ในบทความนี้มีเรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้นเลยจริง ๆ มาเล่าค่ะ เกี่ยวกับการถูกใช้ชื่อไปซื้อรถ แล้วหนีหายไปพร้อมทรัพย์สิน ออกตัวก่อนว่าเนื้อหาเป็นเรื่องจริงนะคะ แต่ตัวละครขอสมมติขึ้นมาล่ะกัน... เริ่มเลย!!ญาติเราคนหนึ่ง เอาชื่อของตัวเองไปให้คนอื่นใช้ซื้อรถยนต์ เพราะคนนั้นเค้าติดเครดิตบูโรอยู่ ที่ยอมให้ยืมใช้เพราะเคยมีบุญคุณกันมา จากนั้นไม่นาน เรื่องที่ไม่อยากให้เกิดก็เกิดจนได้ เพราะอีกฝ่าย ไม่ส่งค่างวด และหายหน้าไปเลย ติดต่อไม่ได้อีกต่างหาก ไปตามที่บ้านก็ปิด สรุปคือ หนีไปแล้วพร้อมรถยนต์ ...กระบวนการของไฟแนนซ์ก็คือ ตามยืดรถ ขายทอดตลาด และให้ลูกหนี้จ่ายส่วนต่าง ... แล้วญาติเราจะทำยังไงกันดี ... ไปอ่านกันต่อค่ะเครดิตภาพ : qimonoจากการพูดคุยกัน เราจึงบอกไปว่า สิ่งที่ต้องเตรียมใจเอาไว้ก่อนเลยก็คือ เรื่องของค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็น ค่างวดรถ ค่าปรับผิดนัดชำระ และค่าติดตามทวงถาม ยิ่งนานวันก็จะมากขึ้นไปเรื่อย ๆ พอถึงเวลา ไฟแนนซ์ก็จะส่งฟ้องศาล จำนวนเงินที่ฟ้อง ก้อนใหญ่พอสมควรตามที่บอกไปแล้ว และแถมค่าทนาย ค่าธรรมเนียมศาลเข้าไปอีกหนึ่งดอก ส่วนรถที่หาไม่เจอก็จะโดนข้อหายักยอกทรัพย์ ซึ่งเป็นคดีอาญา … มาถึงตรงนี้ สถานการณ์เริ่มตึงเครียด เราจึงต้องอธิบายให้เข้าใจตามกระบวนการของกฎหมายเครดิตภาพ : PixelLightMediaเราเริ่มอธิบายว่า ... ชื่อเราเป็นผู้ซื้อรถ หากไม่จ่าย 3 งวดติดกัน ไฟแนนซ์จะออกเอกสารทวงหนี้มาให้เรา และเราต้องจ่ายค่างวดที่ค้างภายใน 30 วัน หากเราไม่จ่ายไฟแนนซ์จะยกเลิกสัญญา และเอารถยนต์คืน จากนั้นจะนำไปขายทอดตลาด เพื่อเอาเงินมาชำระหนี้ที่ค้าง เหลือหนี้อีกเท่าไร คนที่มีชื่อในสัญญา ก็ต้องจ่ายให้ครบจำนวนทีนี้ หากเราไม่นำรถยนต์ไปคืน ไฟแนนซ์เค้าก็จะสามารถฟ้องข้อหายักยอกทรัพย์กับเราได้ เพราะรถยนต์เค้าหายไป ทีนี้เราก็จะมีทั้งคดีเพ่งและคดีอาญามัดรวมกันเลย … แต่ก็พอมีวิธีรับมืออยู่ ...เครดิตภาพ : Aymanejedวิธีก็คือ ไปแจ้งความ มีเอกสารอะไรเกี่ยวกับคนที่เอารถไป ก็ติดตัวไปให้หมด ทางตำรวจจะได้ช่วยตามตัวให้อีกแรง และนำเอกสารนี้ไปแจ้งยืนยันกับไฟแนนซ์ด้วย หรือจะจ้างนักสืบให้ไปตามก็แล้วแต่ ...ขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋า!! จากนั้นก็เตรียมตัวเรื่องการถูกฟ้องศาล จะช้าจะเร็วก็แค่นั้น ดังนั้นช่วงนี้ก็ต้องทำใจว่าจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งก้อน แต่ก่อนจะให้ศาลพิพากษา จะมีขั้นตอนของการไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความ ก็ให้ไปฟังทนายโจทก์ว่าเค้าจะลดหนี้ให้เราได้เท่าไรยังไง หากเป็นตัวเลขที่รับได้ ก็เซ็นไป แต่หากคิดว่าดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าติดตามทวงถามต่าง ๆ เยอะเกินจริงไปมาก ก็ให้ศาลท่านตัดสินให้ ต้องบอกก่อนว่าศาลจะไม่ลดเงินต้นให้ แต่จะพิจารณาส่วนอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมายให้ เช่น ดอกเบี้ยต้องไม่เกิน 15% ต่อปี เป็นต้นเครดิตภาพ : stevepbทิ้งท้ายไว้ตรงนี้ว่า หากศาลตัดสินแล้ว ต้องเริ่มจ่ายตามที่กำหนดเอาไว้ด้วย ตรงนี้ไม่ได้หมายความว่าต้องชำระทั้งก้อน แต่ให้เราไปคุยกับไฟแนนซ์ ว่าเงินก้อนนี้ที่ศาลท่านตัดสินมา จะให้เราทยอยจ่ายยังไง หลังจากตกลงกันแล้วก็ต้องจ่ายไปตามนั้นด้วย ไม่เช่นนั้นคดีก็เดินไปสู่การสืบทรัพย์บังคับคดีทันที เสี่ยงเสียทรัพย์เพิ่มเข้าไปอีก ส่วนเรื่องรถที่หายไป ห่วงว่าจะตามยาก ยังไม่ต้องไปหวังมาก ห่วงเรื่องที่บอกทั้งหมดนี้ก่อนล่ะกัน ... ทั้งหมดนี้ก็จะเป็นการดำเนินการในภาพใหญ่ แต่ในรายละเอียดก็ต้องดูไปตามหน้างานอีกที..กดที่รูปโปรไฟล์ แล้วกด “ติดตาม” เอาไว้นะคะ เรามีประสบการณ์เรื่องการจัดการหนี้สินมาแชร์อีกเยอะเลยค่ะเครดิตภาพปก : andreas160578บทความน่าอ่าน :- แชร์ประสบการณ์ : รีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้าน ด้วยอาชีพฟรีแลนซ์- ลูกหนี้ยอมให้ยึดรถ แล้วจบไหม?- อยากปิดหนี้เน่าของตัวเอง ทำได้หรือไม่?