สวัสดีครับ ผม 12045 เป็นนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาทรัพยากรธรณี (เหมืองแร่) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 3 วันนี้ได้มีโอกาสมาพูดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของงานเหมืองแร่ที่กำลังเกิดขึ้นในยุคปัจจุบันของโลกเราครับ จะเห็นได้ว่าในงานเหมืองแร่ในปัจจุบันนั้นไม่ได้มีความรุ่งเรื่องมากเท่ากับในอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจุบันนั้นมนุษย์เราตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และหลาย ๆ คน ก็ทราบดีว่าทรัพยากรของโลกเรานั้นก็เป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไป ดังนั้นงานเหมืองแร่จึงต้องหาแนวทางการรับมือว่าจะทำอย่างไร ในส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และจะต้องเพียงพอต่อความต่อการในยุคปัจจุบัน จากที่หลาย ๆ คนทราบกับดีว่าการที่จะนำทรัพยากรขึ้นมาใช้นั้น จะต้องมีการทำเหมืองแร่ ซึ่งการทำเหมืองหนึ่งครั้งนั้นจะต้องตัดต้นไม้เพื่อเปิดพื้นที่ในการทำงาน ต่อมาจะต้องมีการ เจาะ ระเบิด ขุด ขน ขึ้นในการทำงาน ซึ่งการระเบิดหนึ่งทีนั้น ส่งผลให้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางน้ำ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความต้องการของการใช้ทรัพยากรของมนุษย์นั้นยังมีมากพอ ๆ กับอดีตที่ผ่าน เนื่องจากปัจจุบันนั้นมีการก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ อยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ตึก อุโมงค์ ถนน เป็นต้น มนุษย์จะต้องการ หิน ทราย เหล็ก มาทำการการก่อสร้างสิ่งเหล่านี้ และในสังคมปัจจุบันนั้นมีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ หรือ โทรศัพท์ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ ถือว่าเป็นปัจจัย 4 ของมนุษย์ในปัจจุบันไปแล้วก็ว่าได้ ถ้าเรามองเขาไปในโทรศัพท์ของเรา จะเห็นว่าโทรศัพท์นั้นมีทรัพยากรหลายอย่างมาก เช่น ทองแดง ทองคำ เป็นต้น และสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้นจะต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการสร้างสิ่งเหล่า ซึ่งเราจะต้องทำการขุดเหมืองแร่นั้นเพื่อทำทรัพยากรเหล่านั้นขึ้นมาใช้นั่นเอง แล้วทีนี้ทางงานเหมืองแร่จะทำอย่างไรให้ส่งผลกระทบส่งสิ่งแล้วล้อมน้อยที่สุด และเพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ ดังนั้นงานเหมืองแร่จึงมีการปรับเปลี่ยนจากการทำเหมืองจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเหมืองบนดิน หรือ เหมืองใต้ดิน มาเป็นการทำเหมืองจากขยะ ที่เราเรียกกันว่าการทำเหมืองในเมือง (Urban Mining) นั้นเอง ซึ่งการทำเหมืองในเมือง (Urban Mining) เป็นการรีไซเคิล (Recycle) นำแร่ต่าง ๆ ที่อยู่ในซากของแผนวงจร ถ่านไฟฉายที่ใช้แล้ว หรือเศษลวดบัดกรีจากโรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลับมาใช้ใหม่ผ่านความรู้ในด้านกระบวนการแต่งแร่ (Minerals Processing) นั่นเอง เช่น ทองคำ ทองแดง เหล็ก ดีบุก เป็นต้น โดยมีขั้นตอนในการทำหลัก ๆ คือ การรวบรวมของเสีย, การคัดแยก, การสกัด และการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งการที่มีการทำเหมืองในเมือง (Urban Mining) เป็นการนำมาใช้ใหม่อีกรอบ ซึ่งทรัพยากรหรือแร่ที่ได้จากการรีไซเคิล (Recycle) นั้น มีความบริสุทธิ์มากกว่าการทำเหมืองทั้งเหมืองอีก เนื่องจากแร่เหล่านั้นได้ผ่านกระบวนการที่ทำให้ให้มีความบริสุทธิ์มาแล้วหนึ่งรอบ และนอกจากนี้ยังลดการตัดไม้ทำลายป่า ลดการระเบิด ดังนั้นการทำทำเหมืองในเมือง (Urban Mining) เป็นลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากทารทำเหมืองได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการลดมลพิษทางน้ำ และ ลดมลพิษทางอากาศไปในตัวได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังสามรถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ด้วยในประเทศได้อีกด้วย จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงจากการทำ Mining มาเป็น Urban Mining นั้น มีผลดีต่อโลกของเราอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดขยะ, ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และ ผลกระกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแบบดั้งเดิม ซึ่ง Urban Mining เป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ เศรษฐกิจหมุนเวียนโดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และตอบโจทย์กับการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันอีกด้วย อ้างอิงภาพ ภาพที่ 1 : ภาพจาก Pexels โดย Tom Fisk ภาพที่ 2 : ภาพจากผู้เขียน ภาพที่ 3 : ภาพจาก Pexels โดย Hilary Halliwell ภาพที่ 4 : ภาพจาก Pexels โดย Hakan Erenler ภาพปก : ภาพจาก Pexels โดย Tom Fisk นามปากกา : 12045 เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !