หลายคนคงมีประสบการณ์ไม่ดีเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งในแต่ละรูปแบบมาบ้างแล้ว จึงไม่แปลกใจเท่าใดนักว่าประเทศไทยของเราจะติดอันดับการกลั่นแกล้งสูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งเป็นการติดอันดับที่ไม่ดีเท่าใดนัก ผลกระทบทางสังคมย่อมแย่ลงตามมาเช่นกันCredit pic : https://pixabay.com/images/search/bullying/เราคงลืมไปว่า...การถูกกลั่นแกล้ง หรือ Bully นั้นก็จัดเป็นความรุนแรงอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะเกิดในกลุ่มที่ไม่ค่อยสุงสิง หรือเป็นที่เพ่งเล็ง มักจะถูกกลั่นแกล้งโดยกลุ่มที่มีอิทธิพลเหนือกว่า ใช้ความอาวุโส หรือความกร้านโลกของตนข่มคนที่อ่อนอาวุโสหรือ อ่อนแอกว่า เอาปมด้อยของอีกฝ่ายมาล้อเลียนเพื่อแสดงความเจ๋งของตนเองและในกลุ่ม อีกทั้งการแบนออกจากกลุ่ม ก็ถือว่าเป็นการกลั่นแกล้งเช่นกันCredit pic : https://pixabay.com/images/search/bullying/อย่าลืมว่า...การกลั่นแกล้งเป็นสิ่งที่หลายคนโดนมองข้ามความรุนแรงเหล่านั้น ยิ่งเรามองข้ามมันเท่าไหร่ ความเสี่ยงในการกลั่นแกล้งมีมากเท่านั้น ซึ่งความจริงที่น่าตกใจคือ การเกิดเหตุในลักษณะนี้มันมีทุกระดับ ตั้งแต่โรงเรียนจนกระทั่งสังคมภายนอก ก็มีโอกาสถูกกลั่นแกล้งสูงมาก จะแบ่งลักษณะการกลั่นแกล้งได้ใน 3 กรณี ดังนี้ 1. ทางกายการกลั่นแกล้งทางกาย หรือการแสดงออกทางกายเพื่อกระทำกับอีกฝ่ายที่ไม่อยากสุงสิงหรือเขาไม่เล่นด้วย เช่น การชกต่อย ทำให้อีกฝ่ายเจ็บตัว การขโมยของ เอาไปซ่อนให้หาย การตบตี ล่วงละเมิดทางเพศ ตบหัวดึงผม หรือแม้กระทั่งการเล่นพิเรนทร์กับอีกฝ่ายเพื่อแสดงอำนาจ หรือต้องการให้อับอาย หวาดกลัว การกระทำเช่นนี้ยิ่งทำให้เกินขอบเขตมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตและจิตใจก็มีสูงมากเช่นกัน สามารถเป็นคดีทางอาญาเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกายได้ แม้ว่าจะเป็นเยาวชนหรือไม่ก็ตาม 2. ทางวาจาในข้อนี้จะเกิดการกลั่นแกล้งรูปแบบนี้มากที่สุดอีกรูปแบบหนึ่ง หากเป็นองค์กร มักจะเกิดการเอารัดเอาเปรียบ พูดเอาดีเข้าตัว แล้วพูดเอาด้านไม่ดีใส่คนอื่น ใช้วิธีต่าง ๆ เพื่อเอาชนะ แม้ไม่ได้ชนะด้วยเล่ห์ก็ชนะด้วยฝีปาก พูดนิดพูดหน่อยเดี๋ยวก็จ๋อยแล้ว เพราะวาจาเป็นการกลั่นแกล้งที่ง่าย แต่ส่งผลเสียออกมาได้ไม่น้อยกว่ารูปแบบใดเลย การกลั่นแกล้งทางวาจา ไม่ใช่แค่พูดด่าทอ เยาะเย้ยความต้อยต่ำ เสียดแทง โห่ด้วยความไม่พอใจ ล้อเลียนข้อแตกต่างของอีกฝ่าย ไม่ว่าจะสีผิว เชื้อชาติ ศาสนา ฐานะทางบ้าน หรือปมด้อยเพื่อให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่ดี อับอาย ไม่มีที่ยืน เสียหายอย่างรุนแรงเท่านั้น อาจจะเกิดจากการใช้ถ้อยคำหรือคำพูดโดยขาดการไตร่ตรอง เราจะเห็นได้ชัดจากการใช้ Social Media เช่น Facebook, Twitter, Line, Instragram หรือช่องทางอื่นเพื่อโจมตีอีกฝ่ายเพื่อความสะใจ เช่น Comment ด่าทอด้วยคำหยาบคาย หรือแซะเพื่อให้คนอื่นเสียหายหรือด้อยคุณค่าตัวเองลง โดยลืมไปว่า การทำร้ายด้วยวาจา น่ากลัวกว่าการทำร้ายด้วยอาวุธทั้งปวง จะว่าไป...คำพูดนั้นมันก็สามารถฆ่าคนด้วยมือเปล่าได้จริง ๆ ควรคิดก่อนที่จะพูด เพื่อลดกระทบกระทั่งกันจะดีที่สุดค่ะ 3. ทางใจ"ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว" สมัยนี้เรารู้หน้าแต่ไม่รู้ใจหรอกว่าฝ่ายหนึ่งจะแสดงท่าทีอย่างไร แต่การกลั่นแกล้งทางใจนั้น เป็นการกลั่นแกล้งที่ไม่แสดงออกชัดเจน แต่สามารถเป็นแรงขับให้เกิดการกลั่นแกล้งในสองข้อแรกได้ เช่น แบนโดยไม่ทราบสาเหตุ ทัศนคติที่ไม่ลงรอยกันด้วยความไม่ชอบใจอีกฝ่าย ความหมั่นไส้ ความเกลียดชัง ความอิจฉา ความน้อยใจที่คนหนึ่งโดนชมมากกว่าเรา ในขณะเดียวกัน การถูกเลือกที่รักมักที่ชัง หรือให้ท้ายชนิดที่ว่าฝั่งฉันถูกเสมอ อะไร ๆ ก็เอาแต่ลูกรัก ก็สามารถเพิ่มแรงขับทำลายอีกฝ่ายโดยไม่รู้ตัวได้เช่นกันCredit pic : https://pixabay.com/images/search/bullying/คนที่โดนแกล้งแม้ว่าจะมองเป็นเรื่องตลก แต่คนที่ถูกกระทำมันไม่ตลกเอาเสียเลย ผลกระทบหลังจากถูกกลั่นแกล้ง บางรายอาจเป็นะยะยาวจนกระทั่งชั่วชีวิตของเขา กลายเป็นคนที่มีจิตใจรุนแรงเนื่องจากโดนกลั่นแกล้งมายาวนานจนเปลี่ยนนิสัยไปโดยปริยาย หรือไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้อีกเลยตั้งแต่นั้นมา สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ในเด็ก จากที่เคยร่าเริง กลายเป็นคนเก็บกดผิดปกติ บางวันเอาแต่ร้องไห้ หวาดกลัว จะเริ่มเสี่ยงภาวะซึมเศร้าได้ง่ายกว่า ในวัยที่สูงกว่าจะมีภาวะเครียด รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยในชีวิต ระแวง กลัวถูกคุกคาม กลัวว่าจะอยู่ตรงนั้นไม่ได้ เสี่ยงที่จะทำร้ายตัวเองและจบชีวิตลงอย่างน่าอนาถในที่สุด วิธีป้องกันการกลั่นแกล้ง1. คิดก่อนที่จะทำพูดง่ายๆคืออย่าสักแต่ว่าสนุก ควรเริ่มที่จากพ่อแม่ ที่เป็นปัจจัยหลักในการเลี้ยงดู เริ่มต้นในแบบอย่างที่ดี สอนให้ลูกให้เกียรติตนเองและคนอื่น เอาใจเขาใส่ใจเราถ้าลูกแกล้งคนอื่นอย่ามองข้าม ควรได้รับการลงโทษตามความเหมาะสม พร้อมกับสอนด้วยเหตุและผลว่า คนที่โดนแกล้งเขาไม่สนุกเลย และไม่ให้ทำอย่างนั้นอีก 2. อย่ามองข้ามความรุนแรงทุกคนที่อยู่รอบตัวมีบทบาทในการป้องกัน ไม่ใช่แค่คนใดคนหนึ่งเท่านั้น ถ้าทุกคนรู้จักสอดส่อง ดูความผิดปกติหรือความไม่ชอบมาพากล ให้รีบช่วยผู้ที่ถูกกระทำออกจากตรงนั้น เพื่อให้เขารู้สึกปลอดภัย ไม่ใช่ปล่อยทิ้งไว้แล้วมีประโยคออกมาว่า "ก็ทะเลาะกันเอง" "ก็แค่ล้อเล่น คิดมากทำไม" 3. อย่าซ้ำเติมไม่ควรทับถม ปกป้องคนผิด ทำให้รู้สึกต่ำต้อย ไร้ค่า หรือรู้สึกผิดหวังในตนเองมากกว่าเดิม เพราะทำให้สภาพจิตใจของผู้ถูกกระทำดูแย่ลง เราควรพูดให้กำลังใจ ให้เขารู้สึกโอเค มั่นใจว่าเขาอยู่ตรงนี้โดยไม่มีใครมาซ้ำเติมอีก พูดให้เขาเข้มแข็งพร้อมที่จะเดินหน้าต่อไปสำหรับวันพรุ่งนี้ อย่างมั่นคง Credit pic : https://pixabay.com/images/search/bullying/วิธีรับมือการกลั่นแกล้ง1. ตั้งสติอย่าเพิ่งใจเสียเมื่อโดนกลั่นแกล้ง เราต้องตั้งสติ รู้ตัวว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น เพื่อเตรียมการรับมือโดยที่ไม่ต้องใช้ความรุนแรง ใช้ความสงบหาทางแก้ไขอย่างมีเหตุผล ให้ระลึกเสมอว่า สิ่งที่เขาแกล้งเรา มันจะทำอะไรจิตใจเราไม่ได้ 2. คุยกับคนที่ไว้ใจระบายกับคนที่เราไว้ใจ หรือขอความช่วยเหลือคนรอบข้างเพื่อป้องกันอันตรายจากกลั่นแกล้งก่อนมาถึงตัว อย่าปล่อยให้ตัวเองรู้สึกโดดเดี่ยว หรือกำลังเผชิญหน้าสิ่งนั้นโดยลำพัง หรือให้ HR ช่วยดูพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของคน ๆ นั้นก็อาจช่วยได้ 3. พูดไปเลยว่าไม่ชอบเมื่อเราโดนมาหนักหน่วงพอสมควร พอถึงจุดหนึ่งที่ไม่ไหวแล้ว ควรพูดออกไปตรง ๆ เด็ดขาด หนักแน่น เพื่อหยุดพฤติกรรมเหล่านั้น แต่ถ้าพูดแล้วไม่ได้ผลยื่นมือให้ใครช่วย คนที่แกล้งเราจะทำอะไรไม่ได้ 4. กำลังใจการให้ความรักของคนในครอบครัว แม้กระทั่งการให้กำลังใจถือว่าเป็นยาดีขนานแท้ เพราะทำให้มีความหวัง พร้อมที่จะเดินหน้าต่อไป และรู้สึกว่ามีคุณค่าพอที่จะไม่ให้ใครมาบั่นทอนใจเรา 5. มั่นใจ เชื่อมั่นการที่เราเชื่อมั่น มั่นใจในตนเองไม่ได้แปลว่าเราจะมั่นหน้า แต่มันแปลว่าภูมิใจ รักในความเป็นตนเอง ทุกคนมีศักดิ์ศรีที่จะมีชีวิตและดำเนินชีวิตของตนเองในความเป็นมนุษย์ ไม่มีใครมีอิทธิพลเหนือเราได้นอกจากตัวเราเอง เพราะคนที่แกล้งเรา ไม่ได้แปลว่าจะเจ๋งนะจ๊ะ หมายเหตุรูปทุกรูปได้รับการอนุญาตจากเจ้าของรูปแล้ว ใช้เพื่อเสนอเป็นสื่อในบทความนี้เท่านั้น