สรุปให้! น้ำประปาจากก๊อกกินได้ไหม มาตรฐานน้ำประปาดื่มได้คืออะไรน้ำดื่มคือสิ่งที่เราทุกคนขาดไม่ได้ค่ะ ไม่ได้กินข้าวหลายวันยังอยู่ได้เหมือนกับที่เราเคยเห็นในข่าว ที่มีคนติดอยู่ในซากอาคารบ้านเรือนที่ถล่มลงมาหลายวันแต่ยังไม่ตาย และหลายๆ ครั้งคนเหล่านั้นที่ไม่ตายเพราะมีน้ำดื่มคอยช่วยชีวิตเอาไว้ค่ะ เพราะน้ำมีความสำคัญต่อเซลล์และต่อกระบวนการทางชีวเคมีภายในร่างกายของเราค่ะ และพอพูดถึงน้ำดื่มทุกคนอยากมีแหล่งที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ เพราะจะว่าไปเมื่อเทียบกับในอดีตแล้ว น้ำดื่มในปัจจุบันถูกพัฒนาและหาได้ง่ายมากขึ้นมากแล้วและหลายๆ คนก็อาจคิดเหมือนๆ กันว่าถ้าดื่มน้ำจากก๊อกประปาได้เลยจะดีมากๆ เหมือนกับในต่างประเทศหลายๆ ประเทศ แต่น้ำประปาจากก๊อกบ้านเราไม่เหมือนแถวออสเตรเลียนะคะ ที่ผู้หญิงไทยหลายคนก็ตอบฝรั่งไม่ได้ว่าทำไมบ้านเราดื่มน้ำจากก๊อกไม่ได้ ต้องอ่านต่อให้จบค่ะเพราะในบทความนี้ผู้เขียนมีคำตอบแบบให้หายสงสัยกันไปเลยว่า น้ำก๊อกดื่มได้หรือดื่มไม่ได้ค่ะ งั้นอ่านต่อกันเลยดีกว่าค่ะ✅️เวลาเราสูบน้ำผิวดินจากเขื่อน จากห้วย จากแม่น้ำหรือจากสระรับน้ำผิวดินที่เป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับนำมาผลิตน้ำสะอาดเข้าสู่ระบบผลิตน้ำประปา เราเรียกว่าสถานการณ์นี้ว่า การปรับปรุงคุณภาพน้ำค่ะ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมากกับการบำบัดน้ำเสีย การปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบจนได้น้ำประปามาใช้ตามบ้านในประเทศไทยถูกรับผิดชอบโดยหน่วยงานหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งที่มีความสามารถและบริหารจัดการได้ เพราะบางคนยังไม่รู้ว่าในบางหมู่บ้านเล็กๆ ไกลจากตัวเมืองจะมีระบบประปาหมู่บ้านที่ปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนจ่ายน้ำไปให้คนในชุมชนได้ใช้น้ำค่ะ 🏘แต่ไม่ว่าจะประปานครหลวง ประปาส่วนภูมิภาคหรือประปาหมู่บ้านก็ตามค่ะ ทุกที่ใช้หลักการเดียวกันหมดในการปรับปรุงคุณภาพน้ำให้เหมาะสมมากขึ้นต่อการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน อ่านดีๆ นะคะ หลักการนะคะไม่ใช่วิธีการ เช่น หลักการฆ่าเชื้อในน้ำ บางที่อาจใช้คลอรีนแบบผง บางทีใช้แบบน้ำและก็มีบางที่ใช้สิ่งที่แตกต่างออกไปยากที่พูดมา แต่ทุกวิธีการให้ผลลัพธ์สุดท้ายไปในทิศทางเดียวกันค่ะ คือ กำจัดเชื้อก่อโรคในน้ำประปา เพราะน้ำสามารถเป็นสื่อนำโรคต่างๆ และคุกคามสุขภาพเราทุกคนที่ใช้น้ำได้ค่ะการปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาในประเทศไทยขั้นตอนแรกเราใช้กระบวนการทางกายภาพค่ะ เพื่อกำจัดตะกอนหนัก ตะกอนลอยและตะกอนที่สามารถทำลายด้วยการทำลายประจุได้ โดยในกระบวนการนี้เราใช้การกรอง การตกตะกอนและการทำลายประจุด้วยสารเคมี ที่นิยมก็คือสารส้มค่ะ ในอดีตคนโบราณใช้สารส้มมาแกว่งในน้ำเพื่อทำให้ตะกอนที่แขวนลอยในน้ำตกตะกอนนอนก้นอยู่ด้านล่าง จากนั้นน้ำก็มีคุณภาพดีขึ้นจนน่าใช้มากขึ้น เหมือนกันค่ะเรายังใช้หลักการนี้อยู่ แต่เราใช้แบบมีการคำนวณหาความเหมาะสมว่าต้องใช้แค่ไหนถึงจะพอดี เพราะถ้าใช้สารส้มมากไปจะมีสารส้มส่วนเกินตกค้างในน้ำประปามาก ที่ทำให้ตอนใช้น้ำเราจะรู้สึกเหนียวๆ หนืดๆ ค่ะ และถ้านำน้ำประปาที่มีสารส้มมากไปใส่ในอ่างเลี้ยงปลาทองปลาตายทันที🐠จากนั้นน้ำที่ผ่านกระบวนการทางกายภาพจะเข้าสู่หน่วยๆ หนึ่งที่ปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นด้วยกระบวนทางชีวภาพค่ะ โดยกระบวนการนี้ง่ายๆ แบบพูดให้เห็นภาพก็คือการทำลายเชื้อโรคค่ะ ก่อนรวบรวมน้ำเข้าสู่ถังพักน้ำและสูบไปให้ประชาชนได้ใช้ผ่านโครงข่ายท่อประปาที่ถูกวางไว้แล้วค่ะ และนี่คือแนวทางการทำน้ำให้ดีขึ้นในประเทศไทยเราค่ะ ซึ่งจะแตกต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศ เพราะเขาจะปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาต่อด้วยกระบวนการทางเคมี เพื่อกำจัดสารประกอบบางอย่างที่สามารถส่งผลต่อสุขภาพและทำให้อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถนำมาดื่มได้อย่างปลอดภัยค่ะ 💧ที่เราใช้เพียง 2 ขั้นตอนเป็นเพราะว่าในกระบวนการทางเคมีต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ที่จะตามมาด้วยการใช้งบประมาณที่สูงมากด้วย และจากที่ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ไปดูระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำประปามาหลายที่นั้น ทุกทีก็ใช้แค่ 2 กระบวนการหลักๆ ค่ะ และน้ำประปาที่ออกจากหน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาต้องมีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำประปา ซึ่งจะคนละมาตรฐานกับมาตรฐานน้ำประปาดื่มได้ค่ะ โดยน้ำประปาที่สามารถดื่มได้ต้องถูกตรวจสอบและรับรองว่าดื่มได้จากกรมอนามัยก่อน จึงจะสามารถนำมาดื่มได้แบบสบายใจค่ะ✅️และจากที่ผู้เขียนเคยเห็นมานั้นไม่ใช่น้ำประปาทุกที่ดื่มได้ แต่เคยเห็นน้ำประปาในกรุงเทพฯ ค่ะ โดยที่เราสามารถรู้ได้ง่ายๆ คือ ให้มองหาป้ายหรือข้อมูลที่เขียนกำกับไว้ว่าน้ำประปาจุดนั้นดื่มได้ค่ะ มาตรฐานน้ำประปาดื่มคือมาตรฐานที่มีการตรวจสอบเกี่ยวกับสารประกอบเคมี แรธาตุและอื่นๆที่สามารถส่งผลต่อสุขภาพได้เพิ่มขึ้นมาค่ะ เมื่อเทียบกับมาตรฐานน้ำประปาธรรมดาทั่วไป ดังนั้นน้ำประปาทั่วไปเหมาะสมสำหรับการชำระล้างมากกว่าการนำมาดื่ม แล้วถ้าสมมติว่าหากต้องการนำน้ำประปามาเป็นแหล่งน้ำดื่มต้องทำยังไง!? คุณผู้อ่านเคยสงสัยไหมคะ!? การใช้เครื่องกรองน้ำมากรองน้ำประปาคือแนวทางแรกที่สามารถทำให้คุณภาพน้ำประปาดีขึ้นจนสามารถนำมาดื่มได้ค่ะ และการซื้อน้ำดื่มที่คนอื่นปรับปรุงคุณภาพน้ำแทนเราทำเองคืออีกแนวทางถัดมาที่เป็นไปได้ค่ะ🆗️และนั่นคือสรุปเนื้อหาสั้นๆ ที่บอกว่าน้ำประปาดื่มได้ไหม และทำไมบ้านเราดื่มไม่ได้และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเวลาฝรั่งมาเที่ยวเขาถึงซื้อน้ำดื่มแบบขวดพกติดตัวค่ะ เพราะเขารู้มาคร่าวๆ ว่าบ้านเราน้ำประปาดื่มไม่ได้เหมือนกันค่ะ เพียงแต่ว่าเขาไม่เคยไปเห็นระบบประปาบ้านเราและอาจบอกไม่ได้ว่าที่มาที่ไปคืออะไรแบบเนื้อหาในบทความนี้ค่ะ และถึงแม้ว่าจะเป็นโรงแรม 5 ดาว ก็ตามหากไม่ได้มีการติดตั้งเครื่องกรองน้ำต่างหาก น้ำจากก๊อกก็ยังเป็นน้ำประปาจากหน่วยงานที่รับผิดชอบในชุมชนนั้นค่ะ💧และโดยส่วนตัวผู้เขียนเคยลองดื่มน้ำประปาที่ถูกรับรองว่าเป็นน้ำประปาดื่มได้จากกรมอามัยค่ะ ก็พบว่าไม่ได้ทำให้ท้องเสีย น้ำไม่มีกลิ่นค่ะ และที่บ้านมีเครื่องกรองน้ำ ส่วนน้ำดื่มแบบขวดได้ซื้อดื่มเป็นระยะๆ ค่ะ ทั้งน้ำดื่มธรรมดาและน้ำแร่ค่ะ จึงหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านที่ทำให้มองเห็นภาพมากขึ้นว่าน้ำประปาแบบไหนดื่มได้แบบไหนต้องมีเครื่องกรองค่ะ และถ้าชอบบทความเกี่ยวกับอนามัยสิ่งล้อมแบบนี้อีก อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ💧😁🆗️เครดิตภาพประกอบบทความภาพหน้าปก โดย Kaboompics .com จาก Pexelsภาพประกอบเนื้อหาโดย ผู้เขียนออกแบบภาพหน้าปกใน Canvaบทความอื่นที่น่าสนใจ12 แนวทางส่งเสริมสุขภาพดี เพื่อลดความเสี่ยงและปัญหาด้านสุขภาพ12 จุดเสี่ยงทำให้มือสกปรกจากการเข้าห้องน้ำ ที่ต้องล้างมือทุกครั้ง หลังเข้าห้องน้ำทำไมน้ำประปามีคลอรีนเยอะจัง ตอนใช้น้ำต้องทำยังไงดี อ่านเลย! เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !