ภาวะหมดไฟในวัยรุ่นไม่ใช่เรื่องตลก (Burnout Syndrome) คุณผู้อ่านเคยเป็นอาการนี้ หรือมีคนรอบข้างเป็นบ้างหรือเปล่าคะ? งั้นเรามาทำความเข้าใจ และเช็คอาการไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลยค่า ที่ผู้เขียนหายไปนานเพราะว่าถูกอาการนี้เข้าแทรกแซงเต็มที่ แล้วใช้เวลาศึกษาเรื่องนี้มาสักระยะหนึ่งแล้วค่ะ กว่าจะลุกขึ้นมาเขียนเล่าประสบการณ์ที่เป็นของตัวเองนี้ ต้องใช้ความพยามมากค่ะ แถมแอบผลัดวันเขียนไปเรื่อย ๆ แบบไม่มีเป้าหมายและสาเหตุ คิดดูจริง ๆ แล้วนี่ไม่ใช่ความขี้เกียจนะคะ แต่เพราะสิ่งดังต่อไปนี้ต่างหากค่ะ1. ความน่าเบื่อของงาน สำหรับหลายท่านที่เป็นอาการนี้ มักจะมีเหตุผลส่วนตัวเสมอแตกต่างกันไป ในกรณีของผู้เขียนที่ชอบความท้าทายในชีวิตมาตั้งแต่เป็นเด็กน้อย เมื่อต้องไปเจอกับงานที่มีสถานการณ์ซ้ำจำเจ ไร้ความตื่นเต้น ไม่ค่อยมีอะไรแปลกใหม่ องค์กรไร้ความชัดเจนด้านนโยบายบริหาร ตนเองเลยมองไม่เห็นการพัฒนาทักษะ ฝีมือและสังคม (อาการก็เหมือนกับหมดใจคนรัก ไปต่อด้วยกันไม่ได้แล้ว แต่ยังต้องฝืนทนอยู่ หึ้ยความรักมันต้องรู้สึกดีสิ งานก็เช่นกัน จนวันหนึ่งพยายามบอกให้ตัวเองมีความสุขไม่ได้แล้ว) 2. บุคลิกภาพส่วนตัวของแต่ละบุคคล กลุ่มที่สุ่มเสี่ยงที่สุดเลย คือ ผู้ที่มีมาตรฐานการทำงานสูง (Perfectionism) ขาดความยืดหยุ่น แน่นอนพวกเขาต้องจริงจัง มีระเบียบ ผลงานต้องดีจนมีความคาดหวังจากคนรอบข้างสูง โดยเพื่อนร่วมงาน ครอบครัวและคนรู้จัก เอาไปเลยฉายาคุณชายคุณนายเนี๊ยบ ที่เต็มที่กับทุกสถานการณ์ (ใส่ใจให้ใจมอบใจร้อยเต็มร้อย พลังเต็มเปี่ยมสุด ๆ ระวังสะดุดล้มเพราะจริง ๆ ไม่ใช่ทุกที่จะต้องการความใส่ใจ แล้วเราก็คิดว่ามันควรมีนะคะ) 3. เจ้านายเย็นชากับปู่ย่าตายายที่ไม่ฟังความ ผู้อาวุโสไม่รับฟังความคิดเห็น เกิดความขัดแย้งกับค่านิยมระหว่างช่วงวัย ได้ทั้งในที่ทำงานและครอบครัว หรือขนาดวัยเดียวกันเติบโตมากันคนละสังคม จูนแนวคิดกันไม่ติด กรณีตัวอย่างที่พบมา คือ เด็กรุ่นใหม่ในเมืองสนใจผลงานของผู้ใหญ่ ว่าเจ๋งกับสังคมมากแค่ไหนถึงจะให้ความเคารพ แต่เด็กในชนบทจะมองเพียงอายุที่เยอะกว่า ไม่กล้าตัดสินใจ และชอบไหว้วานผู้ใหญ่ (ก็ไม่ได้ตัดสินเหมารวมทั้งหมดนะคะ แค่บางส่วนที่เจอมาค่ะ)ปีก่อนเห็นกรมสุขภาพจิตเผยแพร่ข้อมูลงานวิจัยของ CMMU หัวข้อ BURNOUT IN THE CITY ชาวกรุงวัยทำงานเกินครึ่งเสี่ยงหมดไฟ ผู้เขียนมาสรุปให้สั้น ๆ เพิ่มว่า 1. ผู้หญิงเป็นเยอะกว่าผู้ชาย 2. กลุ่ม Gen Z มีอาการนี้สูงสุด ส่วนน้อยที่สุดจะเป็น Baby boomer 3. สายงานรัฐวิสาหกิจมีอาการเยอะสุด น้อยสุด คือ งานธุรกิจส่วนตัวค่ะ1. ทางด้านอารมณ์ รู้สึกเบื่อเซ็ง ขาดแรงจูงใจ เฉื่อยชา เครียดหดหู่ หรือเรียกอีกอย่างได้ว่าหมด Passion หากอาการรุนแรงขึ้น จะทำให้มีความผิดปกติทางอารมณ์ ในลักษณะหงุดหงิดง่าย 2. ทางด้านร่างกาย ปวดหัว ปวดหลัง ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง เพลียง่ายร่างกายอ่อนล้า3. ทางด้านพฤติกรรม แยกตัวออกจากสังคม หลบหน้าเลี่ยงการพบปะผู้คน นอนเยอะขึ้นแบบไม่เป็นเวลา ติดแอลกอฮอล์ อาการรุนแรง ไปจนถึงพูดจาไม่ได้โดยไร้สติ เอาเป็นว่าหลายท่านที่สงสัยว่าตัวเองมีอาการภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome) ไม่ต้องเข้าข่ายตามนี้ 100 % หรอกค่ะ ลองสำรวจตัวเองทบทวนจิตใจดู ว่ามีลักษณะใกล้เคียง 60 % ขึ้นไป ก็ต้องรีบรักษาแล้วนะคะ หรือหลีกเลี่ยงจากอาการนี้โดยวิธีเหล่านี้ค่าลาพักผ่อน เพื่อไปทำกิจกรรมยามว่างที่ชอบ เช่น ดูภาพยนตร์หรือซีรีส์สักเรื่อง ที่ให้แรงบันดาลใจกับชีวิต เมาท์กับเพื่อนให้สนุก สำหรับผู้เขียนแอบแบกกระเป๋าไปเที่ยวมา การผจญภัยก็ช่วยให้หัวใจกระชุ่มกระชวยขึ้นเยอะเลย เลี่ยงการใช้โซเชียลมีเดีย ถอดปลั๊กตัวเองออกจาก Facebook, Instagram, Tiktok ดูนะคะจะได้ไม่ผ่านไม่เจอข้อมูลที่ไม่สร้างสรรค์ และพลังลบ พอวางโทรศัพท์มือถือยาว ๆ ก็รู้สึกว่าเรามีเวลายาวนานขึ้นให้ตัวเองเยอะมากในหนึ่งวันหาอาหารอร่อยกิน อาหารจานโปรดที่ทำให้ใจพองฟู หรือบุฟเฟ่ต์จะเยียวยาทุกสิ่ง นี่มีหลายระดับหลายราคาหลากสัญชาติอาหาร เลือกที่สะดวกและพอใจกันไปค่าพึ่งศาสนา หากพึ่งพาตัวเองสุด ๆ แล้วยังไม่หายดี เห็นทีต้องเข้าวัด เข้าโบสถ์ เข้าสุเหล่า เข้าสำนัก เอาสักที่ตามความศรัทธา สวดมนต์ให้จิตใจผ่องใส สร้างความสบายใจในพื้นที่สงบ ช่วยเยียวยาจิตใจตนเองที่ตัวเราทำร้ายมานานสุดท้ายแล้วต้องปรับทัศนคติให้ดี ว่าความเครียดระดับหนึ่ง (ที่เรียกว่าเล็กน้อย) ก็เป็นสิ่งดีที่ทำให้เราโฟกัสงานมากขึ้น สิ่งนี้ก็เร่งให้งานเสร็จได้ดีเลยแหละค่า ขอให้ภาวะหมดไฟอย่ามาเยือนท่านอีกครั้ง หลีกเลี่ยงการสนทนากับคนที่มีพลังงานลบ ไม่ถึงกับต้องทำทุกสิ่งที่แนะนำนะคะ เลือกเอาที่สะดวกกายสะดวกใจ จะดีต่อตนเองมากเลยค่ะ ขอบอกเลยว่าคุณโชคดีมากค่ะที่พบกับบทความนี้ ฝากติดตามกันต่อไปด้วยนะคะ เพราะผู้เขียนจะมาแชร์ความรู้ด้านสุขภาพจิตในสังคมไทย แบบเข้าใจง่ายกันอีกครั้งค่าผู้เขียน https://creators.trueid.net/@MoonaKข้อมูลงานวิจัยของ CMMU หัวข้อ BURNOUT IN THE CITY ชาวกรุงวัยทำงานเกินครึ่งเสี่ยงหมดไฟhttps://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=3017 เครดิตภาพ :ภาพปก pixabay / canvaภาพที่ 1 pixabay / canvaภาพที่ 2 pexels / canvaภาพที่ 3 pixabay / canvaเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !