คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ ทุกคนอาจจะสงสัยว่าคณะนี้ทำอะไรกันแน่ ? มีกี่สาขา? เรียนอย่างไร? สภาพแวดล้อมเป็นยังไง วันนี้ทางผู้เขียนที่กำลังศึกษาอยู่สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะมาพูดถึงสาขาของคณะนี้เพื่อเป็นแนวทางให้กับน้องๆที่สนใจอยากเข้าคณะเทคนิคการสัตวแพทย์กันคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ เข้าอย่างไร ? ส่วนใหญ่คณะเทคนิคการสัตวแพทย์จะเปิด TCAS 4 รอบ โดยรอบTCAS รอบ 1 จะเป็นการเข้าของโครงการช้างเผือก ซึ่งน้องๆทุกคนต้องมีพอร์ตและผ่านเกณฑ์ที่คณะกำหนดTCAS รอบ 2 จะเป็นการเข้าของนักเรียนทุนโครงการต่างๆ อาทิ โครงการนักเรียนดีเด่นจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการส่งเสริมโอกาสศึกษาต่อสำหรับนักเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงดรีบนมัธยมศึกษาในท้องถิ่น (30 จังหวัด) โครงการรับผู้มีความสามารถทางกีฬาดีเด่นและโครงการผู้มีความสามารถทางศิลปวัฒนธรรม โดยเกณฑ์จะแตกต่างตามไปแต่ละโครงการTCAS รอบ 3 จะเป็นการยื่นคะแนนรับตรงกับทางคณะเทคนิคการสัตวแพทย์TCAS รอบ 4 เป็น Admission เป็นการคัดเลือกโดยเกณฑ์ที่กำหนดต่างๆ สามารถติดตาม TCAS รอบต่างๆของแต่ละปีได้ทาง mytcas.com ซึ่งรอบที่เปิดรับมากที่สุดจะเป็นรอบ 3 แต่ถ้าใครที่ไม่อยากยื่นคะแนนสอบมากก็สามารถเข้ารอบ 1 ได้ โดยส่วนตัวเข้ามาทางรอบ 1 ซึ่งจะต้องยื่นพอร์ต เมื่อทางคณะประกาศรายชื่อจะมีการเรียกเข้าสัมภาษณ์รายคน น้องๆไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะคณะกรรมการก็เป็นอาจารย์ทางคณะที่จะมาเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและสอนน้องในคณะทั้งนั้น แต่ละคนใจดีมาก คำถามก็ง่าย สบายๆ คณะกรรมการถามคำถามทั่วๆไป ประมาณว่า เข้ามาเรียนไหวไหม? คณะนี้ไม่ใช่สัตวแพทย์นะ จะยังอยากเข้าไหม? ชอบด้านสัตว์ไหนเป็นพิเศษ? เตรียมตัวในการเรียนคณะนี้ยังไง? ประมาณ 10 - 20 นาทีก็ออกจากห้องสัมภาษณ์แล้ว น้องๆไม่ต้องกังวลมากนะคะ สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ vs สาขาพยาบาลสัตวแพทย์ แตกต่างกันอย่างไร เลือกสาขาที่ถูกใจอย่างไร? ขอพูดถึงพาร์ทพยาบาลสัตวแพทย์ก่อนนะคะ ทางด้านพยาบาลสัตวแพทย์จะเป็นในทางประเมินสุขภาพสัตว์เบื้องต้น ปฐมพยาบาล มีการฝึกเย็บแผล การจับบังคับ และช่วยเหลืองานสัตวแพทย๋ให้ทำงานได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งจะต้องอยู่ข้างมือสัตวแพทย์ตลอด ส่วนทางสาขาเทคนิคการสัตวแพทย์จะเป็นการได้รับผลตัวอย่างไม่ว่าจะเป็นอุจจาระ ปัสสาวะ ชิ้นเนื้อ น้ำลาย หรือเลือด เป็นต้น นำมาตรวจในเทคนิคต่างๆ เพื่อแปลผลโรคแล้วนำไปส่งสัตวแพทย์และเรียนเกี่ยวกับพวกสารเคมีที่ใช้กับสัตว์ต่างๆอีกด้วย คณะนี้ต้องมีพื้นฐานอย่างไร? เรียนยากไหม? จากที่พี่ได้เรียนสาขาเทคนิคการสัตวแพทย์เกือบทุกรายวิชามาทั้งหมดของคณะนี้ ขอบอกเลยว่ายากมาก ต้องมีความอดทนสูง และหมั่นทบทวนบ่อยๆ ยิ่งวิชาของคณะโดยตรงพวก Anatomy เกี่ยวกับโครงสร้างสัตว์โดยต้องจำสัดส่วนร่างกายทั้งกล้ามเนื้อ บริเวณ และกระดูกที่มีชื่อเรียกเฉพาะที่ยาวและยังเยอะอีกด้วย มีทั้งโค สัตว์ปีกและหมา , Hematology เรียกพวกเลือดที่มีเซลล์ต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Red blood cell , white blood cell , neutrophil , T cell , B cell ที่ต้องจำขบวนการ จำเซลล์เยอะไปหมด , Pharmacology ที่ต้องจำเกี่ยวพวกยาต่างๆที่ใช้กับสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นยาน้ำ ยาเม็ด ยาฉีด ยาดม สารเคมีที่ต้องใช้เกี่ยวกับยา เป็นต้น ซึ่งยังทีอีกหลายวิชาที่ยากเหมือนกัน แต่ไม่ได้ยกตัวอย่างมาให้ ขอบอกเลยว่าหินสุดๆ ตอนช่วงปี 1 เป็นวิชาพื้นฐาน ขอให้น้องเตรียมตัวพลเรียนพวกสถิติและขุดความทรงจำเกี่ยวกับเคมีในช่วงตอนมอปลายออกให้หมด เพราะปี 1 วิชาเด่นๆที่เรียนคือ Genchem เรียนตอนเทอม 1 , Orchem เรียนตอนเทอม 2 ซึ่งเป็นวิชาเชื่อมกันแบบบันได ถ้าเรียน Genchem ไม่ผ่าน ไม่ว่าจะ F หรือ Drop ก็ไม่สามารถเรียน Orchem ต่อได้ ทางพี่เลยอยากให้น้องเรียน Genchem ให้ผ่านไปทีเดียว เพราะ 40% ของคนที่เรียน Genchem มีแนวโน้มว่าไม่ผ่านและต้องกลับมาเรียนซ้ำๆ ทำให้มีผลกระทบต่อวิชาในการลงทะเบียนของเทอม 2 และจะกระทบไปเรื่อยๆเป็นโดมิโน่ เผลอๆ อาจได้เรียน 5 ปี ก็ได้ (ปกติทางคณะเรียนจบ 4ปี) ปี 2 เป็นปีที่ก้าวขาสู่คณะมาครึ่งเท้า เพราะเริ่มเรียนวิชา Anatomy l กันแล้ว แถมยังมีวิชาอื่น เช่น พวกวิชา Genetics และวิชานอกคณะอื่นๆ ที่ต้องเก็บหน่วยกิต พยายามเก็บวิชาพวกศึกษาทั่วไป ภาษาอังกฤษและวิชาเสรีให้รีบครบจบภายใน ปี 2 เพราะไม่งั้นจะเริ่มไม่มีพื้นที่วิชาให้ลง อยากให้น้องเก็บเกี่ยวเวลานอน เที่ยวเล่นเยอะๆ เพราะปี 3 เริ่มเป็นปีที่หนักหน่วง ตารางแน่นจนอยากจะร้องไห้ พี่ขอแถมให้อีกก็คือ ปี 2 จะมีวิชาเกี่ยวกับสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นการดูแบสุขภาพสัตว์ เป็นต้น ที่ต้องใช้สัตว์วิทยาศาสตร์ในการทดลอง ทางอาจารย์ประจำวิชาจะให้เราจับกลุ่มและเลี้ยงสัตว์ วนมาให้อาหารน้อง จะมีสัตว์ทดลอง ดังนี้ หนูวิทยาศาสตร์ กระต่าย แฮมเตอร์ หนูตะเภา และปลา ปี 3 เป็นปีที่หนักมาก หนักที่สุด เพราะตารางเรียนแน่นมาก แน่นจนไม่มีลมหายใจแทบจะเดินไปไหน ตารางที่แสนแน่นและมีคาบ Lab ทุกวัน แถมยังตัองเรียนแบบ เช้า Lecture ส่วนบ่ายก็ทำ Lab ทำเยอะมาก ต้องเขียนรายงานส่งประจำ ทำให้ไม่มีเวลาขาดเรียนหรือแอบเที่ยวเล่นแม้แต่วันเดียว ขอให้น้องๆแบ่งเวลาให้พอดีกับการใช้ชีวิตประจำวัน ปี 3 จะมีวิชาที่ต้องแบ่งกลุ่มดูแลสุนัขของคณะ ทำให้เราได้จับสุนัขตรวจนั้นนี่แบบเป็นๆ น้องสุนัขในคณะเราใจดีทุกตัวเลย ปี 4 ปีสุดท้ายกของการเริ่มจบการศึกษา ปีสุดท้ายก็ต้องมีโครงงานจบใช่ไหมคะ? คณะนี้ก็เป็นเหมือนกับคณะอื่นๆ โดยที่ต้องจับกลุ่ม 4 คน เลือกอาจารย์ที่ปรึกษาของเราให้เหมาะสมต่อโครงงาน โดยเรียกโครงงานจบว่า ‘ ปัญหาพิเศษ ‘ เป็นการทำโครงงานที่ต้องนำเสนอต่ออาจารย์หลายท่านและเตรียมรับคำถามที่กระแทกหน้า เตรียมตัวมาให้ดีที่สุด ตอบคำถามอย่างชัดเจนในโครงงานของเรา ก็จะผ่านไปได้อย่างง่ายดาย เป็นปีที่เหมือนจะมีเวลาว่างมากกว่าปี 3 แต่ก็ไม่ได้ว่าวทีเดียว เพราะเราต้องมาทำปัญหาพิเศษที่คณะเกือบทุกวันตามแล้วแต่โครงงานของเราจะต้องทำยากมากแค่ไหน ขอให้ทุกคนตั้งใจและผ่านปี 4 ไปด้วยกันนะ จบแล้วทำอะไร ?นักวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการในคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์นักเทคนิคการสัตวแพทย์ในสวนสัตว์หรือสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำนักวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลองในหน่วยทรัพยากรสัตว์ทดลองงานธุรกิจด้านการจัดการที่เกี่ยวข้องกับสัตว์หรือเป็นเจ้าของโรงพยาบาลสัตว์นักวิชาการและนักวิจัยด้านการพยาบาลสัตว์ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหรือสามารถต่อปริญญาโทที่คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ สาขาเทคโนโลยีสุขภาพสัตว์ ทางผู้เขียนก็ได้พามาทำความรู้จักกับคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ เผื่อเป็นเป็นทางเลือกให้กับน้องหลายๆคนที่อยากจะเข้า ทางผู้เขียนหรือในฐานะรุ่นพี่คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนที่พร้อมจะเข้ามาเป็นครอบครัวเล็กๆของทางเรา ขอแอบเพิ่มเติม น้องตัวนี้ชื่อ ไฉไล เป็นสุนัขประจำคณะของเทคนิคการสัตวแพทย์ ชอบนอนต้อนรับนิสิตที่เข้ามาเรียนด้วยการนอนไขว้ห้างอยู่ตลอดเวลา บางครั้งชอบไปแถวมารวยแวะหาอะไรกิน แต่ด้วยความฉลาดสามารถเดินไปมาแบบไม่มีหลงเลย แสบจริงๆContract me : jaoearn.96@gmail.comเครดิตภาพทั้งหมดโดยนักเขียน jaoearnx เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !