“เตรียมแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) อย่างไรให้ปัง”เทคนิคการทำแฟ้มสะสมผลงานในการสมัครเรียนและทำงาน การเรียนดี การได้รับเกียรตินิยมหรือเกรดเฉลี่ยที่สูง เราทุกคนสามารถทำได้และกลายมาเป็นคนที่สามารถแข่งขันกับเราได้ในสนามการสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อหรือการสมัครงาน สิ่งที่จะทำให้เราโดดเด่นและได้รับโอกาสมากกว่าคนอื่นได้ ก็คือผลงานของเรานี่แหละ นอกจาก Cover Letter และ Resume ที่เป็นเอกสารส่วนสำคัญในการยื่นสมัครเข้าเรียนต่อหรือสมัครเข้าทำงานแล้ว อีกเอกสารหนึ่งที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือ แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) จะเป็นตัวบ่งบอกว่าเราเคยมีผลงานหรือมีประสบการณ์อะไรมาบ้าง ไม่จำเป็นว่าต้องเด็กที่จบจากด้านกราฟิก สถาปัตยกรรมหรืองานออกแบบเท่านั้น ตัวอย่างเช่นนักศึกษาที่ใกล้จบหรือเพิ่งจบทุกคน ไม่ว่าจะจบมาจากสายอะไรก็ควรมี Portfolio ติดตัวไว้ เพราะจะเพิ่มความน่าสนใจในการถูกเรียกมาสัมภาษณ์งานและมีโอกาสได้งานทำมากขึ้นเราควรทำความเข้าใจถึงความแตกต่างกันระหว่าง portfolio กับ resume กันก่อนเพื่อง่ายต่อการเขียนและไม่ให้เกิดความสับสน ทั้ง portfolio และ resume ต่างก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่ใช้ในการสมัครเข้าเรียนหรือสมัครงาน โดยที่ทั้งสองอย่างเป็นตัวที่ใช้สำหรับบอกถึงประวัติส่วนตัวของเราและผลงานที่เราเคยได้ทำมาก่อน แต่ว่า resume จะเป็นการเขียนบอกเล่าโดยย่อที่มีความยาวเพียง 1-2 หน้าเท่านั้น ส่วน portfolio จะเป็นลักษณะของแฟ้มหรือหนังสือสะสมผลงาน มีความยาวหลายหน้า เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลงานทั้งหมดที่ผ่านมาของเรา ตั้งแต่สมัยยังเป็นนักเรียน นักศึกษา จนถึงช่วงวัยทำงาน ซึ่งจะประกอบด้วยตัวอย่างของผลงาน ที่แสดงให้เห็นถึงว่าคุณได้เรียนรู้อะไรมาบ้าง มีทักษะและประสบการณ์การทำงานอย่าไร ที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญของตนในอีกมุมมองหนึ่งแล้วเด็กจบใหม่จะไปเอาผลงานที่ไหนมาใส่ นั่นแหละคือประเด็นที่เราจะมาช่วยร่างและจะมาบอกเทคนิคและขั้นตอนการทำ Portfolio ที่จะเป็นตัวช่วยในการยื่นสมัครเข้าเรียนต่อหรือสมัครงาน และเป็นตัวเพิ่มความมั่นใจในห้องสอบสัมภาษณ์ได้ด้วยสิ่งที่ต้องเตรียมก่อนทำแฟ้มสะสมผลงานภาพประกอบจาก Freepik- ไม่ว่าเราจะทำกิจกรรม ฝึกงานหรือฝึกอบรมใดๆ ภายในโรงเรียน ภายนอกโรงเรียนและเพื่อสาธารณประโยชน์ แนะนำให้ถ่ายรูปตัวเองทั้งชุดนักเรียนนักศึกษา หรือชุดอื่นๆ ที่อยู่ในท่าทางและสถานที่ที่ไปทำ และเก็บรวบรวมไว้นำมาประกอบการทำแฟ้มสะสมผลงาน- รวบรวมใบรับรองการทำงาน ใบรับรองการผ่านการอบรม/การทำกิจกรรมต่างๆ เกียรติบัตร วุฒิบัตรที่ได้รับตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษามาจนถึงปัจจุบัน- รวบรวมชิ้นงาน รางวัล ผลงานและกิจกรรมที่เคยทำ ทั้งงานอดิเรกหรืองานศิลปะ ทักษะที่ตนมีหรืองานที่เราทำและได้ออกเผยแพร่ หรือสามารถสร้างรายได้ให้เราได้ ก็สามารถเอามานำเสนอได้ เพื่อจะทำให้องค์กรเห็นว่าเรามีทักษะความสามารถที่เหมาะสมแค่ไหน และแสดงให้องค์กรเห็นว่าเราชอบหรือให้คุณค่ากับอะไรมากเป็นพิเศษ และเขาจะได้เห็นตัวตนจริงๆ ของเราอีกด้วย หรือสิ่งที่สนใจนอกเหนือการเรียน ความสามารถพิเศษอื่นๆ งานอดิเรกที่ส่งเสริมเราในสายงานที่สมัครหรือการทำงานพาร์ทไทม์ ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องพิสูจน์ว่าเรามีความพร้อม ความกระตือรือร้นที่จะเข้าสู่โลกการทำงานแค่ไหน ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้เราโดดเด่นและน่าสนใจมากขึ้นได้เทคนิคและองค์ประกอบหลักการเขียนแฟ้มสะสมงานภาพประกอบจาก Freepik1. หน้าปกแฟ้มสะสมงานควรจัดทำและออกแบบให้สะดุดตา ให้อ่านและสามารถทำเข้าใจได้ง่าย ว่าแฟ้มเป็นของใคร แสดงแต่ประเด็นเด่นๆ เรียนที่ไหน รางวัล ผลงานที่เคยทำและเคยได้รับมีอะไรบ้าง 2. ประวัติส่วนตัว หรืออาจจะแนบ resume ไว้เพื่อเป็นตัวเกริ่นประวัติส่วนตัวของเรานำเสนอข้อมูลส่วนตัวของตัวเอง เช่น ชื่อจริง-นามสกุล ที่อยู่ ช่องทางที่สามารถติดต่อได้ เช่น อีเมล เบอร์โทร แนะนำให้ทำทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการแสดงถึงความสามารถของเราและความเป็นสากล เสมือนเปิดโอกาสให้ตนเองสามารถยื่นเข้าเรียนต่อหรือทำงานในองค์กรหรือบริษัทต่างชาติได้ด้วย 3. ประวัติด้านการศึกษา รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนให้เรียงลำดับประวัติศึกษาจากระดับวุฒิที่สูงสุด (ปัจจุบัน) จนกระทั่งระดับต่ำสุด ในลักษณะเรียงลำดับการได้รับจากปี พ.ศ. ปัจจุบันไล่ลำดับลงจนถึงช่วงอดีต โดยระบุรายละเอียดดังนี้3.1. วันเดือนปีพ.ศ. ที่เข้าเรียนและจบการศึกษา3.2. ชื่อเต็มวุฒิการศึกษา คณะ สาขาวิชาเอก-โท รวมไปถึงการได้รับเกียรตินิยม เหรียญทอง ก็สามารถระบุตรงนี้ได้3.3. ชื่อสถานที่ศึกษาที่เราจบมาหรือกำลังศึกษา หรือชื่อโปรแกรม สถาบันที่เราเข้าร่วมไปศึกษาแลกเปลี่ยนมา ชื่อเมืองและชื่อประเทศ3.4. ผลการเรียน GPAX หรือเกรดเฉลี่ยสะสม4. ประวัติด้านการทำงานให้เรียงลำดับประวัติด้านการทำงาน ในลักษณะเรียงลำดับการได้รับจากปี พ.ศ. ปัจจุบันไล่ลำดับลงจนถึงช่วงอดีต โดยระบุรายละเอียดดังนี้4.1. วันเดือนปีพ.ศ. ที่เข้าทำงานและวันสุดท้ายที่สิ้นสุดการทำงานของแต่ละที่ที่ตนเคยทำงานมา4.2. ชื่อองค์กร และสังกัดที่คุณทำงานมา เช่น กรม...ภายใต้สังกัดกระทรวง....4.3. ตำแหน่งงาน ระดับตำแหน่งงาน เช่น นักวิเทศสัมพันธ์ ระดับชำนาญการ เป็นต้น4.4. หน้าที่และความรับผิดชอบโดยย่อ ถ้าเคยมีประสบการณ์เยอะ ควรเลือกหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่คุณจะใช้ยื่น4.5. ชื่อโครงการที่คุณรับผิดชอบ ชื่อโปรแกรมที่คุณเคยได้รับมอบหมายให้ทำ เพื่อแสดงเห็นทักษะและความสามารถของคุณ เช่น โปรแกรมระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) เป็นต้น5. ประวัติการฝึกอบรมให้เรียงลำดับประวัติการฝึกอบรมต่างๆ ในลักษณะเรียงลำดับการได้รับจากปี พ.ศ. ปัจจุบันไล่ลำดับลงจนถึงช่วงอดีต โดยระบุรายละเอียดดังนี้5.1. วันเดือน ปีพ.ศ. ที่เข้าร่วมการอบรม จะดีมากถ้าคุณสามารถระบุจำนวนวัน ระยะเวลาที่เข้าร่วม5.2. ชื่อเต็มของหลักสูตร สาขาวิชาที่คุณไปอบรมมา5.3. ชื่อสถาบัน องค์กรที่จัดการอบรม ซึ่งจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของคุณที่ไปเข้าอบรม ความเข้มข้นของหลักสูตรนั้นๆ สามารถเพิ่มทักษะให้คุณได้จริงหรือไม่6. ผลงานตัวอย่าง และรางวัลที่ได้รับให้เรียงลำดับผลงานตัวอย่างและรางวัลที่ได้รับ ในลักษณะเรียงลำดับการได้รับจากปี พ.ศ. ปัจจุบันไล่ลำดับลงจนถึงช่วงอดีต อาทิเช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ รายงานการวิจัยที่เราเคยทำ โดยระบุรายละเอียดดังนี้6.1. วัน เดือน ปีพ.ศ. ที่ได้ทำผลงานหรือที่ได้รับรางวัล6.2. ชื่อเต็มขององค์กร/สถาบัน ที่ได้มอบรางวัลให้คุณมา หรือที่คุณส่งผลงานไปเข้าร่วม/ประกวดมา6.3. รายละเอียดสิ่งที่ได้รับ เช่น เงินรางวัล ถ้วยรางวัล ยกตัวอย่างทักษะที่ได้มาอย่างย่อๆ6.4. แนบหลักฐานเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ เช่น รูปถ่ายเรากับผลงาน สถานที่ที่เราไปเข้าร่วม เกียรติบัตร วุฒิบัตรที่เราได้รับ เป็นต้น7. กิจกรรมที่ทำ ตั้งแต่ตอนเรียนในโรงเรียนมัธยม มหาวิทยาลัยตลอดจนถึงปัจจุบัน ถ้าเป็นไปได้ควรเป็นผลงานที่สอดคล้องกับตำแหน่งที่ต้องการสมัครหรือตรงกับสาขาวิชา คณะ หลักสูตรที่เรายื่นสมัครเรียน เพราะส่วนนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำแฟ้มสะสมผลงาน เนื่องจากเป็นส่วนที่จะได้นำเสนอและโน้มน้าวใจให้องค์กรเห็นว่าเรามีทักษะความสามารถอะไรและเหมาะสมแค่ไหน อาทิเช่น7.1. กิจกรรมขณะเรียนเป็นประธานนักเรียน ประธานเชียร์ มีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชมรมหรืองานวันสำคัญต่าง ๆ ระบุเพื่อให้รู้ว่าเรามีประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รู้จักการทำงานเป็นทีม เพราะไม่ว่าเราจะเข้าไปทำงานในตำแหน่งอะไรก็ล้วนต้องใช้ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นแทบทั้งหมด7.2. ทำงานพิเศษ ขณะเรียนไปก็ด้วยทำงานไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น ขายขนม/สินค้าออนไลน์ รับสอนพิเศษ การทำงานพาร์ทไทม์ตามร้านสะดวกซื้อก็สามารถหยิบมาใส่ในแฟ้มสะสมผลงานได้ เป็นต้น7.3. กิจกรรมนอกรั้วมหาลัย มักจะเป็นสิ่งที่เรามีความสนใจอยากทำเอง และเป็นสิ่งที่สามารถนำเสนอความสนใจหรือตัวตนของเราได้มากที่สุด ทำให้องค์กรรู้ว่าเรามีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกอย่างไรบ้าง เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือต้องพบเจอบุคคลที่ไม่คุ้นเคย เราอาจจะใช้โอกาสนี้ในการนำเสนอตัวเองให้องค์กรเห็นว่าเรามีการวางตัวหรือปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้หรือไม่7.4. ประสบการณ์จากตอนฝึกงาน (Internship)รายละเอียดหน้าที่ความรับผิดชอบและภาพถ่ายการฝึกงาน บุคคลที่สามารถอ้างอิงและรับรองประสบการณ์ดังกล่าวนี้ได้ ยิ่งเรามีประสบการณ์ในการฝึกงาน เพราะองค์กรจะได้เห็นว่าเรามีประสบการณ์จากการทำงานมาบ้างแล้ว อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและความกระตือรือร้นที่จะก้าวเข้าสู่โลกแห่งการทำงานอย่างแท้จริง8. งานอดิเรกและความสามารถพิเศษต่างๆ เช่น นำเสนอความสามารถพิเศษที่แตกต่างจากคนทั่วไปเพื่อสร้างความโดดเด่นและน่าสนใจมากขึ้น เช่น ทักษะการพูดการเจรจา ทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ด้านคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ ถึงแม้ไม่มีก็เป็นความสามารถพิเศษทั่วๆ ไป เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี เล่นกีฬา ชอบถ่ายภาพ อ่านหนังสือ เขียนบทความก็จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครงานทางด้านนักเขียน เป็นต้น และหากแนบรูปถ่ายหรือผลงานที่เกี่ยวข้องด้วยจะดีมาก นอกเหนือจากเทคนิคที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งสำคัญในการทำแฟ้มสะสมผลงานคือการเรียบเรียงเนื้อหาให้กระชับ เข้าใจง่ายและควรใส่ความเป็นตัวตนลงไปอย่างสร้างสรรค์ผ่านการเล่าเรื่อง จัดวางข้อมูลอย่างเป็นระบบ และควรเตรียมแฟ้มสะสมผลงานทั้งในรูปแบบเล่มแฟ้มและไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย ยิ่งไปกว่านั้นควรสำรองข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ด้วย เพื่อป้องกันการสูญหายและมีความเตรียมพร้อมเพื่อส่งผ่านอีเมลได้ง่ายและทันที เทคนิคส่วนเหล่านี้จะช่วยทำให้เราดูเป็นมืออาชีพในสายตาองค์กรมากขึ้นอีกด้วย*แหล่งข้อมูลจากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง - เจ้าของเพจเฟสบุ๊ค Thai-try to learn ลิ้งค์ https://m.facebook.com/Thaitrytolearn/*ภาพหน้าปกจาก Freepik Freepik2