โมล เป็นหน่วยที่ใช้วัดปริมาณของสารในสาขาวิชาเคมี เนื่องจากสารที่สนใจอนุภาคที่มีขนาดเล็ก แต่มีปริมาณมากทำให้ยากต่อการวัดและสื่อสาร ลองนึกดูว่าถ้ามีคนมาบอกว่าเรามีเกลือแกงอยู่ 6.02 แสนล้านล้านล้านโมเลกุลในถุงใบนี้ ก็คงจะงงไม่น้อยว่ามันเยอะมากหรือน้อยนิดกันแน่ จึงได้ดัดแปลงสูตรการคำนวณมวลโมเลกุลและเลขอาโวกาโดรจนกลายมาเป็นสูตรโมลนั่นเองจากสูตร หน่วยของแต่ละตัวแปรเป็นดังนี้โมล มีหน่วยเป็นโมล (mol) ซึ่งเป็นค่าที่ใช้งานต่อได้ง่าย ในสาขาเคมีน้ำหนัก มีหน่วยเป็นกรัม (g)มวลโมเลกุล มีหน่วยเป็นกรัมต่อโมล (g/mol)ปริมาตรของแก๊ส มีหน่วยเป็นลิตร (L หรือ dm³) คำว่า STP แปลว่าอุณหภูมิและความดันมาตรฐานที่อุณหภูมิ 0°C และความดัน 1 atmอนุภาคในที่นี่คืออะตอม โมเลกุล หรือไอออนในการพิสูจน์ที่มาของสูตรโมลนั้น จะต้องใช้สูตรมวลโมเลกุลและเลขอาโวกาโดร เพื่อมาพิสูจน์ดังนี้1. สูตรมวลโมเลกุลมวลโมเลกุล (Mw) คือ สัดส่วนระหว่างมวลของโมเลกุลต่อมวลของอะตอมไฮโดรเจน 1 อะตอม นั่นรวมถึงมวลอะตอมที่ปรากฎในตารางด้วย เช่น ธาตุคาร์บอนมีมวลอะตอมเท่ากับ 12 แสดงว่า ธาตุคาร์บอนมีมวลเป็น 12 เท่าของธาตุไฮโดรเจนนั่นเอง**มวลของธาตุไฮโดรเจน = 1 amu = 1.66 × 10⁻²⁴ g2. เลขอาโวกาโดรเลขอาโวกาโดร (Nₐ) เกิดจากปัญหาที่ว่าถ้าไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุด แล้วจะต้องใช้ไฮโดรเจนกี่อะตอมจึงจะได้ 1 g พอดี จึงได้ว่าต้องใช้ถึง 6.02 × 10²³ อะตอมจากสูตรทั้ง 2 ข้างต้น จะประยุกต์มาใช้ในสารต่างๆ โดยการกำหนดว่า "น้ำหนักของสารมีค่าเท่ากับผลคูณระหว่างมวลของโมเลกุลของสาร กับจำนวนอนุภาคของสาร" และดัดแปลงสมการจนได้เป็นสูตรโมลดังนี้ จากสูตร จะมีตัวแปรดังนี้Mw แทนมวลโมเลกุล (g/mol)m₁ แทนมวลของโมเลกุล 1 โมเลกุล (g)mₕ แทนมวลของอะตอมไฮโดรเจนมีค่าเท่ากับ 1.66 × 10⁻²⁴ gN แทนจำนวนอนุภาคg แทนน้ำหนักของสาร (g)Nₐ แทนเลขอาโวกาโดรมีค่าเท่ากับ 6.02 × 10²³ particles/molภายหลังได้มีการทดลองเรื่องปริมาตรของแก๊สและพบว่าที่ STP (อุณหภูมิ 0°C, ความดัน 1 atm) เมื่อนำแก๊สใดๆมา 1 โมลจะมีปริมาตร 22.4 ลิตรเสมอจึงได้ใส่เข้ามาในสมการด้วยสรุปแล้วโมลก็เป็นหน่วยวัดนึงในสาขาวิชาเคมี คล้ายกับหน่วยตวงในการทำขนมนั่นเอง มันถูกสร้างมาเพื่อใช้วัดในสิ่งที่ตัวเองพบเจอบ่อยๆ เช่น การตวงวัดปริมาณแป้งในการทำขนม แทนที่จะใช้หน่วยวัดสากลอย่างตารางเมตร เชฟก็จะใช้เป็นหน่วยถ้วยแทน เช่นเดียวกับโมลที่ก็เป็นเพียงหน่วยวัดแบบนึงที่ทำให้การคำนวณง่ายขึ้น เปลี่ยนจากเลขหลักล้านเหลือหลักหน่วยได้อย่างง่ายๆเครดิตภาพภาพปกโดยนักเขียนภาพประกอบที่ 1 โดยนักเขียนภาพประกอบที่ 2 โดยนักเขียนภาพประกอบที่ 3 โดยนักเขียนภาพประกอบที่ 4 โดยนักเขียนเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !