Cr. ภาพถ่ายปกจากศมส.ภายในโถงห้องขนาดใหญ่ของอาคารสำนักงานบริษัท พีเอ็มเซ็นเตอร์จำกัด ของคุณเสริมคุณ คุณาวงศ์ บริเวณชั้น 2 คือคลังศิลปะแห่งสยาม เป็นสถานที่รวบรวมงานประติมากรรมของศิลปินไทย ผู้เข้าชมที่เดินเข้าไปในสถานที่นี้ จะอยู่ท่ามกลางงานศิลปะจำนวนมากมาย ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ล้วนแต่เห็นชิ้นงานทรงคุณค่า Cr. ภาพถ่ายจากศมส.Cr. ภาพถ่ายจากศมส.การเดินชมงานศิลปะให้เป็นตามระบบของการจัดแสดง ควรเดินชมตามการแบ่งเป็น 5 ยุค ได้แก่ ยุคที่ 1 คือ งานพุทธศิลป์ ยุคที่ 2 ยุคศิลปะเหมือนจริงเริ่มสมัย ร.4 - ร. 5 มีการรับเทคนิควิธีการปั้นรูปเหมือน มาจากต่างประเทศ พร้อมกับศิลปกรรมแบบยุโรป ยุคที่ 3 ยุคศิลปินสมัยใหม่ เริ่มช่วงปี 2490 ยุคนี้เน้นความเหมือนจริงแต่เนื้อหาใหม่ ยุคที่ 4 ยุคทองของนามธรรม ยุคที่ 5 ผลงานสื่อผสมสะท้อนอัตลักษณ์ศิลปินCr. ภาพถ่ายจากศมส.Cr. ภาพถ่ายจากศมส.ผลงานเด่นที่จัดแสดงได้แก่ งานประติมากรรมครุฑ เป็นงานขนาดใหญ่ผลงานของอาจารย์ศิลป์ พีระศรีและลูกศิษย์ และยังมีรูปเหมือนของใบหน้าอาจารย์ศิลป์ พีระศรีด้วย ผลงานของศิลปินคนดังที่คุ้นชื่อก็มีอย่างเช่น อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ผลงานชื่อ เจ้าเงาะกับเด็กเลี้ยงควาย ของ อ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต Cr. ภาพถ่ายจากศมส.ผลงานชื่อ มีดของ อ.ถวัลย์ ดัชนี Cr. ภาพถ่ายจากศมส.ผลงานของศิลปินแต่ละท่าน ต่างมีรูปแบบของตนเอง แฝงความหมายอย่างลึกซึ้ง วัสดุสร้างงานมีทั้งทำด้วยไม้ หิน โลหะ ยกตัวอย่างผลงานของ ชีวา กมลมาลัย งานจะแสดงออกในความหมายของสัจธรรมแห่งชีวิต ชื่อผลงาน ใบหน้าและความว่างเปล่า ใบหน้าเหนือความจริง ถ้าเป็นผลงานของอาจารย์ทวี รัชนีกร มักมีเนื้อหาเสียดสีสังคม ถ้าเป็นผลงานของอาจารย์เขียน ยิ้มศิริ ผลงานทำจากสำริด ใช้สีดำ แต่ตัวงานมีทรวดทรงอ่อนช้อยการได้มาเที่ยวชมในศูนย์ประติมากรรมแห่งนี้ ได้ทั้งความรู้เรื่องยุคสมัยต่าง ๆ ของงานประติมากรรม และรู้สึกตื่นตาตื่นใจเวลาอยู่ท่ามกลางชีวิตและจิตใจของศิลปินสยามจำนวนมากมาย ผู้ถ่ายทอดมุมมองชีวิตผ่านผลงานในทุกชิ้นสถานที่ตั้ง : ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพ เลขที่ 4/18-19 หมู่ 11 ถนนนวลจันทร์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10240 โทรศัพท์ : 02 590 5055 ต่อ 581,180 เวลาเปิด-ปิด : 10.00 - 16.00 น. เปิดวันอังคารถึงวันเสาร์ ไม่เก็บค่าเข้าชมการเดินทาง : ให้มาทางถนนรามอินทราซอยรามอินทรา 40 ถึงถนนนวลจันทร์ เข้าซอยนวลจันทร์ 56 พอผ่านหมู่บ้านจัดสรรบ้านอารียาก็จะถึงพิพิธภัณฑ์ ให้สังเกตป้ายสูงที่รั้ว ด้านหน้ามีวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างหรือมาจากถนนนวมินทร์เข้าซอยสิงหเสรี 2ขอขอบคุณฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) https://db.sac.or.th/museum/museum-detail/120