แบรนด์ “Supreme” ที่ไม่ว่าจะผลิตอะไรออกมาขายก็ได้รับความนิยมอย่างถล่มทลาย แถมบางที.. อิฐสีแดงตีตรา Supreme ก้อนละพันบาทไทย ที่ไม่น่าจะขายได้ แต่ผู้คนกลับนิยมซื้อกัน.. แล้วเหตุใด ? แบรนด์นี้ถึงครองใจผู้คนได้ในขณะที่มีแค่สีแดง กับตัวอักษร Supreme แค่ 7 ตัว.. Credit Picture: Link ในจุดเริ่มต้น..Supreme กำเนิดขึ้นมาในปี 1994 โดย “James Jebbia” ซึ่งตัวเขาเอง เกิดที่สหรัฐอเมริกาแต่มีสัญชาติเป็นคนอังกฤษและเติบโตที่อังกฤษ ก่อนที่จะย้ายกลับมาอยู่ที่ Newyork ในเวลาต่อมาและในช่วงเวลาที่สร้างตัวที่มหานคร Newyork นั้น Jebbia ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสเก็ตบอร์ดที่เขาพบเห็นซึ่งตัวเขาเองนั้นชอบวัฒนธรรมของ Skater ในขณะที่ตัวเองนั้นเล่นไม่เป็น แต่ Jebbia ก็มีไอเดียที่จะผลิตเสื้อผ้าสำหรับ Skater ด้วยเหตุผลที่ว่า แบรนด์สเก็ตบอร์ดยุคนั้นมีสเก็ตบอร์ดที่มีคุณภาพ แต่กลับไม่มีเสื้อผ้าเท่ห์ ๆ เนื้อผ้าดี ๆ ไว้สวมใส่เล่นกันเขาจึงได้ใช้โอกาสจากไอเดียในจุดนั้น.. จนในที่สุด Supreme ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นที่ Lafayette Street บนเกาะแมนฮัตตันแห่งมหานครนิวยอร์ค แรกเริ่ม..Supreme ไม่ได้เป็นแบรนด์ที่กำเนิดขึ้นตามเทรนด์แต่เป็นแบรนด์ที่อยากจะขายก็ขายซึ่งนั้นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในแบบของ Supreme อยู่แล้วCredit Picture: Link ที่สำคัญโลโก้ Supreme สีแดง สุดคุ้นหน้าคุ้นตาที่เราเห็นกันเป็นประจำ ได้สร้างขึ้นมาเพื่อล้อเลียนโลโก้ของ Coca Cola นอกจากนั้นแล้ว..แบรนด์แฟชั่นอื่น ๆ ไม่ได้ถูกมองเป็นคู่แข่งสำหรับ Supreme แต่อย่างใด แต่พวกเขามองว่าแบรนด์เหล่านั้น คือคู่ค้าคนสำคัญที่ Supreme จะเข้าไปจับมือเพื่อทำการค้าด้วยซึ่งตัวอย่างแบรนด์ที่เคยทำคอลเลคชั่นพิเศษด้วยกันก็ได้แก่ Vans, Nike หรือ Budweiser อะไรทำนองนั้น ซึ่งดูแล้ว ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับแบรนด์แฟชั่นในตลาด Skater ได้ แต่ด้วยคอลเลคชั่นพิเศษที่จับกับอีกหลาย ๆ แบรนด์ ส่งผลให้ Supremeเป็นแบรนด์แฟชั่นสตรีทในวงกว้างมากขึ้น แถมยังเป็นการเจาะกลุ่มลูกค้าของแต่ละแบรนด์นั้น ๆนอกจากนี้แล้ว Supreme ไม่ได้เอาใจลูกค้าโดยการผลิตสินค้ามาเยอะ ๆ แล้วเปิดขาย แต่กลับมาในรูปแบบ Limited เพื่อให้เป็น Hard Sales ยากต่อการซื้อให้ลูกค้าแย่งกันไปซะเลย และจะได้ไม่ต้องมีของเหลือมาลดราคา แล้วเทขายกันทีหลังความยากที่จะครอบครองสินค้า Supreme ที่หนึ่งปี จะมีการเปิดตัวคอลเลคชั่นใหม่แค่ 2 ครั้ง แฟนคลับทั้งหลายจึงต้องตั้งตารอที่จะคลิกหรือเฝ้ารอตามหน้าร้านเพื่อให้ได้มาครอบครองตามที่ต้องการมิหนำซ้ำ สินค้าบางชิ้นในเวลาต่อมา อาจมีราคาสูงขึ้นมากกว่าเดิม 2-10 เท่า จากราคาหน้าร้านหรือหน้าเว็บ สินค้า Supreme จึงเป็นสินค้าที่ราคาถูกปั่นขึ้นได้ง่ายสุด.. “ยิ่งขายต่อ ยิ่งแพง”ด้วยความ Hard Sales บวกกับ Limited Supreme แบรนด์สีแดงที่มีความเทา ๆ นิด เวลานี้..ได้กลายเป็นที่นิยมไปทั่วโลก แถมยังถูกประเมินว่าเป็นแบรนด์ที่มีมูลค่าถึง 30,000 ล้านบาท หลังจากที่ขายหุ้นครึ่งหนึ่งให้กับ Carlyle Group Credit Picture: Link Supreme มีเพียง 11 สาขาทั่วทั้งโลกแต่เป็นหนึ่งเจ้าที่ครองตลาดแฟชั่นสตรีทและครองใจผู้คนไปแทบทุกมุมโลกจากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า Supreme เดินตรงกันข้ามกับแบรนด์อื่นแทบทั้งหมด “จากเสื้อผ้าที่ทุกคนต้องสวมใส่แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะได้ใส่ Supreme”นี่จึงแสดงให้เห็นถึง “แรงบันดาลใจ บนความแตกต่าง” อาจจะเป็นอีกหนึ่งเส้นทางให้พาไปเจอกับ..ความสำเร็จ ก็อาจเป็นได้ _________________________________Swivel คอนเทนท์ยุคใหม่เชิงสร้างสรรค์ ที่นำเสนอในทุกแรงบันดาลใจ Follow Us On “Facebook”Follow Us On “Instragram”Follow Us On “Line” Copyright By Swivel*บทความนี้ได้รับลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Swivel On Blockdit จริง