เมื่อเราได้ยินคำว่ารังสี คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการระเบิดนิวเคลียร์ เหตุการณ์ฟุกุชิมะ ที่มีผู้คนเสียชีวิตมากมาย แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมดของรังสี รังสีนั้นยังมีอีกหลายด้านให้เราได้มารู้จักกันยกตัวอย่างเช่น รังสีที่เราคุ้นเคย รังสีเอ็กซ์เรย์ (X-RAY) รังสีที่คุณหมอใช้ตรวจคนไข้ ถ้ารังสีที่เราใช้ในสงครามกับรังสีที่เราใช้ในการรักษาคือตัวเดียวกันแล้วอย่างงี้เราควรกลัวรังสีดีไหม?คำตอบของเรื่องนี้คือ การเข้าใจ เริ่มจากเรามาเรียนรู้กันว่ารังสีคืออะไร รังสีแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic radiation)และ รังสีนิวเคลียร์(Nuclear radiation) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic radiation) เป็นพลังงานบริสุทธิ์ที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์กันของคลื่นไฟฟ้ากับคลื่นแม่เหล็กที่กวัดแกว่งในอากาศทำให้เกิดพลังงาน ตัวอย่างคลื่นพวกนี้ได้แก่ คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ รังสีอินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ รังสีUV รังสีเอ็กซ์เรย์ และแกมม่าเรย์รังสีนิวเคลียร์(Nuclear radiation) เกิดจากอะตอมของไอโซโทปที่ไม่เสถียร เพื่อการที่จะให้อะตอมกลับมาเสถียร มันจะต้องปล่อยสสารหรือพลังงานบางอย่างออกมา ซึ่งสิ่งที่ถูกปล่อยออกมาถูกเรียกว่ารังสีนิวเคลียร์(Nuclear radiation)นั่นเอง เกร็ดน่ารู้ ในกล้วยที่พวกเรากินก็มี โพแทสเซียมไอโซโทปที่ปลดปล่อยรังสีออกมาเช่นกันเมื่อเราเข้าใจแล้วแล้วว่ารังสีนั้นคืออะไรและรู้ว่ารังสีอยู่รอบๆตัวเราเสมอ เราควรเตรียมตัวหรือรับมือกับมันอย่างไรดี อันดับแรก ไม่ใช่รังสีทุกชนิดที่ก่อให้เกิดอันตราย รังสีจะก่อให้เกิดอันตรายได้ก็ต่อเมื่อมันเกิดการไอออไนซ์(Ionization) และเรียกรังสีชนิดนั้นว่า รังสีก่อประจุ(ionizing radiation)รังสีก่อประจุ(ionizing radiation)ประกอบไปด้วยรังสีนิวเคลียร์ทั้งหมดและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเฉพาะคลื่นที่มีพลังงานสูงเท่านั้นเช่น รังสีUVและรังสีเอ็กซ์เรย์ นั้นเป็นเหตุผลว่าทำไมเวลาเราไปเอ็กซ์เรย์คุณหมอถึงใช้แผ่นตะกั่วในการบังอวัยวะส่วนอื่นที่ไม่ต้องการเอ็กซ์เรย์ และทำไมเราควรทาครีมกันแดดเวลาออกไปข้างนอกเพราะรังสีUVโดยทั่วไปแล้วเรามีข้อกำหนดว่าคนทั่วไปห้ามได้รับรังสีเกิน 0.001 ซีเวิร์ตต่อปี หากได้รับ 1-2 ซีเวิร์ต จะทำให้เกิดอาการวิงเวียนและอยากอาเจียนได้ภายใน6ชั่วโมงหากได้รับ 2-6 ซีเวิร์ต จะทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้ภายใน8ชั่วโมงหากได้รับ 6-8 ซีเวิร์ต จะทำให้เกิดอาการเป็นไข้ได้ภายใน4ชั่วโมงและหากได้รับ 10 ซีเวิร์ต อาจถึงแก่ชีวิตได้ภายใน1สัปดาห์ถ้าเทียบกับ การไปเอ็กซ์เรย์ฟัน1ครั้งจะได้รับรังสี0.00001ซีเวิร์ต แปลว่าคุณต้องไปทำฟันมากกว่า100ครั้งใน1ปีถึงจะเกินข้อกำหนดการไปเอ็กซ์เรย์อก1ครั้งจะได้รับรังสี0.0001ซีเวิร์ต แปลว่าคุณต้องไปเอ็กซ์เรย์อกมากกว่า10ครั้งใน1ปีถึงจะเกินข้อกำหนดการไปCT-Scanc แบบทั้งตัว 1ครั้งจะได้รับรังสี0.001ซีเวิร์ต แปลว่าคุณไปCT-Scanc แบบทั้งตัวได้แค่1ครั้งต่อปีถึงจะไม่เกินข้อกำหนดสรุปแล้วเราควรกลัวรังสีไหม? ในเมื่อพวกเราอาศัยอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยรังสี หากเราเข้าใจและเรียนรู้มันเราก็จะสามารถป้องกันตัวเองและใช้ประโยชน์จากมันได้มากมาย เครดิตภาพ:รูปภาพปกโดยนักเขียนรูปภาพ1 โดย Philip Ronan, Gringer /Wikipediaรูปภาพ2 โดย Eugene Alvin Villar/Wikipediaรูปภาพ3 โดย Stannered /Wikipediaรูปภาพ4 โดย BruceBlaus / Wikipediaเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !