การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของสมุนไพรนั้น เป็นสิ่งที่ควรให้การสนับสนุนเป็นอย่างมาก เพื่อปัจจุบันนั้นมีการศึกษาเรื่องพืชสมุนไพรอยู่กันเพียงกลุ่มแคบ ๆ จึงทำให้การนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ กลายเป็นเรื่องไกลตัว คนทั่วไปก็รู้จักพืชสมุนไพรเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น อีกทั้งพืชสมุนไพรบางชนิดก็หาได้ยากเต็มที และบางชนิดก็มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างมากผู้เขียนจึงมีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่ง ในการนำข้อมูลต่าง ๆ ของพืชสมุนไพรมาไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของลักษณะพืชสมุนไพรหรือสรรพคุณต่าง ๆ ของสมุนไพรแต่ละชนิด รวมไปถึงวิธีการนำมาใช้จากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง มาเผยแพร่ให้ความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไป เพื่อให้พืชสมุนไพรกลับมาเป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่งบทความนี้ผู้เขียนได้นำข้อมูลของพืชสมุนไพรหนึ่งชนิด มาบอกเล่าถึงสรรพคุณที่น่าสนใจ สมุนไพรชนิดนี้มีชื่อว่า “ฤๅษีผสมแล้ว” ที่ปกติแล้วมักจะนำมาปลูกไว้เพื่อเป็นไม้ประดับ ซึ่งหลายคนอาจไม่ทราบว่าพืชชนิดนี้มีสรรพคุณไม่น้อยเลยทีเดียวภาพถ่ายโดยผู้เขียนลักษณะของ “ฤๅษีผสมแล้ว” จัดเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นอ่อนมีสีแดงเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย ต้นไม่สูงมา จะมีขนอ่อนคลุมอยู่บริเวณลำต้น ใบจะรีเป็นรูปไข่มีสีม่วงแต้มชมพูเข้มตรงกลาง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ขอบใบทั้งสองข้างหยักคล้ายใบเรื่อย ดอกมีสีขาวเป็นช่อ ที่ปลายยอดแหลมขึ้นมา กลีบดอกบางมีสี่กลีบสรรพคุณของ “ฤๅษีผสมแล้ว” แก้ปวดบวม แก้ตับอักเสบ บำรุงตับ แก้ปวดท้อง แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยสมานแผล ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานปกติภาพถ่ายโดยผู้เขียนเมื่อสมัยที่ผู้เขียนเป็นเด็กนั้นมักจะช่วยปู่เพาะต้น “ฤๅษีผสมแล้ว” ขาย โดยการเพาะนั้นจะใช้วิธีการเพาะโดยใช้เมล็ดให้ต้นอ่อนงอกออกมา พอแข็งแรงก็จะแยกไปปลูกไว้ในถุงเพาะชำ ตอนนั้นผู้เขียนเข้าใจว่าพืชชนิดนี้เป็นเพียงแค่ไม้ประดับที่ให้ความสวยงามเท่านั้น จนได้มารู้จากปู่เมื่อครั้งหนึ่ง ย่ามีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปู่จึงนำใบและต้นของสมุนไพรชนิดนี้ มาต้มให้ดื่มทำให้อาการหายเป็นปกติ ปู่บอกว่าน้ำสมุนไพรที่ได้จากการนำใบและลำต้นมาต้มดื่มนั้นช่วยแก้อาการได้หลายอย่าง อีกทั้งยังเป็นยาบำรุงร่างกายเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นยาช่วยขับปัสสาวะได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ใบสดยังสามารถนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกที่แผลเพื่อลดอาการแผลบวมอักเสบได้อีกด้วยที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงสรรพคุณบางส่วนที่ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์มา ซึ่งนอกจากนี้ “ฤๅษีผสมแล้ว” ยังสามารถนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นเพื่อประกอบเป็นยารักษาได้อีกหลายอาการ ซึ่งผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะทำให้ทุกท่านหันมาให้ความสนใจและรู้จักพืชสมุนไพรมากขึ้น เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบต่อไปภาพถ่ายโดยผู้เขียน