พฤติกรรมของพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญต่อพฤติกรรมของลูกมาก ถ้าหากพ่อแม่บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าพฤติกรรมที่ทำเป็นปรกติและพูดคุยกันในชีวิตประจำวัน ก็สามารถส่งผลต่อความคิดและการกระทำของลูกได้ คุณใช่พ่อแม่หนึ่งในนั้นหรือไม่ มาดูกัน 1.พ่อแม่ขี้บ่นสำหรับพ่อแม่ที่ชอบบ่นลูกอยู่บ่อยๆและบ่นทุกเรื่องซ้ำๆ ซึ่งการบ่นนั้นทำไปเพื่อที่จะให้ลูกของเราทำในสิ่งที่ถูกต้อง รวมไปถึงการที่พ่อแม่สร้างความคาดหวังให้กับตัวลูก แต่การบ่นนั้นยิ่งจะทำให้เด็กไม่ได้ลงมือทำอย่างเข้าใจ รู้สึกเหมือนทำอะไรไปแล้วก็ไม่ถูกสักอย่าง บางเขาก็จะคิดว่าเวลาเขาจะทำหรือไม่ทำในสิ่งๆนั้น พ่อกับแม่ก็จะบ่นเขาอยู่ดี เพราะอย่างนั้นก็เลยไม่ทำเลยดีกว่า สุดท้ายแล้วลูกของเราก็เป็นคนที่ไม่รู้จักความรับผิดชอบในหน้าที่และไม่มีความภูมิใจในตัวเองต้องบอกเลยว่าเราก็เติบโตมากับการบ่นของพ่อแม่เหมือนกัน ทำให้ในบางครั้งเราก็ไม่รู้เลยว่าอะไรคือความภูมิใจในตนเอง อะไรคือสิ่งที่เรามีความภูมิใจ เพราะฉะนั้นพ่อแม่อาจจะต้องปรับคำพูด เป็นการบอกเล่าว่าทำไมต้องทำ แล้วจะเป็นยังไง มันมีข้อดียังไง เป็นต้น 2.พ่อแม่ช่างตำหนิติเตียนการติติงหรือแสดงความคิดเห็นเชิงลบต่อลูกนั้นไม่ใช่สิ่งที่ดีเลย แม้กระทั้งการดุด่าพฤติกรรมของลูกเกินกว่าสิ่งที่ลูกได้ทำลงไป หรือบ่นลูกที่ทำไม่ได้ดั่งใจ ทำผิดและตำหนิลูกทันที ดุด่าแบบไม่ฟังเหตุผลของลูก บางคนอาจจะใส่อารมณ์โมโห ความโกรธ จนกระทั่งการชี้หน้าด่าใส่ลูก โดยการที่พ่อแม่ทำพฤติกรรมแบบนี้กับลูกนั้น นอกจากจะทำให้ลูกเสียใจแล้ว ยังทำให้ลูกมีความตัวเองน้อยลง ไม่ความกล้าที่จะลงมือทำอะไร เพราะกลัวความผิดพลาด ไม่มีความกล้าตัดสินใจ รอที่จะทำตามที่พ่อแม่บอกเท่านั้นเพราะไม่อยากถูกโกรธที่สร้างปัญหาให้กับคนเป็นพ่อแม่ จนทำให้เขาไม่กล้าที่จะบอกความต้องการของตัวเองแก่พอแม่เลย เพราะกลัวว่าจะกลัวโดนดุการที่ลูกขาดความมั่นใจในตัวเองนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ลำบากต่อการใช้ชีวิตของลูกมาก ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสังคม การทำงานในอนาคต หรือการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนด้วย จากพฤติกรรมนี้เราควรจะปรับโดยเปลี่ยนจากการดุด่าและติติง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือพ่อและแม่ควรปรับอารมณ์ของตัวเองให้ได้ก่อนที่จะไปสอนลูก เช่นลูกทำจานข้างแตก ก็ลองถามลูกด้วยนำเสียงที่ไม่ได้โกรธ ถามด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน ว่า โอเคมั๊ย เรามาช่วยกันเก็บนะคะ หนูไปหยิบถังขยะมานะ แม่จะไปหยิบเศษผ้ามาห่อเศษจานที่แตก แล้วเราค่อยเอาไปทิ้งด้วยกัน เป็นต้น 3.พ่อแม่อารมณ์ไม่คงที่ โดยพฤติกรรมนี้จะเกี่ยวกับผู้ใหญ่ที่บางเวลามีความสุข ก็จะดีใจจนใจหาย แต่พอเวลาหงุดหงิด ก็จะโมโหร้ายเหมือนกับเสือ ซึ่งคนเป็นพ่อเป็นแม่นั้นจะเป็นแบบนี้อยู่เสมอ ซึ่งจากพฤติกรรมนี้จะทำให้ลูกเกิดความสับสน ไม่กล้าเข้าหาเพราะไม่รู้ว่าจะเข้าหาอย่างไร ต้องพูดคุยกับพ่อแม่อย่างไร เกิดความลังเลที่จะเข้าไปเล่นหรือปรึกษากับพ่อแม่ในเวลาไหนถึงจะเหมาะสมและถูกต้อง จากพฤติกรรมทั้งหมดนี้จะทำให้ลูกจำเป็นแบบอย่าง โดยจะนำไปใช้กับคนอื่นด้วย เพราะคิดว่าการทำเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องปกติ สามารถทำได้ เป็นเรื่องที่ไม่ผิดการควบคุมอารมณ์นั้นเป็นสิ่งที่ยาก แต่มันทำได้ และคุ้มค่าที่จะทำ เพราะมันจะเป็นผลดีกับลูกในระยะยาว สิ่งสำคัญที่สุดคือคนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างเราต้องควบคุมอารมณ์ให้คงที่ นำหลักเหตุและผลมาปรับใช้ เช่น ลูกทะเลาะกับเพื่อนที่โรงเรียนเพราะแย่งของเล่นกัน เราลองถามลูกดูว่าเหตุการณ์เป็นยังไง ให้เขาเล่า เราไม่ต้องแสดงความคิดเห็นว่าอยู่ข้างใคร ต้องมีความเป็นกลาง ไม่ฟังความข้างเดียว และลองปรับคำพูดกับลูกว่า ของเล่นเราสามารถแบ่งปันกันเล่นได้ แชร์กันได้ ถ้าหนูอยากเล่นคนเดียวก็ต้องมีการแบ่งเวลาเล่นนะ หนูเล่น5 นาที พอครบเวลาแล้วก็ให้เพื่อนเล่นต่อจบครบเวลา เพื่อนได้เล่นเราก็ได้เล่นเหมือนกัน ไม่ต้องแย่งกันแล้ว เป็นต้น 4.พ่อแม่ช่างเปรียบเทียบสำหรับพ่อแม่คนไหนที่มักจะเปรียบเทียบลูกอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบกับเพื่อนว่า “แค่นี้ก็ทำไม่ได้!! เพื่อนยังทำได้เลย” หรือ “ทำไมถึงเรียนได้แค่นี้ คนอื่นเขาเก่งกว่าตั้งเยอะ” ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้เป็นการที่พ่อแม่มักจะคาดหวังในตัวลูก โดยต้องการให้ลูกได้ดีและเป็นไปตามอย่างที่หวัง แต่เมื่อลูกทำได้อย่างที่หวัง ก็จะเกิดการตำหนิติเตียน การเปรียบเทียบกับคนอื่น ซึ่งมีผลต่อความรู้สึกของลูก ไม่ใช่แค่เพียงความน้อยใจเท่านั้น แต่ยังจะทำให้ลูกไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ทั้งที่เขาพยายามทำเต็มความสามารถของเขาแล้ว จะเห็นได้ว่าการเปรียบเทียบไม่ใช่เรื่องดีเลย น้องจากเด็กจะหมดกำลังใจแล้ว ยังเป็นการบั่นทอนจิตใจของลูกอีกด้วย ซึ่งในตัวเด็กแต่ละคนนั้นต่างก็มีศักยภาพและความสามารถ ความถนัดที่ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือคนเราก็สามารถพัฒนาตนเองได้ในแบบที่เป็นเรา ดังนั้น พ่อแม่ควรสังเกตและใส่ใจว่าลูกชอบอะไร มีความสามารถในเรื่องใดเป็นพิเศษ เพราะในยุคสมัยนี้การเรียนรู้หลากหลายเพียงแค่ต้องพัฒนาและส่งเสริมให้ถูกที่และถูกเวลา 5.พ่อแม่คิดหรือตัดสินใจแทนลูกจะมีพ่อแม่ที่มีการคิดและตัดสินใจแทนลูกในเกือบทุกเรื่องของลูกเลยก็ว่าได้ มักจะเกิดจากความคาดหวังและความหวังดีของพ่อแม่อยากให้ลูกได้ดี จะทำให้เด็กขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่สามารถคิดและตัดสินใจ หรือการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้ โดยจะเห็นได้ชัดว่าคนเป็นพ่อเป็นแม่ไม่ได้สนใจความคิดเห็นของลูกเลย ทั้งที่จริงแล้วการฟังความคิดเห็นของลูกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะเปิดโอกาสให้เขาได้เลือกตัดสินใจเอง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความกล้าและความคิดสร้างสรรค์ ความคิดหรือการแสดงความคิดเห็นของลูกถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมันเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าเขาอยากมีพื้นที่ในการพูดและแสดงความคิดของตัวเอง เมื่อใดที่เขากล้าจะพูดหรือปรึกษากับคุณนั้นแสดงว่าเขาไว้ใจคุณมาก ซึ่งการให้พื้นที่ลูกได้มีการคิดและตัดสินใจ เป็นเรื่องง่ายต่อพ่อแม่มาก เพียงแค่คุณลองเปิดใจรับฟังและคิดไปพร้อมๆกับเขา เราจะเห็นอะไรมากกว่านั้นมาก แค่เวลาเพียงไม่กี่นาที เสียสละเวลาอันเล็กน้อยฟังลูก ครอบครัวก็จะมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน 6.พ่อแม่กำหนดความคิดคนเป็นพ่อเป็นแม่เกิดในยุคสมันที่ต่างกัน ก็ไม่แปลกที่จะมีความคิดในกรอบเดิมๆและไม่มีความยืดหยุ่นในความคิด และมีการเปลี่ยนแปลงความคิดอยู่ได้ตลอดเวลา รวมถึงไม่เปิดจะยอมรับ การปรับปรุง แก้ไขในเรื่องใหม่ๆ เพราะกลัวความล้มเหลว กลัวความผิดพลาด จะชอบบงและการความคิดของลูก ให้เป็นไปในแบบของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจ การวางแผน ความชอบต่างๆ เช่น ลูกชอบศิลปะแต่กลับมองว่าเป็นเรื่องไม่มีประโยชน์และไม่สามารถทำเป็นอาชีพได้ ซึ่งในความคิดแบบนี้จะทำให้เกิดช่องว่างภายในครอบครัวและความเห็นไม่ตรงกัน รวมถึงลูกจะคิดว่าไม่มีใครเข้าใจเขา แม้กระทั้งผู้ให้กำเนิดของเขาจะเห็นได้ว่าพ่อแม่บางคนที่ชอบบงการความคิด รวมทั้งชอบตัดสินและคิดแทนลูกในทุกๆเรื่อง จนอาจจะลืมสังเกตไปว่าความคิดเป็นของตนเอง ไม่มีอะไรที่จะเป็นสิ่งที่ผิดเสมอไป รวมไปถึงการตัดสินความถนัด ความชอบของลูก เพราะตนเองนั้นไม่ได้มีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ จึงตัดสินว่าเป็นสิ่งไม่มี ไม่มีประโยชน์ การแก้ปัญหาในเรื่องนี้คือ พ่อกับแม่ต้องปรับกรอบความคิดของตนเองให้ยืดหยุ่น สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและลองทำสิ่งใหม่ๆนั้นดู เพราะการเรียนรู้ เป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการของลูก ซึ่งบางอย่างก็สามารถสร้างเป็นอาชีพได้ 7.พ่อแม่ใช้มือถืออยู่ตลอดเวลาในยุคปัจจุบันมักจะพบเจอเจอพฤติกรรมของพ่อแม่ในเวลาว่างมักจะก้มหน้าใช้โทรศัพท์มือถือตลอดเวลา ไม่ว่าจะในเวลาที่นั่งอยู่กับลูก ซึ่งทำให้ไม่มีปฏิสัมพันธ์กันในครอบครัว ไม่มีความเป็นพ่อ แม่ ลูก หรือความเป็นครอบครัวเดียวกันเลย โดยเมื่อลูกชวนคุยเล่น หรืออยากจะเล่นกับพ่อแม่ กลับโดนเมินเฉย พ่อแม่ไม่หันไปแม้แต่มองหรือพูดคุยกับลูก บางคนอาจจะทำแค่เพียงการตอบรับส่งส่ง เช่น หนูไปเล่นเลยลูกทำให้ในความคิดของลูกนั้น รู้สึกว่าโดดเดี่ยว ไม่ได้รับความสนใจ ท่ามกลางผู้คน โดยเฉพาะกับคนที่ใกล้ชิดที่สุด จากพฤติกรรมนี้จะยิ่งเป็นแรงกระตุ้นให้ลูกเก็บตัวและเก็บกดมากขึ้นเพียงแค่เราสละเวลาอันน้อยนิด ไปเล่นกับลูกหรือทำกิจกรรมกับลูกบ้าง ก็จะทำให้ครอบครัวเกิดความรักและผูกพันธ์กัน และเป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกันอีกด้วย ในช่วงเลาตอนเขาเป็นเด็กนี้แหละที่จะทำได้ พอเขาโตเป็นผู้ใหญ่ เขาก็ต้องมีหน้าที่ของเขา เราจะไปถามหาเวลาแบบนี้ไม่ได้แล้ว พ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญในการหล่อหลอมลูก และเป็นอีกสิ่งที่ขับเคลื่อนทิศทางชีวิตของลูกให้ไปในทางที่ดีได้ ลองนำไปปรับใช้กันดูนะคะ ลูกของเราจะได้สามารถอยู่ร่วมกับเราและคนในสังคมได้ เครดิต รูปภาพปกประกอบ โดย Alexas_Fotosเครดิต ภาพที่ 1 โดย Counsellingเครดิต ภาพที่ 2 โดย PublicDomainPicturesเครดิต ภาพที่ 3 โดย 192635เครดิต ภาพที่ 4 โดย Shlomasterเครดิต ภาพที่ 5 โดย yriams-Fotosเครดิต ภาพที่ 6 โดย geraltเครดิต ภาพที่ 7 โดย stevepb เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !