกกระทรวง ทบวง กรม หนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนจากกระทรวง ทบวง กรมเดิม ในกรณีเช่นว่านี้ให้ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งมีฐานะ เสมือนเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตนมาดำรงตำแหน่งนั้นทุกประการ แต่ถ้าเป็นการแต่งตั้ง ข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (6) แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี หรือเป็น คณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ และกำหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนให้แก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้ง (7) แต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี (8) วางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น (9) ดำเนินการอื่น ๆ ในการปฏิบัติตามนโยบาย18.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ “ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี”ก.สั่งให้ข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมข.รับผิดชอบควบคุมราชการประนำในสำนักนายกรัฐมนตรีค.เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีง.เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีตอบ ก.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 16 สำนักนายกรัฐมนตรี นอกจากมีนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี ให้มีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (1) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติ ราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และลำดับความสำคัญของแผนการปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการใน สำนักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไปตามนโยบายที่นายกรัฐมนตรีกำหนดรวมทั้งกำกับ เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการ ปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี(2) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีรองจากนายกรัฐมนตรี รอง นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยกเว้นข้าราชการของส่วนราชการซึ่งหัวหน้าส่วนราชการ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี(3) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและรับผิดชอบในการปฏิบัติ ราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี19.ในการปฏิบัติราชการของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้มีใครเป็น ผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ และจะให้มีผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก.ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีข.เลขาปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีค.รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีง.ข้าราชการตอบ ค.20.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “จัดระเบียบราชการของกระทรวง”ก.สำนักงานรัฐมนตรีข.สำนักงานปลัดกระทรวงค.กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นง.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 18 ให้จัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้ (1) สำนักงานรัฐมนตรี(2) สำนักงานปลัดกระทรวง(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางกระทรวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วน ราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้21. สำนักงานรัฐมนตรี และ สำนักงานปลัดกระทรวง มีฐานเป็นอะไรก.ทบวงข.กรมค.กระทรวงง.บริษัทหาชนตอบ กรม22.การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหรือทบวง ให้เป็นไปตามข้อใดก.กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมข.กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กระรวงค.กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง ทบวงง.กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กรมตอบ ก.23.วางแผนและประสานกิจกรรมให้มีการใช้ทรัพยากรของส่วนราชการต่าง ๆ ในกระทรวงร่วมกันเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และบรรลุเป้าหมายของกระทรวง เป็นอำนาจหน้าที่ของใครก. ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวงข.ปลัดกระทรวง หัวหน้ากลุ่มภารกิจและหัวหน้าส่วนราชการตั้งแต่ระดับกรมขึ้นไปค.สำนักงานรัฐมนตรี เลขาสำนักงานรัฐมนตรีง.สำนักงานปลัดกระทรวง คณะสำนักงานปลัดกระทรวงตอบ ข.24.รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในกระทรวง แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติ ราชการ กำกับการทำงานของส่วนราชการในกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประสานการปฏิบัติงานของส่วน ราชการในกระทรวงให้มีเอกภาพสอดคล้องกัน รวมทั้งเร่งรัดติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วน ราชการในกระทรวง เป็นอำหน้าหน้าที่ของใครก.รัฐมนตรี ข.สำนักงานรัฐมนตรี ค.ปลัดกระทรวงง.รองจากรัฐมนตรีตอบ ค.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 21 ในกระทรวงให้มีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้(1) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในกระทรวง แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติ ราชการ กำกับการทำงานของส่วนราชการในกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประสานการปฏิบัติงานของส่วน ราชการในกระทรวงให้มีเอกภาพสอดคล้องกัน รวมทั้งเร่งรัดติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วน ราชการในกระทรวง(2) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี(3) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ สำนักงานปลัดกระทรวง25.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การจัดระเบียบราชการในทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง”ก.สำนักงานรัฐมนตรีข.สำนักงานปลัดทบวงค.กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นง.ถูกทุกข้อตอบ ง.26.ในกรณีที่สำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงมีทบวงอยู่ในสังกัด และปริมาณและคุณภาพของราชการใน ทบวงยังไม่สมควรจัดตั้งสำนักงานปลัดทบวง จะให้หน่วยงานใด ทำหน้าที่สำนักงานปลัดทบวงด้วยก็ได้ก.สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีข.สำนักงานปลัดกระทรวงค.สำนักงานปลัดทบวงง.ถูกทั้ง ข้อ ก. และข้อ ข.ตอบ ง.27.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การจัดระเบียบราชการในกรม”ก.สำนักงานเลขานุการกรมข.กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกองค.สำนักงานตำรวจแห่งชาตง.ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.ตอบ ง.28.ใน กรมหนึ่ง มีอธิบดีกี่คนเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการก.หนึ่งคนข.สองคนค.สามคนง.สี่คนตอบ ก.29.หัวหน้าส่วนราชการเขตมีอำนาจหน้าที่ตามข้อใด เพื่อมาปฏิบัติงานทางวิชาการก.รับนโยบายและคำสั่งจาก กระทรวงข.รับนโยบายและคำสั่งจาก ทบวงค.รับนโยบายและคำสั่งจาก กรมง.รับนโยบายและคำสั่งจาก กระทรวง ทบวง กรมตอบ ง.30.ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมต้องมีใคร เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดก.รองเลขาธิการข.รองผู้อำนวยการค.ผู้ช่วยเลขาธิการง.ถูกทุกข้อตอบ ง.31.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การปฏิบัติราชการแทน”ก.ให้ทำเป็นหนังสือข.มอบหมายด้วยวาจาค.ได้รับอนุญาตจากหัวหน้างานง.ไม่มีข้อใดถูกตอบ ก.32.ในการมอบอำนาจ ให้ผู้มอบอำนาจพิจารณาถึงข้อใดก.การอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนข.ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการค.การกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตำแหน่งของผู้รับมอบอำนาจง.ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 40 ในการมอบอำนาจ ให้ผู้มอบอำนาจพิจารณาถึงการำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ การกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตำแหน่งของผู้รับมอบอำนาจ และ ผู้รับมอบอำนาจต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบอำนาจตามวัตถุประสงค์ของการมอบอำนาจดังกล่าว เมื่อได้มอบอำนาจแล้ว ผู้มอบอำนาจมีหน้าที่กำกับดูแลและติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบ อำนาจ และให้มีอำนาจแนะนำหรือแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจได้33.ให้หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ มีหน้าที่ปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการตามภารกิจตามข้อใดก.งานการให้บริการข.การให้บริการค.การอำนวยความสะดวกง.ถูกทั้ง ข้อ ก. แล ข้อ ข.ตอบ ง.34.รายได้ของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษเป็นรายได้ตามข้อได้ก.เป็นรายได้ที่ไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังข.เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งคลังค.เป็นรายได้แผ่นดินง.เป็นรายได้ที่ไม่ต้องนำส่งคลังตอบ ก.35.ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ มอบหมายให้ใครรักษาราชการแทนก.รองนายกรัฐมนตรีข.คณะรัฐมนตรีค.ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีง.รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงตอบ ก.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 41 ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการ แทน ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคน ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษา ราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรี มอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน36.ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทนก.รองนายกรัฐมนตรีข.คณะรัฐมนตรีค.ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีง.รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงตอบ ค.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 43ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีหลายคน ให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน37.ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทนก.ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีข.รองปลัดกระทรวงค.รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงง.นายกรัฐมนตรีตอบ ก.38.ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้อธิบดีให้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทนก.ข้าราชการใน กรมซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ารองอธิบดีข.ข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าค.รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง39.ง.ถูกทั้ง ข้อ ก. และ ข้อ ข.ตอบ ง.39.การรักษาราชการแทน มิให้ใช้บังคับแก่ราชการในกกระทรวงที่เกี่ยวกับใครก.ครูข.ตำรวจค.ทหารง.หมอตอบ ค.40.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ““หัวหน้าคณะผู้แทน”ก.บรรดาข้าราชการฝ่ายพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายทหารประจำในต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล สถานรองกงสุล ส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศข.ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทนตามระเบียบพิธีการทูต หรือระเบียบพิธีการกงสุล ในกรณีของคณะผู้แทนถาวรไทยค.ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าคณะผู้แทน ในกรณีของคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การระหว่างประเทศง.ถูกทุกข้อตอบ ข.41.การสั่ง และการปฏิบัติราชการของกระทรวง ทบวง กรม ต่อบุคคลในคณะผู้แทนให้เป็นไปตามระเบียบที่ใครกำหนดก.นายกรัฐมนตรีข.รัฐมนตรีค.คณะรัฐมนตรีง.หัวหน้ารัฐบาลตอบ ค.42.ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทน หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทนก.รองหัวหน้าคณะผู้แทนข.เลขาคณะผู้แทนค.คณะรัฐมนตรีง.หัวหน้ารัฐบาลตอบ ก.43.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “อำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทน”ก.บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายข.บังคับบัญชาบุคคลในคณะผู้แทนและข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่มิใช่บุคคลในคณะผู้แทนซึ่งประจำอยู่ในประเทศที่ตนมีอำนาจหน้าที่ค.บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการง.ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 50/4 หัวหน้าคณะผู้แทนมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้ (1) บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ (2) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย หรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่ง การในฐานะหัวหน้ารัฐบาล (3) บังคับบัญชาบุคคลในคณะผู้แทนและข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่มิใช่บุคคลในคณะผู้แทนซึ่งประจำอยู่ในประเทศที่ตนมีอำนาจหน้าที่เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล (4) รายงานข้อเท็จจริงและความเห็นเกี่ยวกับผลการปฏิบัติราชการของบุคคลตาม (3) เพื่อ ประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการต้นสังกัดเกี่ยวกับการแต่งตั้งและการเลื่อนขั้นเงินเดือน44.การที่กระทรวง ทบวง กรม จะมอบอำนาจหรือมีคำสั่งใดที่เกี่ยวข้องไปยังหัวหน้าคณะ ผู้แทน ให้แจ้งผ่านใครก.กระทรวงการคลังข.กระทรวงการต่างประเทศค.กระทรวงการกลาโหนง.กระทรวงการมหาดไทยตอบ ข.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 50/4 การที่กระทรวง ทบวง กรม จะมอบอำนาจหรือมีคำสั่งใดที่เกี่ยวข้องไปยังหัวหน้าคณะ ผู้แทน ให้แจ้งผ่านกระทรวงการต่างประเทศ45.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค”ก.จังหวัดข.อำเภอค.ตำบลง.ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.ตอบ ง.46. จังหวัด และ อำเภอ มีฐานะเป็นอะไรก.รัฐบาลข.เอกชนค.นิติบุคคลง.บุคคลธรรมดาตอบ ค.47.ข้อใดหมายถึง “คณะกรรมการจังหวัด”ก.ผู้ว่าราชการจังหวัดข.ปลัดจังหวัดค.ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดง.ถูกทุกข้อตอบ ง.48.ในจังหวัดหนึ่งให้มีหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัดเรียกว่าอะไรก.อำเภอข.นายอำเภอค.เขตอำเภอง.รองนายอำเภอตอบ ก.49.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “อำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ”ก.บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการข.บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายค.ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอำเภอตามกฎหมายง.ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 65 นายอำเภอมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้ () บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถ้ากฎหมายใดมิได้บัญญัติว่า การปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ ให้เป็นหน้าที่ของนายอำเภอที่จะต้องรักษาการให้เป็นไป ตามกฎหมายนั้นด้วย(2) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่ง การในฐานะหัวหน้ารัฐบาล(3) บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้มีหน้าที่ตรวจการอื่นซึ่ง คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม และผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี(4) ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอำเภอตามกฎหมาย50.ข้อใดไม่ใช่การจัดระเบียบบริหารส่วนราชการส่วนท้องถิ่นก.องค์การบริหารส่วนจังหวัดข.องค์การบริหารส่วนจังหวัดค.เมืองพัทยาง.สุขาภิบาลตอบ ค.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 70 ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ดังนี้(1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด(2) เทศบาล(3) สุขาภิบาล(4) ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด51.ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผล คณะรัฐมนตรีจะกำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่น้อยกว่ากี่คนแต่ไม่เกินกี่คนต้องทำงานเต็มเวลาก็ได้ก.ไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินห้าคนข.ไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินเจ็ดคนค.ไม่น้อยกว่าสี่คนแต่ไม่เกินเจ็ดคนง.ไม่น้อยกว่าสี่คนแต่ไม่เกินห้าคนตอบ ก.52.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปีก.คราวละ หนึ่งปีข.คราวละ สองปีค.คราวละ สามปีง.คราวละ สี่ปีตอบ ง.53.เมื่อตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงก่อนวาระ ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในกี่วันก.สามสิบวันข.สี่สิบแปดสิบวันค.หนึ่งร้อยยี่สิบวันง.หนึ่งร้อยแปดสิบวันตอบ ก.54.กรณีที่วาระของกรรมการผู้ทรงวุฒิเหลือไม่ถึงกี่วันจะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก็ได้ก.สามสิบวันข.สี่สิบแปดสิบวันค.หนึ่งร้อยยี่สิบวันง.หนึ่งร้อยแปดสิบวันตอบ ง. อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 71/5 ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระและยังมิได้แต่งตั้งกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เมื่อตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงก่อนวาระ ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายใน สามสิบวัน เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก็ได้55.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “อำนาจหน้าที่ของ “คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ”ก.เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการและงานของรัฐอย่าง อื่นข.เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานอื่นของรัฐที่มิได้อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหารตามที่ หน่วยงานดังกล่าวร้องขอค.รายงานต่อคณะรัฐมนตรีในกรณีที่มีการดำเนินการขัดหรือไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดง.ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 71/10 “คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ” มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้(1) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการและงานของรัฐอย่าง อื่น ซึ่งรวมถึงโครงสร้างระบบราชการ ระบบงบประมาณ ระบบบุคลากร มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม ค่าตอบแทน และวิธีปฏิบัติราชการอื่น ให้เป็นไปตามมาตรา 3/1 โดยจะเสนอแนะให้มีการกำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์ และมาตรการก็ได้(2) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานอื่นของรัฐที่มิได้อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหารตามที่ หน่วยงานดังกล่าวร้องขอ(3) รายงานต่อคณะรัฐมนตรีในกรณีที่มีการดำเนินการขัดหรือไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา 3/1(4) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานในการจัดตั้ง การรวม การโอน การยุบ เลิก การกำหนดชื่อการเปลี่ยนชื่อ การกำหนดอำนาจหน้าที่และการแบ่งส่วนราชการภายในของส่วนราชการที่ เป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น(5) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการตราพระราชกฤษฎีกา และกฎที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้(6) ดำเนินการให้มีการชี้แจงทำความเข้าใจแก่ส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและประชาชน ทั่วไป รวมตลอดทั้งการฝึกอบรม(7) ติดตาม ประเมินผล และแนะนำเพื่อให้มีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ และรายงานต่อ คณะรัฐมนตรีพร้อมทั้งข้อเสนอแนะ(8) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายว่าด้วยการ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม รวมตลอดทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติ ในกรณีที่เป็นปัญหา มติของคณะกรรมการ ตามข้อนี้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย(9) เรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นประกอบการพิจารณา(10) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการพัฒนาและจัดระบบราชการและงานของรัฐอย่างอื่นเสนอต่อ คณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา(11) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่ มอบหมาย และจะกำหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนอื่นด้วยก็ได้(12) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย บทสรุป แนวข้อสอบ “พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534” ทางผู้เขียนได้เน้นสาระสำคัญของเนื้อหาและความยาก ที่เคยออกสอบบ่อย“พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534” เช่น ความหมายต่างๆ การจัดระเบียบบริหารราชากรกลาง การจัดระเบียบราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหรือทบวง การจัดระเบียบราชการในทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง การจัดระเบียบราชการในกรม การปฏิบัติราชการแทน การรักษาราชการแทน การบริหารราชการในต่างประเทศ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคจังหวัดและอำเภอ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ได้ลงไว้ในแนวข้อสอบนี้ไว้ หวังว่าผู้อ่านหรือผู้ที่สนใจมีแรงบันดาลใจจากแนวข้อสอบให้ อำนาจหน้าที่ของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดย ปลาทู อำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวง โดย ปลาทู อำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ โดย ปลาทู การจัดระเบียบบริหารส่วนราชการส่วนท้องถิ่น โดย ปลาทู อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ โดย ปลาทูภาพทั้งหมด โดย ปลาทูเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !