สวัสดีครับน้องๆ วันนี้พี่จะมาแชร์ประสบการณ์ในการเตรียมตัวสอบสอวน. ฟิสิกส์ รวมถึงการเข้าค่าย 1 และ 2 จากประสบการณ์ตรงของพี่เองนะครับสอวน. คืออะไรมูลนิธิสอวน. หรือ มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มูลนิธิสอวน. จะมีการจัดสอบคัดเลือกทุกปีโดยจะเปิดให้สอบทั้งหมด 7 วิชา คือ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ โดยเป้าหมายของสอวน. คือ การไปแข่งโอลิมปิกวิชาการระดับนานาชาติที่เราได้ยินว่าเขาพูดกันว่าโอลิมปิกวิชาการนั่นแหละครับ ซึ่งวิชาที่พี่ได้เลือกไปสอบนั่นก็คือวิชาฟิสิกส์นั่นเองครับสอบสอวน. มีประโยชน์อะไร ?การสอบสอวน. นั้น นอกจากจะเป็น Port ที่ดีต่อการยื่นเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว พี่คิดว่ามันยังเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะได้ลองทำในสิ่งที่ยากขึ้นมากกว่าการเรียนการสอนในหลักสูตรปกติ ในส่วนตัวของพี่เอง ที่พี่เลือกมาสอบสอวน. ก็เพราะว่าพี่ชอบวิชาฟิสิกส์มากๆ วิชาฟิสิกส์เนี่ย มันอาจจะเป็นวิชาที่หลายคนไม่ชอบหรือถึงขั้นเกลียด แต่สำหรับพี่ พี่คิดว่ามันดูน่าตื่นเต้นเพราะเป็นวิชาที่อธิบายเกี่ยวกับแทบจะทุกอย่างในจักรวาลของเราเลยการเตรียมตัวสอบเข้าค่ายการสอบคัดเลือกของสอวน. จะจัดในช่วงเดือนส.ค. - ก.ย. ของทุกปี โดยเนื้อหาที่ออกสอบจะเป็นเนื้อหาที่อยู่ในหลักสูตรของม. ปลาย (หรืออาจเกินนิดหน่อย) นักเรียนที่สามารถจะสมัครสอบได้ต้องเรียนอยู่ในช่วง ม.3 - ม.5 เนื่องจากการแข่งขันระดับนานาชาติจะต้องใช้เวลาเตรียมตัวเข้าค่ายอีก 1 ปีสำหรับวิชาฟิสิกส์ การทำโจทย์สำคัญกว่าการอ่านหนังสือเพราะถึงเรารู้ทฤษฎีแต่ก็ใช่ว่าจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ สำหรับพี่คือพี่จะย้อนไปทำข้อสอบสอวน. ปีก่อนๆ เพราะเนื้อหาที่ออกสอบก็จะไม่หนีไปจากเดิมมาก ในวันสอบที่สำคัญคือห้ามนอนดึกและห้ามอยู่ทำโจทย์จนดึกเพราะการอ่านหนังสือหรือทำโจทย์แค่คืนเดียว ยังไงก็ไม่สามารถช่วยให้น้องเก่งขึ้นได้แน่ๆ เวลาสอบมีทั้งหมด 3 ชั่วโมง อาจจะเป็นข้อสอบตัวเลือก ข้อสอบเขียน หรือข้อสอบวิธีทำแล้วแต่ปีที่เราไปสอบ ถ้าจะให้ดี น้องๆก็ควรลองซ้อมสอบ จับเวลาทำโจทย์ เพื่อที่น้องจะได้ลองทำโจทย์ในสภาวะที่กดดันเหมือนอยู่ในห้องสอบจริง โดยการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าค่าย 1 ในศูนย์กทม. จะรับแค่ 180 คนเท่านั้น การเข้าค่าย 1เมื่อน้องสอบคัดเลือกผ่านแล้ว น้องก็จะได้ไปเข้าค่ายอบรมตามศูนย์อบรมที่ตัวเองเลือกไว้ สำหรับพี่คือพี่ได้ไปเข้าค่ายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (ค่ายที่ว่านี้ถ้าเป็นศูนย์เตรียมอุดมไม่ต้องไปนอนค้างนะ แค่ไปเช้าเย็นกลับ) ค่าย 1 จะเข้าค่ายประมาณ 15 วัน เนื้อหาที่เรียนในค่ายจะเป็นฟิสิกส์ที่ใช้ในระดับมหาวิทยาลัยแบบใช้แคลคูลัส ซึ่งจะเป็นเรื่องที่น้องไม่ได้เรียนในโรงเรียนแน่ๆ ช่วงเช้าจะเรียนทฤษฎี 3 ชั่วโมง ส่วนช่วงบ่ายจะทำแล็บอีก 3 ชั่วโมง วันสอบปลายค่ายก็จะเป็นการสอบทฤษฎีในช่วงเช้าและสอบทำแล็บในช่วงบ่าย คำแนะนำของพี่คือให้เน้นการทำโจทย์+อ่านหนังสือเยอะๆและทำคะแนน part แล็บให้ได้เยอะๆ เพราะแล็บจะเก็บคะแนนได้ง่ายถ้าน้องเป็นคนละเอียด ค่ายนี้จะผ่านไม่ยากมากถ้าน้องมีความตั้งใจจริงครับหนังสือที่แนะนำในค่าย 1 หนังสือสอวน. กลศาสตร์เล่มนี้เป็นหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับ Classical Mechanics หรือกลศาสตร์ โดยเล่มในรูปนี้จะเป็นหนังสือกลศาสตร์สอวน. ฉบับใหม่ล่าสุด โดยจะปรับปรุงเนื้อหาให้อ่านง่ายขึ้น แต่ถึงแม้ว่าบนหน้าปกจะเขียนว่ามัธยมศึกษาตอนต้นแต่เนื้อหาบางอย่างนั้นก็ยากเกินมัธยมศึกษาตอนปลาย หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเล่มที่พี่แนะนำสำหรับผู้ที่ยังไม่ถนัดในการอ่านหนังสือยากๆ แต่ถ้าน้องคิดว่าเล่มนี้ยังง่ายเกินไป น้องก็สามารถลองไปอ่านหนังสือสอวน. กลศาสตร์ ฉบับที่เก่ากว่านี้ได้ครับหนังสือสอวน. อุณหพลศาสตร์เล่มนี้เป็นหนังสือเกี่ยวกับ Thermodynamics หรืออุณหพลศาสตร์ นั่นก็คือทุกเรื่องที่เกี่ยวกับความร้อนและสสาร เล่มนี้พี่คิดว่าอ่านง่ายและสนุกไม่แพ้เล่มกลศาสตร์อันที่แล้วเพราะว่าเล่มนี้ไม่ได้ใช้แคลคูลัสมากเกินไปและมีโจทย์ให้ดูเยอะครับหนังสือสอวน. แม่เหล็กไฟฟ้าเล่มนี้เป็นหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น Maxwell's Equation รวมถีงเรื่องคลื่น เล่มนี้พี่ไม่ค่อยแนะนำให้อ่านเท่าไรเพราะว่าจะมีเนื้อหาที่ยากในระดับที่สามารถใช้ได้ถึงในค่ายลึกๆและมีการใช้คณิตศาสตร์ที่ค่อนข้างเยอะเช่นการใช้ Vector Calculusหนังสือทักษะปฏิบัติการฟิสิกส์เล่มนี้เป็นหนังสือที่พี่แนะนำมากๆๆๆ เป็นหนังสือเกี่ยวกับทักษะที่ต้องใช้ในการทำแล็บตั้งแต่การใช้เครื่องมือ การหาค่าความคลาดเคลื่อน ไปจนถึงการวาดกราฟ ซึ่งจะจำเป็นอย่างมากในการเรียนทำแล็บและสอบทำแล็บ หนังสือเล่มนี้เขียนได้ค่อนข้างละเอียดและอ่านได้ง่าย และยังเป็นที่นิยมในหมู่เด็กที่เข้าค่ายสอวน. กันด้วยครับการเข้าค่าย 2เมื่อน้องสอบผ่านปลายค่าย 1 แล้ว ก็จะได้เข้าค่าย 2 ที่ศูนย์อบรมเดิมนั่นแหละครับ โดยค่ายนี้จะเหลือคนน้อยกว่าเดิมประมาณครึ่งนึงการเรียนการสอนในค่าย 2 ก็จะเป็นเหมือนในค่าย 1 เลยครับ แต่ว่าจะยากกว่า ส่วนแล็บก็จะยากขึ้นด้วย ค่ายนี้จะเป็นตัวชี้วัดเลยว่าน้องชอบฟิสิกส์จริงหรือเปล่า เพราะว่าถ้าน้องไม่มีใจรักจริง ก็อาจจะทำให้น้องเบื่อหรือถอดใจยอมแพ้ได้ตั้งแต่วันแรกๆเลย วันสอบปลายค่ายก็จะเป็นการสอบทฤษฎีในช่วงเช้าและสอบแล็บในช่วงบ่ายเหมือนเดิมเลยครับ คำแนะนำของพี่สำหรับค่าย 2 คือ พยายามเรียนให้สนุกและอย่าเครียดกับมันมาก ให้น้องนึกไว้อยู่เสมอว่าเรามาสอบเพราะอะไร เพราะจะทำให้น้องสามารถทำเป้าหมายที่ตัวเองตั้งไว้ได้ครับ การสอบฟิสิกส์ระดับชาติ (TPhO)การสอบฟิสิกส์ระดับชาติ (TPhO) คือการสอบแข่งขันที่จะให้ผู้แทนจากทุกศูนย์มาสอบแข่งขันกัน ณ ศูนย์อบรมที่เป็นเจ้าภาพของปีนั้น โดยศูนย์เตรียมอุดม จะคัดเลือกผู้แทนมาแค่ 18 คน และมีตัวสำรองอีก 3-4 คน (ซึ่งถ้าน้องโชคดี ก็อาจจะได้ไปแข่งแทนตัวจริงก็ได้) ข้อสอบทฤษฎีของการสอบแข่งขันระดับชาตินั้น จะไม่เหมือนข้อสอบของค่ายที่ผ่านๆมาแล้ว เพราะจะเป็นข้อสอบที่โจทย์ยาวมากๆ คำแนะนำของการสอบระดับชาติก็คือพยายามเก็บคะแนนแล็บให้ได้เยอะๆครับ เพราะทฤษฎีจะยากมากๆและแล็บจะช่วยแบกคะแนนน้องขึ้นมาได้เยอะเลยครับในการสอบแข่งขันระดับชาติจะมีทั้งหมด 5 วันโดยที่ วันแรกจะเป็นพิธีเปิด วันที่สองจะเป็นการสอบแล็บ 4 ชั่วโมง วันที่สามจะเป็นการสอบทฤษฎี 4 ชั่วโมง วันที่สี่จะเป็นวันพักผ่อนเพื่อให้ครูคุมสอบได้ตรวจข้อสอบกัน และวันสุดท้ายก็จะเป็นวันประกาศผลครับ ถ้าเกิดน้องมีคะแนนถึงเกณฑ์ที่เขาใช้ (ส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญเงินกับเหรียญทอง) น้องก็จะได้ไปต่อในค่ายสสวท. ครับหนังสือเพิ่มเติมสำหรับคนที่สนใจมาถึงตรงนี้ หนังสือที่พี่แนะนำจะเป็นหนังสือภาษาอังกฤษแล้วนะครับ เพราะว่าหนังสือพวกนี้จะมีเนื้อหาที่เยอะมากๆ และบางอย่างก็อธิบายในภาษาอังกฤษได้เข้าใจง่ายมากกว่าภาษาไทยครับโดยหนังสือเหล่านี้สามารถสั่งซื้อได้จากต่างประเทศหรืออาจจะหาซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือจุฬา แต่ส่วนตัวของพี่เอง พี่ยืมมาจากรุ่นพี่ที่เคยเข้าค่ายมาก่อนครับหนังสือ University Physics with Modern Physics ของ Hugh D. Young, Roger A. Freedmanเล่มนี้ถือว่าเป็นอีกหนังสือที่คนในค่ายอ่านกันเยอะที่สุดเลยก็ได้ครับ เพราะเป็นหนังสือที่รวมเนื้อหาทุกเรื่องตั้งแต่ Classical Physics จนถึง Modern Physics, Quantum Physics เลยครับ เล่มนี้เป็นหนังสือที่อ่านง่ายเพราะใช้คณิตศาสตร์ถึงแค่แคลคูลัสและเนื้อหาของทุกเรื่องจะไม่ได้ลงลึกมากแต่จะเน้นไปที่ส่วนสำคัญเลยครับ่่หนังสือ Optics ของ Eugene Hechtเล่มนี้เป็นหนังสือเกี่ยวกับเรื่อง Optics หรือทัศนศาสตร์ครับ โดยจะครอบคลุมตั้งแต่เรื่องคลื่น การแทรกสอด จนไปถึงแสงเชิงเรขาคณิตเลยครับ เล่มนี้พี่แนะนำสำหรับคนที่ไม่ค่อยถนัดเรื่อง Optics (เช่นพี่เองนี่แหละ555) เพราะเล่มนี้เขียนเนื้อหาเกี่ยวกับ Optics ได้ละเอียดมากและค่อนข้างยากในระดับหนึ่ง น้องก็อาจจะอ่านแค่บางบทที่น่าสนใจก็ได้ เช่น Wave Motion, Interference, Diffractionหนังสือ Introduction to Electrodynamics ของ David J. Griffithsเล่มนี้จะเป็นหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าเหมือนกับหนังสือของสอวน. เลยครับ แต่จะมีการเขียนเกี่ยวกับ Vector Calculus ในบทแรกและมีการเขียนเกี่ยวกับ Special Relativity ในบทสุดท้ายด้วยครับ โดยถ้าน้องยังไม่สนใจเรื่อง Vector Calculus ก็สามารถข้ามไปก่อนแล้วค่อยกลับมาตอนค่ายสสวท. ก็ได้ ส่วนตัวแล้ว (ย้ำว่าโดยส่วนตัวของพี่เอง) เล่มนี้พี่คิดว่าอ่านง่ายกว่าหนังสือแม่เหล็กไฟฟ้าของสอวน. และเป็นอีกเล่มที่อ่านสนุกมากๆเพราะมีเนื้อหาที่ยากและท้าทายมากครับสุดท้ายนี้ พี่ก็ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการเรียนฟิสิกส์นะครับ ถึงแม้ว่าการเข้าค่ายจะทำให้น้องๆเหนื่อยและท้อไปบ้าง แต่เมื่อน้องได้มองย้อนกลับมา มันก็จะเป็นหนึ่งในประสบการณ์ที่ดีและน่าภูมิใจแน่นอนครับ ถึงแม้ว่าน้องจะไม่ได้เข้าไปถึงระดับผู้แทนประเทศก็ตาม แหล่งอ้างอิง / แหล่งที่มา ภาพปกโดยผู้เขียนภาพหนังสือสอวน. และหนังสือทักษะปฏิบัติการฟิสิกส์โดยผู้เขียนภาพตราสัญลักษณ์สอวน. (ที่มา : เว็บไซต์สอวน.)ภาพหนังสือ University Physics with Modern Physicsภาพหนังสือ Opticsภาพหนังสือ Introduction to Electrodynamicsเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !