“Black Swan” หากแปลตามคำศัพท์แบบตรงตัวก็คือ “หงส์ดำ” ซึ่งหากนำคำนี้ไปพูดเมื่อสมัยหลายร้อยปีก่อนก็จะโดนหัวเราะเยาะราวกับเป็นตัวตลก เพราะคนสมัยก่อนนั้นเชื่อว่าหงส์มีแค่สีขาวเท่านั้น จนเมื่อมีชายนักสำรวจชาวดัตซ์ผู้หนึ่งมีนามว่า Willem de Vlamingh ได้เดินทางไปพบกับหงส์ที่มีสีดำทั้งตัวโดยบังเอิญ ทางฝั่งตะวันตกของทวีปออสเตรเลีย จึงทำให้เกิดเป็นคำเปรียบเปรยขึ้นมาถึงสรรพสิ่งในโลกว่า “สิ่งที่ไม่เคยเห็น ก็ใช่ว่าจะไม่มีอยู่” และมักจะถูกนำมาใช้เปรียบเทียบกับ “สิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด"ภาพโดย Michelle Maria จาก Pixabay >>>link ภาพแต่ภายหลัง “Black Swan” ได้ถูกนำมาใช้แพร่หลายมากขึ้นโดยชายชาวเลบานอนชื่อ Nassim Nicholas Taleb นักลงทุนหุ้นใน Wall Street เขาได้เขียนหนังสือที่อธิบายทฤษฎีของ “Black Swan” ในแง่ของการเงินและเศรษฐกิจ โดยอธิบายลักษณะ 3 อย่างที่เข้าข่ายของ “Black Swan” คือ1. เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบมหาศาล3. หลังจากที่เหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว สามารถใช้เหตุผลอธิบายได้ว่าเกิดอะไรขึ้นหากย้อนไปดูเหตุการณ์วิกฤตต้มยำกุ้งที่ตอนนั้นไม่มีใครคาดคิดว่า ในขณะที่เศรษฐกิจของแต่ละประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศในเอเชียกำลังเติบ โดยประเทศไทยเองก็มีตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจถึง 10% ต่อปี อยู่ ๆ กลับประสบปัญหาวิกฤตทางการเงิน ค่าเงินบาทลอยตัวสูงลิบ ส่งผลกระทบกับประเทศอื่น ๆ ไปทั่วเอเชีย สถาบันการเงินต่าง ๆ รวมถึงธุรกิจเกี่ยวกับด้านอสังหาริมทรัพย์ ต่างประสบปัญหาจนล้มละลาย หรือวิกฤตวิกฤตซับไพรม์ของสหรัฐอเมริกา ที่ธนาคารต่าง ๆ ปล่อยกู้ง่ายเกินไป ทำให้เกิดหนี้เสียเป็นจำนวนมาก และนโยบายของธนาคารที่ออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อนจนเกินไป ส่งผลให้เป็นตัวทำลายเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริการอย่างยับเยิน หรือแม้กระการเกิดเหตุการณ์สึนามิ ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นที่เมืองไทยและมีการสูญเสียอย่างมหาศาล ซึ่งที่กล่าวมาก็เป็นการอธิบายโดยยกตัวอย่างคร่าว ๆ ของเหตุการณ์ในอดีตที่เกี่ยวกับทฤษฎี “Black Swan” ซึ่งวิกฤตโรค Covid-19 ระบาดที่เรากำลังประสบอยู่ตอนนี้ก็เข้าข่ายทฤษฎีนี้ด้วยภาพโดย Steve Buissinne จาก Pixabay >>>link ภาพในสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้ว่า ภาวะโรคระบาดจะผ่านไปเมื่อใด และหลังจากที่ผ่านพ้นจากวิกฤตโรคระบาดไปแล้ว เรายังต้องเผชิญกับพิษเศรษฐกิจอีกนานแค่ไหน แต่อย่างไรก็ดีในระหว่างที่เรากักตัวอยู่เราควรหาวิธีปรับตัวเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคต ซึ่งก่อนอื่นผู้เขียนต้องขออธิบายก่อนว่าไม่ว่าจะช้าจะเร็วสถานการณ์ของโรคระบาดจะต้องผ่านไป และหลังจากนั้นรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้คนก็ต้องเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างแน่นอน ทุกอย่างจะอยู่ในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการค้าขาย ธุรกิจ การจับจ่ายใช้สอย หรือแม้กระทั่งการศึกษา ซึ่งหากเรามองในด้านของเศรษฐกิจและเปรียบเทียบกับช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งที่เคยผ่านมา ผู้เขียนกลับมองเห็นโอกาสของคนทุกระดับด้านการประกอบอาชีพที่เท่าเทียมกัน กล่าวคือผลกระทบที่เราได้รับในปัจจุบันนี้ คนทุกอาชีพทุกระดับชั้น ต่างได้รับผลกระทบเหมือนกันหมดไม่ว่าจะเป็นชาวไร่ชาวสวน คนใช้แรงงาน พนักงานประจำ ไปจนถึงเจ้าของกิจการ ไม่ว่าจะเป็นกิจการขนาดใหญ่หรือกิจการขนาดเล็กก็ตาม ต่างกับวิกฤตต้มยำกุ้งที่ผู้ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของสถาบันการเงิน และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ นั่นก็หมายถึงว่าเมื่อสถานการณ์ Covid-19 สงบลงแล้วทุกคนมีโอกาสเริ่มต้นใหม่เหมือนกันหมดถึงแม้ว่าจะไม่มีเงินทุนก็ตาม โดยผู้เขียนแนะเป็นแนวทางเพื่อให้เตรียมตัวไว้ 3 ข้อคือ1. ระหว่างกักตัวต้องเก็บเกี่ยวความรู้ให้ได้มากที่สุด สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือหลังจากนี้หลาย ๆ อย่างจะต้องปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบออนไลน์มากขึ้น เราควรใช้เวลาในการกักตัวให้เป็นประโยชน์มากที่สุด เพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิธีการสร้างรายได้หรือใช้สื่อออนไลน์พัฒนาธุรกิจ ไม่ว่าผู้ที่ว่างงาน คนที่มีงานประจำทำอยู่หรือแม้กระทั่งเจ้าของกิจการก็ตาม จะต้องเข้าใจว่าระบบออนไลน์จะเป็นแนวทางที่ดีที่สุดทำหรับการสร้างรายได้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการทำ Drop Ship, Youtuber, การขายสินค้าออนไลน์, การจัดทำสื่อการสอนออนไลน์, หรือระบบ E-commerce ต่าง ๆ เป็นต้น จึงควรใช้เวลาในการกักตัวเพื่อศึกษาความรู้ด้านออนไลน์ให้ได้มากที่สุดภาพโดย simplu27 จาก Pixabay >>>link ภาพ2. วางแผนขั้นตอนการทำงานในสิ่งที่อยากทำ ช่วงที่กักตัวนั้นต้องยอมรับว่าเรามีเวลาอยู่กับตัวเองค่อนข้างมาก เราไม่ควรปล่อยเวลาเหล่านี้ให้เสียเปล่า เพราะโอกาสที่เราจะได้วางแผนเพื่ออนาคตของตัวเอง โดยไม่ต้องพะวงกับเรื่องอื่นเช่นนี้มีไม่มาก เช่น หากเราต้องการขายสินค้าออนไลน์แต่เราไม่มีทุน เราไม่รู้จะขายอะไร หรือเราไม่มีความรู้ด้าน Social Media ผู้เขียนให้แนวคิดง่าย ๆ คือ “ถ้าตั้งใจแล้วเราจะทำได้” สมมุติว่าเราไม่มีความรู้เรื่อง Social Media แต่เราตั้งใจที่จะทำเราก็สามารถค้นหาเรื่องที่อยากรู้ได้จาก Google หรือใน Youtube ได้ซึ่งก็มีความรู้ทุกเรื่องที่เราอยากรู้ ให้เราได้ศึกษาและลองทำ คำถามต่อไปคือไม่มีทุนไม่รู้จะขายอะไร ขอบอกไว้เลยครับว่าต่อจากนี้ไปจะขายอะไรก็ขายได้ แค่เพียงเรามีเพจหรือมี Social Media ของเราเอง เราสามารถไปขอสินค้าที่มีผู้ต้องการขายอยู่แล้ว ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่ายังมีผู้ค้าอีกมากที่มีสินค้าและอยากมีคนมาช่วยขาย ซึ่งหากเราศึกษาข้อมูลดีแล้วจะทราบว่าเราแทบไม่ได้ลงทุนอะไร หากขายได้เราก็มีรายได้ หากขายไม่ได้เราก็ไม่เสียอะไรแต่สิ่งที่ได้คือเราได้เรียนรู้และมีประสบการณ์เพื่อต่อยอดความรู้ของเราให้สูงขึ้นภาพโดย Kevin King(Chandana Perera) จาก Pixabay >>>link ภาพ3. ฝึกสิ่งที่ตนเองถนัดให้ชำนาญ ผู้เขียนชื่อว่าหลาย ๆ ท่านอาจเห็นด้วยว่าการเป็นนักขายโดยใช้สื่อออนไลน์เป็นสิ่งที่ดีและน่าสนใจ แต่ก็คงมีอีกหลายท่านที่ไม่ชอบหรือไม่ถนัดงานขาย แต่มีเรื่องที่ตัวเองถนัดมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นด้านกีฬา ดนตรีศิลปะ หรือความรู้อะไรก็ได้ในโลก ซึ่งท่านสามารถนำความรู้เหล่านี้มาถ่ายทอดได้ แม้กระทั่งแม่บ้านไม่ถนัดงานอื่นเลยแต่ทำอาหารมาก ก็สามารถนำมาสอนผ่านสื่อ Social ได้ โดยใช้มุมมองที่ว่าต่อไปคนทำงานที่บ้านมากขึ้นต้องทำอาหารทานเอง ก็จะเปิดหาดูวิธีทำอาหารอย่างนี้เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการปลูกต้นไม้ การเลี้ยงปลา การเลี้ยงไก่ชน หรืออะไรก็ได้ที่ท่านคิดว่าท่านชอบและทำออกมาได้ดีที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงแนวทางที่ผู้เขียนอยากนำเสนอ อันหวังว่าทุกท่านจะใช้เวลาในช่วงวิกฤตนี้ให้เป็นโอกาส เพื่อเมื่อถึงวันที่เราผ่านพ้นสถานการณ์นี้ไปได้เราจะมีความพร้อมพอที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ทำให้เรามีโอกาสที่จะเติบโตต่อไปได้ในอนาคต และเราจะผ่านเหตุการณ์นี้ไปด้วยกันภาพหน้าปก : ภาพโดย Nel Botha จาก Pixabay >>>link ภาพ