ในบรรดาวิธีการเรียนภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่ 2 ที่ 3 หรือภาษาอื่นๆที่ไม่ใข่ภาษาแม่ของเราเนี่ย เมลโล่เชื่อว่าหนึ่งในนั้นจะต้องมีการแปลเพลงในภาษานั้นๆอยู่ด้วยอย่างแน่นอนเลย ในวันนี้เมลโล่จะมาถอดบทเรียนจากการเนื้อเพลงกันค่ะ ในประโยคหรือวลีต่างๆในเพลง ล้วนต้องประกอบไปด้วย grammar ในการแต่งประโยคอยู่แล้วใช่มั้ยล่ะคะ ถ้าเราฝึกสังเกตหลักการเล็กๆน้อยๆพวกนี้ที่ปรากฎในเนื้อเพลง เราก็จะเริ่มเอา grammar นั้นๆมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ง่ายมากขึ้นค่ะ โดยบทเรียนที่เมลโล่ถอดได้จากเพลง Come back to me by Utada มี 5 อย่างด้วยกัน นั่นก็คือ1. ประธานเอกพจน์ กริยาเติม sเริ่มกันที่ grammar ง่ายๆ เรียกว่าเรียนกันมาตั้งแต่ป.1 เลยก็ว่าได้กับการที่ ‘rain’ หรือฝนเนี่ย เป็นคำนามนับไม่ได้ ซึ่งถือเป็นคำนามเอกพจน์ และประธานเอกพจน์ กริยาต้องเติม s แต่ๆๆๆอย่าเพิ่งเลื่อนผ่านข้อนี้กันไป เชื่อเมลโล่ได้เลยว่าเพราะในภาษาไทยของเรา ไม่ต้องผันกริยาตามประธาน เวลาที่เราต้องพูดภาษาอังกฤษจริงๆ เราจะละเลยจุดนี้แล้วไม่เติม s ไปซะดื้อๆ ถือซะว่าเมลโล่เอาข้อนี้มาเตือนใจเตือนสติกันไว้ว่า ประธานเอกพจน์ กริยาต้องเติม s นะคะ2. Is it memory or memories?ข้อนี้ต้องเรียกว่าเกิดขึ้นกับคำนามนับไม่ได้หลายๆคำเลยก็ว่าได้ ที่บางครั้งเจ้าของภาษาก็เติม s ใส่เข้ามา ทั้งๆที่อ้าว คำนามนับไม่ได้ไม่ใช่หรอ ทำไมถึงเติม s ในความเป็นจริงแล้วคำนามนับไม่ได้นั้นๆจะนับไม่ได้ก็ต่อเมื่อเรามองมันเป็นภาพรวม ภาพกว้างๆ ไม่ได้เจาะจง เช่น homework, furniture, or memory แต่ถ้าเมื่อไหร่เราตั้งใจจะเจาะจงลงไป คำนามนับไม่ได้เหล่านั้นก็จะสามารถเติม s ได้ค่ะ อย่างบริบทในเพลงนี้ คนแต่งไม่ได้หมายถึงความทรงจำทั้งหมดในชีวิตค่ะ เขาเจาะจงหมายถึงความทรงจำในช่วงเวลาที่เรายังรักกัน เพราะฉะนั้นเลยเติม s ได้ค่ะ3. Go + gerundGerund เป็นรูปแบบของการเปลี่ยนคำกริยาให้เป็นคำนามโดยการเติม -ing ด้านหลัง เช่น eat = กิน, eating = การกิน โดย gerund ทำหน้าที่ในประโยคเหมือนคำนามทั่วไปเลยค่ะ สามารถเป็นประธาน อยู่หลังคำบุพบทได้ และจะมีบางคำกริยาที่ต้องตามหลังด้วย gerund ไม่สามารถเป็น verb infinitive ได้เช่น admit, keep, avoid, stop, และ go ก็เป็นหนึ่งในคำกริยาที่ต้องตามด้วย gerund เราจะไม่ go shop แต่เราจะ go shopping นะคะ4. I do regret it.การใส่ do เข้ามาเป็นการย้ำความจริงจังของกริยาในประโยคค่ะ ว่ามันเกิดขึ้นจริงๆนะ เรารู้สึกแบบนี้จริงๆนะ อย่างข้อนี้ที่พูดว่า I do regret it ก็แปลว่าฉันเสียใจกับเรื่องที่เกิดขึ้นจริงๆ หรือจะนำไปใช้ในประโยคหวานๆอย่าง I do love you. ฉันรักเธอจริงๆ ก็จะทำให้การบอกรักดูจริงจังมากขึ้นค่ะ โดยเราสามารถผัน verb to do ที่ใช้ในการย้ำตาม Tense ของประโยคได้เลย คิดซะว่ามันเป็นกริยาหลักตัวใหม่ของเรา แทนที่คำกริยาด้านหลังไปเลย เช่น He did love you. เขาเคยรักคุณจริงๆนะ แต่ก็ในอดีตมาแล้วล่ะ5. Thee คืออะไร?ข้อนี้เรียกว่าเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆจากเมลโล่ค่ะ โดย thee แปลง่ายๆว่า คุณ ไม่ต่างจาก you เลยค่ะ ที่จะต่างคือ thee เป็น object pronoun ของ you คือวาง thee ไว้ได้แค่ในตำแหน่งกรรมค่ะ ในตระกูลเดียวกันยังมี thou เป็น nominative form หรือคล้ายๆกับว่า thee คือรูปกรรมของ thou ค่ะ, thy/thine เป็น possessive form และ reflexive form คือ thyself นั่นเองค่ะ โดย thou, thee, thy/thine, thyself ปัจจุบันยังมีใช้กันอยู่ใน Yorkshire กับ Lancashire ในอังกฤษค่ะถ้าทุกคนกำลังสงสัยกันว่าแล้วทำไมต้องใช้ thee แทน you เมลโล่ไม่คอนเฟิร์มแล้วกัน แต่ขอตั้งข้อสังเกตว่าในบรรดาท่อนก่อนและหลังประโยค I open my heart to thee เนี่ย ทุกประโยคจะลงท้ายด้วยเสียง อี เพราะฉะนั้นในประโยคนี้ใช้ thee แทน you จึงจะทำให้ทั้ง verse นี้ไพเราะมากกว่าค่ะเป็นอย่างไรกันบ้างคะกับ 5 บทเรียนที่เมลโล่ถอดออกมาจากเพลง Come back to me เรียกว่าเราจะอกหัก ฟังเพลงเศร้าแค่ไหน ก็จะต้องได้ความรู้กลับมาด้วย ถ้าชอบการถอดบทเรียนจากเพลงของเมลโล่ฝากกดติดตามกันไว้ได้เลยนะคะ บทความดีๆแบบนี้จะมีมาฝากทุกคนเรื่อยๆแน่นอนค่ะ ภาพปก และภาพประกอบ จาก Pexels by Andrew Neelอัปเดตข่าวสาร และแหล่งเรียนรู้หลากหลายแบบไม่ตกเทรนด์ บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !